|
|
|
กุลธิดา สามะพุทธิ,
วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์ เรื่อง
ฝ่ายภาพสารคดี ภาพ |
|
|
|
|
|
|
|
|
"เราทิ้งของ
ที่ไม่จำเป็นไว้ที่ปากถ้ำ
ผมเอาไฟฉายสวมหัว แล้วทดสอบดู
การปรับความสว่าง
รวมทั้งไฟฉายอะไหล่ ไฟแช็ค
เทียนไข เข็มทิศ สมุดบันทึก
และเครื่องฟังโซนาร์
แล้วบอกให้ลุงช้อง
หิ้วปืนลูกซองตามไป... พบช่องแคบ ๆ
เข้าแห่งหนึ่ง คดเคี้ยวไปมา
ครู่หนึ่งก็ถึงที่กว้าง
ยังไม่ทันได้หันไปดูอะไร
เสียงรัวเป็นชุด
ก็ดังมาจากเครื่องจับโซนาร์
ผมปรับความถี่
ของเครื่องให้ตรงกับ
เสียงที่เข้ามาให้มากที่สุด
แล้วก็รู้แน่ว่า
เป็นเสียงค้างคาวกิตติ
อีกประเดี๋ยวก็เห็น บินโฉบไปมา
ตัวมันเล็ก
เท่าผีเสื้อและบินเร็วมาก
จนทำให้เราไม่ทันสังเกตเห็น
ผมดีใจจนลืมความเหนื่อย..." ("บุกป่ากาญจนบุรี
ค้นหาค้างคาวกิตติ
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
ที่เล็กที่สุดในโลก"
สารคดีปีที่ ๑ ฉบับที่ ๒, มีนาคม
๒๕๒๘)
|
|
|
อำเภอทองผาภูมิ
จังหวัดกาญจนบุรี ต้นปี ๒๕๔๐,
ยังคงเป็นลุงช้องคนเดิม
ที่เป็นคนนำทาง
ให้นักสำรวจค้างคาวกิตติคนล่าสุด
ซึ่งนับเป็นคนแรก
ในรอบสิบกว่าปีนับจากที่ สุรพล
ดวงแข ทำการสำรวจ
และศึกษาค้างคาวชนิดนี้ไว้
เมธี หยกอุบล
นักศึกษาปริญญาโท
สาขาวิชาชีววิทยาสภาวะแวดล้อม
คณะวิทยาศาสตร์
มหาวิทยาลัยมหิดล
บอกว่าลุงช้องอายุเกือบ ๘๐
ปีแล้ว แต่ยังแข็งแรงพอ
ที่จะพาเขาไปยังถ้ำต่าง ๆ
บริเวณอุทยานแห่งชาติไทรโยค
อำเภอทองผาภูมิ
จังหวัดกาญจนบุรี
เท่าที่ลุงจำได้ว่าเคยพา สุรพล
ดวงแข (ปัจจุบันเป็นเลขาธิการ
มูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าและพรรณพืชแห่งประเทศไทย)
บุกป่าตามหาค้างคาวกิตติช่วงปี
๒๕๒๖-๒๕๒๗
ด้วยเหตุผลที่ว่า
"ผมชอบค้างคาว" และ
"ข้อมูลเกี่ยวกับค้างคาวชนิดนี้
เงียบหายไปนานนับสิบปีแล้ว
ตอนนั้นมี ๒,๐๐๐ ตัว
อยากรู้ว่าตอนนี้มีเท่าไหร่
หมดไปหรือยังหรือว่ามีเพิ่มขึ้น"
เมธีจึงตัดสินใจทำวิทยานิพนธ์
เรื่องค้างคาวกิตติ
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
ขนาดเล็กที่สุดในโลก
ซึ่งเป็นสัตว์เฉพาะถิ่น
พบเฉพาะในประเทศไทย
บริเวณแนวเทือกเขาหินปูน
จังหวัดกาญจนบุรี และติดอยู่ใน
บัญชีรายชื่อสัตว์
ที่อยู่ในภาวะใกล้สูญพันธุ์ของ
IUCN (International Union for Conservation of Nature and Natural Resources)
มาอย่างต่อเนื่อง
การสำรวจของเขาอาจไม่โด่งดังเท่ากับ
การสำรวจของ
บริษัททีมคอนซัลติ้ง --
บริษัทที่ปรึกษา
ที่การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย
(ปตท.) จ้างมาทำรายงาน
ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA)
ของโครงการท่อส่งก๊าซไทย-พม่า
ที่ทำขึ้นในช่วงเวลาเดียวกัน
คือ ปลายปี ๒๕๔๐
ผลการศึกษาที่ระบุว่า
ไม่พบค้างคาวกิตติ
ในบริเวณนี้ทำให้ สุรพล ดวงแข
ออกมาตอบโต้
ผ่านสื่อมวลชนโดยยืนยันว่า
บริเวณแนวท่อก๊าซที่ตัดผ่าน
อุทยานแห่งชาติไทรโยค
นั้นมีถ้ำที่ค้างคาวกิตติ
อาศัยอยู่อย่างแน่นอน
การสำรวจไม่พบนั้น
ไม่ได้หมายถึงว่า
ไม่มีค้างคาวชนิดนี้อยู่
แต่ต้องตั้งคำถามว่า
ผู้สำรวจมีความรู้จริงหรือไม่
และใช้วิธีการสำรวจอย่างไร
ปตท. ตัดสินใจชวนสุรพล
ร่วมสำรวจพร้อมกันอีกครั้ง
ปรากฏว่าพบค้างคาวกิตติจริง
ไม่มีใครบอกได้ว่า
มันจะได้รับผลกระทบ
จากโครงการท่อก๊าซ
มากน้อยแค่ไหน และโครงการนี้
ก็ดำเนินต่อไป
สิ่งที่เมธีพบจากการสำรวจ
ซึ่งใช้วิธีการและ
เครื่องบอกชนิดของค้างคาวที่เรียกว่า
Bat Detector เช่นเดียวกับที่ สุรพล ดวงแข
ใช้ทุกประการ
ไม่ได้มีเพียงข้อมูลตัวเลขที่บอกว่า
"การสำรวจครั้งนี้
พบค้างคาวกิตติกระจาย
ในพื้นที่กว้างขึ้น
มีจำนวนประชากร ประมาณ ๒,๕๐๐
ตัวใน ๑๙ ถ้ำ ซึ่งมากกว่า
การสำรวจในช่วงปี ๒๕๒๖-๒๕๒๗
โดยคุณสุรพล ดวงแข ซึ่งพบประมาณ
๒,๐๐๐ ตัวจาก ๒๑ ถ้ำ
ทั้งนี้เนื่องจาก
มีการสำรวจพบถ้ำใหม่ ๆ
ซึ่งมีค้างคาว
อาศัยอยู่ปริมาณมาก
อย่างไรก็ตาม จำนวนประชากร
ของค้างคาวกิตติ
เฉพาะในกลุ่มถ้ำ
ที่เคยมีการสำรวจมาก่อน ๑๕ ถ้ำ
กลับมีจำนวนลดลง ประมาณ ๑๐
เปอร์เซ็นต์ จาก ๑,๔๖๖ ตัว เหลือ
๑,๓๑๖ ตัว ซึ่งแสดงว่ามี
ปัจจัยบางอย่างกำลังคุกคาม
การดำรงชีวิตของค้างคาวชนิดนี้" |
|
|
หากแต่ยังพบเรื่องราว
การคุกคามค้างคาวกิตติ
ที่น่าวิตกอีกมากมาย
"การล่าค้างคาว
เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้
ค้างคาวมีจำนวนลดลงไป
ทั้งการล่า เพื่อใช้เป็นอาหาร
และการล่าเพื่อนำไปเก็บสะสม
ถึงแม้ค้างคาวกิตติ
จะไม่ใช่เป้าหมายหลัก ในการล่า
เพื่อนำไปเป็นอาหาร
แต่ก็ได้รับผลกระทบ ด้วยเช่นกัน
โดยพบว่าค้างคาวกิตติ
ในถ้ำหมายเลข ๗
(ที่สุรพลเคยสำรวจ) มีจำนวนเพียง
๖ ตัว จากที่เคยมีถึง ๓๐๐ ตัว
ซึ่งการสำรวจ กระทำภายหลัง
จากมีการล่าค้างคาว
ในถ้ำดังกล่าวประมาณ หนึ่งเดือน
โดยผู้ที่ล่าค้างคาว
ไปกินเป็นชาวบ้านต่างถิ่น
ซึ่งมักมาล่าเป็นประจำทุกปี
สำหรับคนที่จับไปสะสม
เมธีได้รับข้อมูล จากเจ้าหน้าท
ี่อุทยานแห่งชาติไทรโยค
ว่ามักจะแอบจ้าง
เจ้าหน้าที่ระดับล่าง
ให้พาไปยังแหล่งที่พบค้างคาว
๒๐๐ บาท
คือราคาที่นักสะสมจ่าย
สำหรับค้างคาวกิตติหนึ่งตัว
นอกจากการล่าโดยตรง
ภัยคุกคามค้างคาวกิตติ
ยังรวมถึงการเปลี่ยนแปลง
พื้นที่ป่าเป็นไร่มันสำปะหลัง
เนื่องจากค้างคาวกิตติ
มีรัศมีหากินจากถ้ำไม่เกิน ๑
กิโลเมตร
การเปลี่ยนแปลงพื้นที่รอบ ๆ
ถ้ำจึงส่งผลกระทบ
ต่อมันอย่างมาก
แม้ว่าค้างคาวกิตติ
จะสามารถหากินได้
ในพื้นที่หลายแบบ
แต่มันไม่สามารถ
หากินในไร่มันสำปะหลังได้เลย
และเนื่องจากค้างคาวกิตติ
นั้นอ่อนไหวมาก
การรบกวนแม้เพียงเล็กน้อย
ก็เป็นอันตรายสำหรับมัน
สิ่งที่ผู้ทำการศึกษา
เป็นห่วงมากที่สุด
จึงเป็นสองสิ่ง
ที่หลายคนคิดไม่ถึง นั่นคือ
"การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์"
ประเภทบุกป่า เที่ยวถ้ำ
ที่กำลังได้รับความนิยม
และการยึดถ้ำ
เป็นที่ปฏิบัติธรรมของพระ
ซึ่งมักจะโบกปูน
ดัดแปลงถ้ำอย่างถาวร
จุดธูปเทียนบูชา พระพุทธรูป
ติดไฟนีออน ก่อกองไฟ ฯลฯ
เขาเสนอว่า
สิ่งที่ต้องศึกษาต่อไป
เกี่ยวกับค้างคาวกิตติ ได้แก่
ปัจจัยที่กำหนดพฤติกรรม
การโยกย้ายถ้ำที่อยู่อาศัย,
ปัจจัยที่กำหนด
จำนวนค้างคาวในแต่ละถ้ำ,
เส้นทางการบิน
และการเลือกพื้นที่หาอาหาร,
ผลกระทบของการใช้ประโยชน์
ในถ้ำต่อการอยู่อาศัยของค้างคาว,
การรักษาพลังงานของค้างคาว
ในช่วงผสมพันธุ์ และเลี้ยงลูก,
การกระจายของค้างคาว ฯลฯ
ดูเหมือนว่า นับจากที่
กิตติ ทองลงยา
ค้นพบค้างคาวกิตติเมื่อปี ๒๕๑๖
และได้รับการประกาศว่า
เป็นค้างคาวชนิดใหม่ของโลก
ไม่อาจจัดไว้ในวงศ์ใดได้
จึงต้องตั้งวงศ์ให้ใหม่โดยมี
ค้างคาวกิตติอยู่ตัวเดียวเท่านั้นในวงศ์นี้
จนถึงการศึกษา
ครั้งล่าสุดซึ่งเกิดขึ้น
ในช่วงเวลาที่ห่างกันนานเกือบ
๓๐ ปี ความลี้ลับและ
ปริศนาว่าด้วยการดำรงอยู่ของ
ค้างคาวกิตติแทบ
จะยังไม่ได้รับการคลี่คลาย
และการคุกคามที่เมธี
นำเสนอในวิทยานิพนธ์ของเขา
ซึ่งนับว่าเป็นข้อมูล
ทางวิชาการ ชิ้นล่าสุด
เกี่ยวกับค้างคาวกิตตินั้น
ก็ดำเนินไปท่ามกลาง ความไม่รู้
อีกมากมาย
ที่มนุษย์มีต่อสัตว์โลกชนิดนี้หมายเหตุ : วิทยานิพนธ์เรื่อง
Habitat use and the population trend of Kitti's Hog-nosed bats (Craseonycteris
thonglongyai) in disturbed habitats in western Thailand โดย เมธี
หยกอุบล
จะเสร็จสมบูรณ์ในช่วงกลางปี
๒๕๔๓
|
|
|
|
|