|
|
|
กุลธิดา สามะพุทธิ,
วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์ เรื่อง
ฝ่ายภาพสารคดี ภาพ |
|
|
|
|
|
โบสถ์พราหมณ์
เสาชิงช้า
ปลายเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๔๓,
บ่ายวันนั้น
อากาศร้อนอ้าวจนบอกไม่ถูก
เราเอ่ยปาก ถามหาเด็กชาย ในภาพปก
สารคดี กับแม่ค้าขายพวงมาลัย
ที่หน้าโบสถ์ อย่างไร้ความหวัง
"ไม่เจอหรอก
ป่านนี้ไม่รู้ไปอยู่ไหนแล้ว
ไหนขอดูชัด ๆ หน่อย...มีนาคม ๒๕๒๘
ตั้งสิบกว่าปีแล้วนี่
ความจริงพราหมณ์ ์จะเก็บรายชื่อ
เด็กที่เข้าพิธีโกนจุกไว้
แต่นานขนาดนี้เขาทิ้งไปแล้วละ"
เมื่อเปลี่ยนมาถามหา
"พราหมณ์อุระคินทร์"
ซึ่งเป็นพราหมณ์
ที่ทำพิธีโกนจุกให้ อาทิตย์
ดาวเรือง--เด็กน้อยในภาพนั้น
เจ้าหน้าที่ประจำโบสถ์ บอกว่า
"แกตายไปตั้งหลายปีแล้ว..."
เป็นอันว่า เราหมดหวัง
ที่จะได้ทั้งภาพ
และเรื่องราวของ อาทิตย์
ดาวเรือง ในปัจจุบัน
เพื่อนำมาเปรียบเทียบกับ ภาพ
และเรื่องราวของเขา
ที่ตีพิมพ์ใน สารคดี เมื่อ ๑๕
ปีก่อน (ปีที่ ๑ ฉบับที่ ๒ มีนาคม
๒๕๒๘)
แต่สิ่งหนึ่งที่ได้มาก็คือ
ได้รู้ว่า การ "ย้อนรอย"
สนุกอย่างนี้เอง
|
|
|
ดูเหมือนว่าสิ่งนี้
จะถูกนำมาใช้เสมอ
เมื่อเราเลือกที่จะไม่ปล่อยให้วาระ
"ครบรอบปี"ผ่านเลยไปเฉย ๆ
การ "ย้อนรอย"
อาจเป็นได้ทั้งรูปแบบหนึ่ง
ของการเฉลิมฉลอง
และการโหยหาอดีต
แต่ไม่ว่าจะเป็นอะไรก็ตาม
บทสรุปของการเดินทาง
กลับไปสู่เรื่องราวในอดีต
แล้วนำมาเชื่อมโยงกับปัจจุบัน
อย่างเช่นในครั้งนี้
น่าจะอยู่ตรงที่ เราได้เรียนรู้
ความเปลี่ยนแปลงไม่ใช่สิ่งเดียวที่น่าสนใจ
ความไม่เปลี่ยนแปลง
ก็มีอะไรน่าใคร่ครวญไม่แพ้กัน --
โจหลุยส์ยังคงหมกมุ่นอยู่กับ
หุ่นละครเล็ก
ที่เขาหลงใหลอยู่ไม่เปลี่ยน
เรื่องราวจากปากแหม่มเลียวนี่
ยังมีแต่เรื่องสัตว์ป่า
ที่ถูกทารุณอยู่เหมือนเดิม
กลุ่มลูกศิษย์ของอดีตพระยันตระ
ก็ยังเคารพรักและศรัทธาในตัวเขาอย่างแรงกล้าอยู่ไม่เสื่อมคลาย
ฯลฯ
ทั้งเจ็ดเรื่องที่เราตาม
"ย้อนรอย" ในครั้งนี้
ไม่ได้ถูกเลือกมา
เพราะเป็นเรื่องที่ดี
หรือโดดเด่นกว่าเรื่องอื่น ๆ
แต่เพราะเป็นเจ็ดเรื่อง
ที่มีความเปลี่ยนแปลง
และความไม่เปลี่ยนแปลง
ที่น่าสนใจนั่นเอง
เรายังได้เรียนรู้อีกด้วยว่า
ไม่ใช่เพียงแค่สิ่งที่ปรากฏ
"ในตอนนั้น" กับ
"ปัจจุบันนี้" ที่ต้องศึกษา
และทำความเข้าใจ
ตรงระหว่างทางนั้นเอง
ที่มีสิ่งสำคัญให้ขบคิดพิจารณา
ซึ่งเรามักจะละเลยมันไป
|
|
|
ย้อนรอย ๑๕
ปีสารคดี
ไม่ได้ทำขึ้นเพื่อประกาศ
ว่าเราทำอะไรลงไปบ้างในช่วงที่ผ่านมา
หรือ อหังการ์ว่า เราได้เดินทาง
มายาวไกลเท่าใดแล้ว หากแต่เป็น
การย้อนรอย
เพื่อดูความเป็นไปในรอบ ๑๕ ปี
ของเรื่องราว ที่ถูกนำเสนอใน
สารคดี
ไม่ว่าจะเป็นค้างคาวกิตติ
โจหลุยส์ ลิงจ๊อบ ตลาดหุ้น
แหม่มเลียวนี่ ยันตระ
หรืออาจารย์หมอสุด แสงวิเชียร
สิ่งที่ถูกให้
ความสำคัญจึงเป็น "เรื่องราว"
มากกว่าที่จะเป็นตัว สารคดี เอง
|
|
|
|
|
|
|