|
|
|
กุลธิดา สามะพุทธิ,
วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์ เรื่อง
ฝ่ายภาพสารคดี ภาพ |
|
|
|
|
|
|
|
|
"...เมื่อสงครามโลกครั้งที่ ๒
เกิดขึ้น
แม้จะขาดการติดต่อกับต่างประเทศ
ศิริราช ยังสามารถสอน
กายวิภาคศาสตร์ ได้ตามมาตรฐาน
แต่ก็ยังเกิดปัญหา
เรื่องขาดแคลนตำรา
มหกายวิภาคศาสตร์ อาจารย์หมอสุด
จึงแก้ไขด้วยการเขียนตำรา
คู่มือกายวิภาคศาสตร์
เป็นภาษาไทยอย่างรีบเร่ง
และเนื่องจาก
ต้องใช้เวลาตอนกลางวัน
สอนหนังสือ จึงต้องแต่งตำรา
เวลากลางคืน ทั้ง ๆ ที่ต้องพรางไฟ
ถ้าไฟดับ ก็ใช้แสงจากตะเกียงลาน
หรือตะเกียงน้ำมันมะพร้าว
พอได้ยินเสียงหวอ
ก็ต้องรีบดับไฟ แล้วลงไปหลบ
ในท้องร่องสวน
แต่ท่านก็ไม่ย่อท้อ
ทุกเช้าที่มีเรียน
นักศึกษาจะได้
ตำราคู่มือกายวิภาคศาสตร์
ช่วยในการชำแหละศพ
ทีละแผ่นสองแผ่น
จนสามารถรวมเล่มได้ ถึงแปดตอน"
("วันวาร ๘๖ ปี
ศาสตราจารย์นายแพทย์สุด
แสงวิเชียร ปูชนียาจารย์
วงการแพทย์ไทย" สารคดี ปีที่
๙ ฉบับที่ ๑๐๕ พฤศจิกายน ๒๕๓๖)
|
|
|
ห้อง ๑๑๗
ตึกกายวิภาคศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล,
ทุกสิ่งทุกอย่าง ยังอยู่คงเดิม
กระเป๋า และหมวก ที่ใช้ประจำ
ยามออกไปทำงานภาคสนาม
แขวนอยู่ตรงมุมห้อง
หนังสือนับร้อยเล่ม
วางอยู่บนชั้น และในตู้ เอกสาร
เรียงกันอยู่ในกล่องกระดาษ
ฟิล์มสไลด
์ถูกจัดไว้เป็นหมวดหมู่
อยู่ในแฟ้มพลาสติก
โต๊ะทำงาน เก้าอี้
กล่องเครื่องเขียน
โคมไฟ...ทุกสิ่งทุกอย่างยังอยู่ที่เดิม
มีเพียงถุงกระดาษ
และถุงพลาสติก
ที่ห่อหุ้มข้าวของในห้องไว้เท่านั้น
ที่บอกให้รู้ว่าผู้เป็นเจ้าของ
ไม่ได้เข้ามาใช้ห้องนี้นานแล้ว
และจะไม่กลับมาใช้อีกเลย
"วันพุธที่ ๗ มิถุนายน
๒๕๓๘ ศ. นพ. สุด ยังแจ่มใส
เดินออกกำลังเช่นเดิม...เช้าวันที่
๘ มิถุนายนท่านตื่นแต่เช้ามืด
ฟังเทศน์ทางวิทยุ
แล้วเข้าห้องน้ำ ลูกมาพบว่า
นั่งพิงผนังห้องนอน
คล้ายหลับอยู่
แต่ถึงแก่อนิจกรรมแล้วด้วยอาการสงบ"
หนังสือที่ระลึก
ในงานพระราชทานเพลิงศพ
ศาสตราจารย์ นายแพทย์สุด
แสงวิเชียร ผู้เป็นเจ้าของห้อง
เล่าถึงวันที่ท่านจากไปด้วยวัย
๘๘ ปีไว้สั้น ๆ เพียงเท่านี้
รศ. นพ. สรรใจ แสงวิเชียร
บุตรชายของอาจารย์หมอสุด
เอื้อมมือไปหยิบหนังสือเล่มหนึ่งขึ้นมา
หน้าปกเขียนไว้ว่า Principle of Neurology
"เป็นเรื่องเกี่ยวกับ
โรคทางระบบประสาท
คุณพ่อยังอ่านไม่จบเลย
ช่วงสองปีสุดท้าย
ท่านอ่านหนังสือไม่ได้ บ่นว่า
ทำไมหมอไม่ตัดแว่นดี ๆ ให้เสียที
จริง ๆ แล้ว เรตินาของท่านเสื่อม
ไม่มีทางรักษาได้
ไม่ใช่แค่เพียงผู้เป็นลูก
อย่างคุณหมอสรรใจเท่านั้น
ที่คิดถึงอาจารย์หมอสุดอยู่เสมอ
โดยเฉพาะเมื่อได้มาอยู่ภายในสถานที่
ที่เรียกได้ว่าเป็นบ้านหลังที่
๒ ของท่าน
ห้องทำงาน
ที่ท่านนั่งอยู่เป็นประจำ
ตั้งแต่วันจันทร์ถึงวันเสาร์
เจ็ดโมงเช้าถึงหกโมงเย็น
และวันอาทิตย์อีกครึ่งวัน
ตลอดระยะเวลา กว่า ๕๐ ปี,
รูปถ่ายที่ติดไว้ ตรงทางขึ้นตึก,
ปาฐกถา สุด แสงวิเชียร
ซึ่งจัดขึ้น ทุกเดือนพฤศจิกายน
ของทุกปี, ห้องปฏิบัติการ
เรื่องราวก่อนประวัติศาสตร์ สุด
แสงวิเชียร, โครงกระดูก
และอวัยวะภายในของท่าน
ที่ตั้งอยู่ใน พิพิธภัณฑ์
กายวิภาคศาสตร์ คองดอน
ซึ่งอาจารย์หมอสุด
ได้รวบรวมสิ่งแสดง (specimens)
เพิ่มเติมจากที่ ศาสตราจารย์
อี.ดี. คองดอน ได้เริ่มทำไว้
จนเปิดเป็น พิพิธภัณฑ์
ทางกายวิภาคศาสตร์
แห่งแรกของประเทศ ขึ้นมาได้ในปี
๒๔๙๑ ซึ่งในวันนี้
มีนักท่องเที่ยว
มาชมเป็นจำนวนมาก
โดยเฉพาะชาวญี่ปุ่น
|
|
|
แม้จะตระหนักดีว่า
พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ มีสิ่งแสดง
ที่เรียกได้ว่าเป็น "master piece"
อยู่เป็นจำนวนมาก เมื่อเทียบกับ
พิพิธภัณฑ์ ในต่างประเทศ
แต่หลายคนที่
ภาควิชากายวิภาคศาสตร์
ก็ยังแปลกใจอยู่ดี
เมื่อได้รู้ว่า พิพิธภัณฑ์
ที่แลดูเก่าคร่ำคร่า ในตึกเล็ก ๆ
แห่งนี้
เป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยว
ที่ถูกแนะนำไว้
ในหนังสือนำเที่ยว ของหลายชาติ
หลายภาษา คุณหมอสรรใจ
เคยถามนักศึกษาชาวญี่ปุ่น
ที่มาเที่ยวว่า ทำไมคนญี่ปุ่น
มาดูพิพิธภัณฑ์ที่นี่
เยอะเหลือเกิน ชาวญี่ปุ่นคนนั้น
ตอบว่า ครูของเขาบอกว่า
ถ้ามาประเทศไทยแล้ว
มาถึงริมแม่น้ำเจ้าพระยา
ต้องขึ้นมาดูพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ให้ได้
ทุกสิ่งทุกอย่าง ในตึก
กายวิภาคศาสตร์ แห่งนี้
เป็นดั่งสะพานที่เชื่อม
ให้เรื่องราวของอาจารย์หมอสุด
ที่เคยเกิดขึ้น และจบไปแล้ว
เดินทางมาพบ
กับผู้คนในโลกปัจจุบัน...บางคน
ที่ไม่มีแม้แต่โอกาส
จะพบตัวจริงของท่าน
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่เกิดขึ้น
เมื่อประมาณ ๖๐ ปีก่อน
ที่อาจารย์หมอสุด
ต้องตื่นนอนตั้งแต่ตีสอง
เพื่อไปรอเอาลูกหมู
ที่โรงฆ่าหมู
อาทิตย์ละสองถึงสี่ครั้ง
เป็นเวลานานสี่ป
ีเพื่อเอามาทำเป็นสิ่งแสดง
(ตัวอย่างชิ้นส่วนร่างกาย มนุษย์
หรือสัตว์ สำหรับใช้ใน
การเรียนการสอน ในอดีต
ต้องซื้อจากต่างประเทศตลอด),
เรื่องที่ท่านถูกเรียก
เข้าไปเป็น กรรมการฝ่ายแพทย์
ในการชันสูตร พระบรมศพ
พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ ๘ เมื่อปี ๒๔๘๙
ซึ่งถือเป็น งานชิ้นสำคัญที่สุด
ในชีวิต
หรือเรื่องที่อาจารย์หมอสุด
ต่อสู้เพื่อให้
คณบดีคณะแพทยศาสตร์ ในขณะนั้น
ให้ความสำคัญกับ
แผนกวิชากายวิภาคศาสตร์
เท่าเทียมกับ แผนกวิชาอื่น
ครั้งนั้น ท่านลุกขึ้นตอบโต้
อาจารย์ผู้ใหญ่ อย่างกล้าหาญว่า
"ลืมเสียแล้วหรือว่า
วิชานี้เป็นรากฐานของ วิชาแพทย์
แขนงหนึ่ง
ถ้าไม่ยกฐานะเท่าเทียม
กับแขนงอื่น มันจะไปอยู่ที่ไหน
ถ้าเช่นนั้น
ล้มแผนกนี้เสียเอาไหม
จะได้ชื่อว่า นักศึกษาแพทย์
ของเมืองไทย เป็นแพทย์ได้
โดยไม่ต้องเสียเวลาเรียน
ให้รู้ถึงร่างกายมนุษย์
ทั้งหมดนี้
ปรากฏขึ้นแจ่มชัด
ไม่แพ้เรื่องราว
ที่เกิดขึ้นในช่วงหลัง ๆ
เมื่อท่านหันมาสนใจ หาความรู้
ด้านก่อนประวัติศาสตร
์และมานุษยวิทยา
ด้วยการอาศัย
โครงกระดูกมนุษย์ สมัยหินใหม่
ที่ขุดค้นพบ ในบริเวณ
จังหวัดกาญจนบุรี อาจารย์หมอสุด
จึงสนับสนุนความคิดว่า
คนไทยไม่ได้มาจากไหน
แต่อยู่ในพื้นที่ ประเทศไทย
มาตั้งแต่ต้น ซึ่งถือเป็น
หนึ่งในห้าทฤษฎี
ที่มาของชนชาติไทย
ที่กำลังได้รับการยอมรับ
มากขึ้นเรื่อย ๆ อาจารย์หมอสุด
เคยให้สัมภาษณ์ว่า
"ผมถูกหลายคน ต่อว่ามาว่า
ที่ผมกล่าวว่า
คนไทยเคยอยู่ที่นี่
ทำให้ประวติศาสตร์สับสน
แต่เท่าที่ผมศึกษาค้นคว้า
ผมเข้าใจว่า
มีคนอาศัยอยู่แล้ว"
ด้วยความสนใจ อย่างแรงกล้า
ที่ท่านมีต่อเรื่องนี้
พิพิธภัณฑ์ และห้องปฏิบัติการ
เรื่องราวก่อนประวัติศาสตร์ สุด
แสงวิเชียร
จึงก่อตัวเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมา
ที่ตึกกายวิภาคศาสตร์...อีกเช่นเคย
|
|
|
ความรัก
และความผูกพัน ที่อาจารย์หมอสุด
มีต่อตึกกายวิภาคศาสตร์
เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่
ท่านเป็นนิสิตแพทย์ (พ.ศ. ๒๔๖๙)
จนได้มาเป็น
อาจารย์กายวิภาคศาสตร์ (พ.ศ.
๒๔๗๖-๒๕๑๓) แม้เกษียณแล้ว
ก็ยังมาทำงานที่นี่
อย่างสม่ำเสมอ จนอายุ ๘๖ ปี (พ.ศ.
๒๕๓๖) ปรากฏออกมา ในถ้อยคำ
ที่อาจารย์หมอสุดพูดเล่น ๆ
กับลูกของท่านว่า
"ถ้าพ่อตายแล้ว
คงจะมาเป็นจิ้งจก
เกาะอยู่ตามฝาที่นี่
แต่สิ่งที่ท่านตั้งใจไว้จริง ๆ
ก็คือ ให้แขวน โครงกระดูก ของท่าน
ไว้ที่ ตึกกายวิภาคศาสตร์
เพื่อให้ นักศึกษา
ใช้ประกอบการเรียน
"ท่านเป็นครู
มาตลอดชั่วชีวิต และประสงค์
จะเป็นครูต่อไป
แพทย์หญิงแสงจันทร์ แสงวิเชียร
ลูกสาวของท่าน กล่าวในพิธีมอบ
โครงกระดูกและสิ่งแสดง
อันเนื่องด้วยตัวท่าน
คืออวัยวะภายในทั้งร่างแก่
คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล
เมื่อวันที่ ๑๗ กันยายน ๒๕๓๘
ตรงกับ วันทำบุญครบรอบ ๑๐๐
วันพอดี
สุดแดน วิสุทธิลักษณ์
พูดถึงพิธีส่งมอบ โครงกระดูก
ในวันนั้นว่า
"...นับเป็นช่วงเวลา ที่ยิ่งใหญ่
เป็นช่วงเวลา
ของผู้ที่ศึกษาร่างกายมนุษย์
มาตลอดชีวิต ได้บรรลุจุดสูงสุด
ในการงานของตน
ด้วยการอุทิศร่างกาย
ให้เป็นสิ่งที่ถูกศึกษา
สำหรับคนรุ่นหลัง
นับเป็นการประสาน "ผู้ศึกษา"
เข้ากับ "สิ่งที่ได้ศึกษา"
ให้เป็นหนึ่งเดียวกัน
อย่างแท้จริง (สารคดี, ตุลาคม
๒๕๓๘)
ขณะพาเดินชม พิพิธภัณฑ์
กายวิภาคศาสตร์ คองดอน
ซึ่งคุณหมอสรรใจ
รับช่วงเป็นผู้ดูแลหลัก
ต่อจากบิดาเล่าว่า
"ตอนแรก ไม่ได้ตั้งใจ
จะเก็บสมอง กับเครื่องใน
เพราะคุณพ่อบอกว่า
จะเอากระดูกอย่างเดียว
แต่เห็นว่า ที่ภาควิชาฯ ยังไม่มี
เครื่องในทั้งร่าง ไว้ศึกษา
ก็เลยตัดสินใจ ทำเก็บเอาไว้
"กระดูกของคุณพ่อ
ดีกว่าที่คาดไว้เยอะ
กระดูกคนอายุ ๘๘ น่าจะบาง
และผุมากกว่านี้ กระดูกของท่าน
มีผุเฉพาะตรงซี่โครง
ซึ่งเราต้องเอากาว ผสมกับผงปูน
มาต่อนิดหน่อยเท่านั้น
แต่เราโชคร้าย
ตรงที่พนักงานรักษาศพ
ที่ช่วยกันประกอบ
โครงกระดูกรู้เท่าไม่ถึงการณ์
เห็นว่าเป็น กระดูกของอาจารย์
ก็เลยอยากทำออกมา ให้สวยที่สุด
จึงทาแล็กเกอร์ ซ้ำไปซ้ำมา
นับสิบครั้ง ทั้งที่โดยทั่วไป
จะทาแค่หนึ่ง
ถึงสองครั้งเพื่อป้องกัน
กระดูกเสียเท่านั้น
ไม่ใช่ทาให้มันเงา
เหมือนเฟอร์นิเจอร์
โครงกระดูกที่ดี
ต้องมีสีของกระดูก
ใกล้เคียงธรรมชาติมากที่สุด"
ไม่เพียง นักศึกแพทย์
เท่านั้น ที่มีโครงกระดูก
ของอาจารย์หมอสุด เป็น "ครู"
แต่ทุก ๆ ปี ยังมีนักศึกษาจาก
มหาวิทยาลัยศิลปากร
และไทยวิจิตรศิลป์
พากันมาสเก็ตช์รูป
โครงกระดูกของท่าน เป็นประจำ
อังคณา สุนทโรดม เจ้าหน้าที่
ประจำพิพิธภัณฑ์ ที่ทำงานกับ
อาจารย์หมอสุด มา ๒๐
กว่าปีเล่าว่า "เด็ก ๆ
จะมาเดินดูรอบ ๆ ก่อน
ว่าอยากวาดโครงไหน ส่วนใหญ่
จะเลือกวาดรูป
โครงกระดูกของอาจารย์
คงเป็นเพราะ โครงกระดูกของท่าน
สวยสง่าและสมบูรณ์
............................
พวงมาลัย ที่แขวนไว้
ตรงหน้าตู้โครงกระดูก
ของอาจารย์หมอสุด
และที่รูปถ่ายของท่าน
แสดงถึงความเคารพรัก
ที่ลูกศิษย์มีต่อท่าน
อย่างไม่เสื่อมคลาย แต่คำพูดที่
คุณหมอสรรใจ ทิ้งท้ายไว้
ได้สะท้อนให้เห็นว่า
มีอะไรบางอย่าง
ที่ไม่เหมือนเดิม
"ที่จริง ผมไม่อยาก
ให้มีการบูชา อะไรมาก อยากให้
โครงกระดูก ของท่าน เป็นที่ศึกษา
ไม่ใช่เป็น รูปเคารพ
เวลานักศึกษาแพทย์ จะสอบกันที
ก็เอาของมาไหว้ รูปถ่ายข้างล่าง
ก็เหมือนกัน ถ้ามากราบไหว้
ด้วยความเคารพ ก็ไม่เป็นไร
แต่ไม่ควรใช้
เป็นที่บนบานสานกล่าว
เพื่อให้สอบได้
อย่างที่เป็นอยู่"
อาจารย์หมอสุด แสงวิเชียร
ท่านยังเป็นครู ผู้มีแต่ให้
อยู่ไม่เปลี่ยนแปลง
แต่อาจเป็นลูกศิษย์รุ่นหลัง ๆ
เองที่เปลี่ยนไป
|
|
|
|