|
|
|
กุลธิดา สามะพุทธิ,
วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์ เรื่อง
ฝ่ายภาพสารคดี ภาพ |
|
|
|
|
|
|
|
|
"มีสัตว์ป่าประเภทลิง ค่าง ชะนี
และนางอาย อีกเป็นจำนวนมาก
ทยอยเดินทางเข้ามาสมทบ
เป็นสมาชิกในครอบครัวแห่งนี้
คิกค่า ชะนีตัวเมีย
มาจากครอบครัวชาวอเมริกัน
ที่เลี้ยงมันได้เพียงปีเดียว
แล้วจำเป็นต้องเดินทางกลับประเทศของตน
ลิงกังชื่อจอร์จ...และยังสัตว์อื่น
ๆ อย่างเคลลี่ ซอโร่ ยอด ยิ่ง
ทุชซี่ เบนนี่ พีนัท เป็นต้น
ที่ล้วนมีภูมิหลังต่างกันไป
แต่ที่สุดแล้ว
ต่างได้มาใช้ชีวิตปัจจุบันร่วมกัน
ณ บ้านอุ่นรักแห่งนี้ ("เลียวนี่
เวชชาชีวะ 'ฟลอเรนซ์ ไนติงเกล'
ในโลกของสัตว์ป่า" สารคดี ปีที่
๕ ฉบับที่ ๕๔, สิงหาคม ๒๕๓๒)
|
|
|
ริมรั้วและในสนามของบ้านหลังนี้
ยังคงมีกรงลิง ชะนี
นางอายตั้งอยู่เรียงราย
ที่หน้าประตู มีป้ายเล็ก ๆ
เป็นรูปชะนีมงกุฎ กับอักษรย่อ WAR
ติดไว้, WAR ย่อมาจาก Wild Animal Rescue Foundation
หรือ
มูลนิธิช่วยชีวิตสัตว์ป่าแห่งประเทศไทย
ซึ่งสองสามีภรรยา--เลียวนี่และพงศ์ศักดิ์
เวชชาชีวะ กับเพื่อน ๆ กลุ่มหนึ่ง
ร่วมกันก่อตั้งขึ้นมาเมื่อแปดปีก่อน
มันเป็นความตั้งใจ
ที่จะให้ชื่อย่อนี้มีความหมายตรงกับคำว่า
"สงคราม"
พงศ์ศักดิ์อธิบายว่า
"เราเป็นมูลนิธิ
ที่ประกาศสงคราม
กับผู้ทารุณสัตว์ป่าทุกรูปแบบ"
นับตั้งแต่ครอบครัวของแหม่มเลียวนี่
เลี้ยงลิงตัวแรก
ที่ซื้อมาจากสวนจตุจักร
ด้วยความสงสารเมื่อประมาณปี
๒๕๒๗
นักกฎหมายชาวอังกฤษอย่างเธอ
และข้าราชการมหาวิทยาลัยอย่างเขา
ไม่คิดว่าจะมาไกลถึงขนาดนี้--ดูแลสัตว์ป่าทุกชนิด
ตัวแล้วตัวเล่า
ที่มีผู้เอามาทิ้งไว้ให้ช่วยเลี้ยง,
ตั้งองค์พัฒนาเอกชน
ที่ทำงานด้านสัตว์ป่า,
ตั้งศูนย์พิทักษ์สัตว์ป่า
ร่วมกับกรมป่าไม้,
ไปประชุมวิชาการด้านสัตว์ป่า
ในต่างประเทศ เพื่อหาความรู้,
ผู้คนมากมายติดต่อมา
เพื่อขอคำแนะนำ
เรื่องการเลี้ยงสัตว์ป่า
แจ้งข้อมูลเรื่องสัตว์ป่าถูกทารุณ
และบางรายมาเยี่ยมถึงบ้าน
เพียงเพื่อให้กำลังใจ
ยิ่งรางวัล "โกลบอล ๕๐๐"
ที่เลียวนี่เดินทางไปรับถึง
กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ
ในวันสิ่งแวดล้อมโลกปี ๒๕๓๗
ในฐานะ
นักพิทักษ์สิ่งแวดล้อมดีเด่น
สาขาสัตว์ป่าด้วยแล้ว
ยิ่งไม่ได้คาดหวัง "ประมาณปี ๒๕๓๔
เรามาถึงจุดที่คิดว่า
จะเดินหน้าต่อหรือจะพอแค่นี้
เพราะเราทั้งสอง
เริ่มแก่ลงเรื่อย ๆ
คงรับภาระต่อไปไม่ไหว
ฉันเองก็ท้อแท้เสียจน
ไม่อยากรับรู้อะไรอีกต่อไปแล้ว
บางครั้งฉันถามตัวเองว่า
สิ่งที่เราทำลงไปทั้งหมดนี้ช่วยให้อะไร
ๆ ดีขึ้นจริงหรือเปล่า"
เลียวนี่เล่าถึงจุดวิกฤต
ระหว่างทาง
"แต่ในที่สุดเราก็ตัดสินใจทำต่อ"
มีหลายสิ่งที่ตามมาจากการ
"ตัดสินใจทำต่อ"
ของเลียวนี่และพงศ์ศักดิ์
ในครั้งนั้น
|
|
|
นอกจากสัตว์ป่าอีกหลายชีวิต
จะได้รับความช่วยเหลือ
และความตื่นตัวของสังคมต่อปัญหา
เรื่องการทารุณสัตว์ป่าแล้ว
สิ่งที่สำคัญสำหรับคนทั้งสองก็คือ
บทเรียน
"เราเรียนรู้อะไรตั้งมากมาย
เราได้เรียนรู้ถึงความทุกข์ทรมานของสัตว์ป่า
และวิธีการที่จะเยียวยารักษามัน
เราเรียนรู้ถึงพฤติกรรม
ของผู้คนทั้งที่ดีและร้าย
รู้เห็นถึงการคอร์รัปชัน
การแย่งชิงผลประโยชน์ทางการเมือง
ได้เห็นการใช้อิทธิพล
ของนักการเมือง
เราเรียนรู้เรื่องราวทั้งหมดนี้
ผ่านการคลุกคลีอยู่กับเรื่องสัตว์ป่า"
"ยังมีอะไรอีกมากมายเหลือเกิน
ที่เราพอจะทำได้
ปัญหาเรื่องสัตว์ป่าถูกทารุณนี้
เป็นเหมือนภูเขาน้ำแข็งมหึมา
สิ่งที่เราเห็น
และตามแก้ไขอยู่ตลอดมานั้น
เป็นแค่ส่วนยอดของมันเท่านั้น
ปัญหาใหญ่จริง ๆ
เปรียบเป็นส่วนที่อยู่ใต้น้ำซึ่ง
เรามองไม่เห็น
ฉันพบว่าปัญหาไม่ได้อยู่แค่ที่พราน
หรือชาวบ้าน ที่ล่าสัตว์ขาย
กฎหมาย
และวิธีคิดของรัฐบาลต่างหาก
ที่เป็นตัวปัญหา"
ตลอดระยะเวลา
ที่เลียวนี่เดินอยู่บนทางสายนี้
ใครจะคาดคิดว่า
สิ่งที่ทำให้เธอดีใจ
และตื่นเต้นที่สุด
จะเป็นเพียงแค่คำ "ขอบคุณ"
ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
(ปองพล อดิเรกสาร) บอกกับเธอ
เมื่อไม่นานมานี้
"ที่ผ่านมาพวกเขา
เอาแต่บอกว่า
เราทำผิดกฎหมายที่เอาสัตว์ป่ามาเลี้ยง
บ้างก็คิดแต่จะหาประโยชน์จากงานของเรา
เพื่อให้ตัวเองได้เลื่อนตำแหน่ง
กรมป่าไม้ ขอทุนการศึกษาจากเรา
เพื่อให้เจ้าหน้าที่ไปศึกษาต่อ
ด้านการดูแลสัตว์ป่า
ที่ประเทศอังกฤษ
เราก็ให้ด้วยความยินด ีมาตลอด
แต่จนถึงบัดนี้
เราไม่เคยได้รับแม้แต่คำขอบคุณ
ไม่ว่าจะจากกรมป่าไม้
หรือแม้แต่ตัวนักศึกษาที่ได้รับทุนเอง"
มันเป็นคำขอบคุณแรก
จากปากของหน่วยงานราชการ
ที่รับผิดชอบ
ด้านการอนุรักษ์สัตว์ป่าโดยตรง
...จาก "ลิง ๑๑ ตัว นางอาย ๒
ตัว ชะนี ๖ ตัว และค่างอีก ๑ ตัว"
ที่แหม่มเลียวนี่เลี้ยงไว้
ในบ้านซอยสุขุมวิท ๓๓ ซึ่ง สารคดี
รายงานไว้พร้อมคำบอกเล่าของเธอ
เมื่อ ๑๑ ปีก่อนว่า
"ฉันไม่มีเจตนาจะเลี้ยงสัตว์มากขนาดนี้นะ
คือมีตัวเดียว อีกตัวมา
แล้วอีกตัวก็มา..."
ปัจจุบันนี้เลียวนี่
และมูลนิธิของเธอ
มีสัตว์ที่อยู่ในความดูแลทั้งหมด
๕๐๐ ตัว -- ลิงและชะนี
อย่างละประมาณ ๒๐๐ กว่าตัว
ลูกลิงชิมแปนซี ๒ ตัว หมี ๒๓ ตัว
ค่าง ๕ ตัว นางอาย ๓๐ ตัว
และหมีขออีก ๑ ตัว
โดยพวกมันจะถูกส่งไปอยู่ตาม
"สาขา" ของมูลนิธิฯ เช่น
ศูนย์พิทักษ์สัตว์ป่ากระบกคู่
จังหวัดฉะเชิงเทรา
โครงการคืนชะนีสู่ป่า
จังหวัดภูเก็ต
และศูนย์พิทักษ์สัตว์ป่า
จังหวัดตาก
แต่ที่บ้านหลังเดิม
ก็ยังคงมีทั้งทารกชะมด ๒ ตัว,
นางอาย ๔ ตัว, ลิงเสน ๒ ตัว
ตัวหนึ่งมีคนเจอในถังขยะ
ที่ตลาดนัดจตุจักร
อีกตัวหนึ่งเจ้าของขี้เกียจเลี้ยง
จึงเอาไปถ่วงน้ำ
แต่มีคนช่วยไว้ได้ทัน, ชะนี ๓ ตัว
ตัวแรก แม่ถูกฆ่าตาย
ส่วนตัวมันโดนลูกหลงเข้าที่แขน
เป็นแผลเหวอะหวะ
อีกสองตัวเป็นชะนีจากภูเก็ต
ที่ติดยาแอมเฟตามีน
เพราะเจ้าของ
ต้องการใช้มันตระเวน
ให้นักท่องเที่ยวถ่ายรูปทั้งคืน
"มันยังคงดำเนินต่อไป"
เลียวนี่รำพึงเบา ๆ
...ด้วยวัย ๖๓ ปี
กับระยะเวลา ๑๕ ปีเต็ม
ที่เธอคลุกคลี
อยู่กับสัตว์ป่าที่ถูกทารุณ
เลียวนี่บอกว่า
บางครั้งเธอรู้สึกเหนื่อยเต็มทน
เธอต้องพบกับความเจ็บปวด
เวลาที่เห็นสัตว์ถูกทารุณ
และรู้สึกอนาถใจ
กับสิ่งที่ได้พบเห็นมามากจนเกินพอ
แต่ก็ต้องเผชิญหน้ากับมัน
และเรียนรู้
ที่จะรับมือกับความรู้เลวร้ายเหล่านี้ให้ได้
ถามเธอตรง ๆ ว่า
ทำไมถึงยัง "ทน" อยู่กับมันได้
?
"ฉันกับสาม
ีก็บอกไม่ได้เหมือนกันว่า
ทำไมเราถึงไม่ยอมเลิกรา
บางทีอาจเป็นเพราะว่า
ยิ่งเห็นเรื่องเลวร้ายมากเท่าไหร่
เราก็ยิ่งต้องทำงานต่อไป
เพื่อยับยั้งไม่ให้มันเกิดขึ้นอีก
ครั้งแล้วครั้งเล่า"
เหตุผลของเธอช่างเรียบง่าย
และชัดเจนเหลือเกิน
หมายเหตุ :
รายงานความเป็นไปของสัตว์บางตัว
ที่ปรากฏชื่อใน "เลียวนี่
เวชชาชีวะ 'ฟลอเรนซ์ ไนติงเกล'
ในโลกของสัตว์ป่า"
-เบล ("เมื่อเธอไปเดินซื้อของ
ที่ตลาดนัดจตุจักร พอพ่อค้า
นำลูกลิงวัยแบเบาะใส่กรง
มาวางขาย
ลิงน้อยยื่นมือมาจับขาเธอไว้
ด้วยความสงสาร
เธอจึงซื้อลิงตัวนั้นกลับมา
ในราคาเพียง ๒๐๐
บาท...ตั้งชื่อมันว่า เบล) :
"บิ๊กเบล" โตเป็นหนุ่ม
ตัวใหญ่มาก จนเพื่อนบ้านกลัว
จึงจำเป็นต้องส่งไปอยู่ที่
สวนสัตว์เปิดเขาเขียว
-บิลลี่ ("เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๐
ขณะคุณพงศ์ศักดิ์ไปทำธุระที่
จังหวัดระนอง
เขาได้ไปพบชาวบ้านคนหนึ่ง
เลี้ยงชะนีแบบล่ามโซ่
ผูกติดไว้กับต้นไม้
ด้วยความสงสาร
คุณพงศ์ศักดิ์จึงเข้าไปเจรจา
ขอซื้อชะนีน้อย
เพื่อนำมาเลี้ยงเสียเอง...มันได้ชื่อว่า
บิลลี่) :
บิลลี่ยังอยู่ที่บ้านแหม่มเลียวนี่เหมือนเดิม
ปัจจุบันอายุ ๑๖ ปี
แฟนของบิลลี่ชื่อโจแอน อายุ ๑๗ ปี
เคยมีลูกด้วยกันสองตัว
แต่ตายตอนคลอด ทั้งสองตัว
หมอบอกว่าชะนีทั้งสองตัว
มีสารพันธุกรรมบางอย่าง
ที่เข้ากันไม่ได้
บิลลี่เป็นชะนีขี้อิจฉา
คุณพงศ์ศักดิ์บอกว่า
ถ้าเล่นกับสัตว์ตัวอื่นมาก่อน
แล้วมาเล่นกับมัน มันจะงอน
ไม่ยอมเล่นด้วย
-สีนวล ("กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๑
ครอบครัวของแหม่มเลียวนี่
ก็ได้ต้อนรับสีนวล
ชะนีมือขาวเพศเมีย
เข้าเป็นสมาชิกอีกตัวหนึ่งของบ้าน
สีนวล
เป็นชะนีของสตรีชาวเยอรมันผู้หนึ่ง
ซึ่งสามีทำงานเหมือง
อยู่ที่อำเภอทองผาภูมิ
ชาวกะเหรี่ยงแถวนั้น
จับแม่ของสีนวลมากิน
แล้วเอาสีนวลล่ามเชือกพลาสติกรัดรอบเอว
ผูกติดกับต้นไม้ไว้) :
สีนวลตายไปนานแล้ว
ด้วยโรคมะเร็งในช่องท้อง
|
|
|
เลียวนี่ : "ปี ๒๕๓๔
ฉันกับสามีคิดจะเลิกทำ
แต่ในที่สุดเราก็ตัดสินใจจะทำต่อ..."
ปี ๒๕๓๔
-รับเลี้ยงลูกเสือโคร่ง ๓ ตัว
อายุประมาณ ๓ สัปดาห์
ซึ่งกำลังจะถูกส่งไปยังร้านอาหาร
ในไต้หวัน แต่กรมป่าไม้
ยึดมาได้เสียก่อน
เมื่อแข็งแรงดีแล้ว
จึงได้ส่งไปไว้ที่ศูนย์เพาะเลี้ยงสัตว์ป่าของกรมป่าไม้
ปี ๒๕๓๕
-ก่อตั้งมูลนิธิช่วยชีวิตสัตว์ป่าแห่งประเทศไทย
(WAR)
ปี ๒๕๓๖
-รับ "โครงการคืนชะนีสู่ป่า"
ที่จังหวัดภูเก็ต
เข้าเป็นกิจกรรมหนึ่งของมูลนิธิฯ
ปี ๒๕๓๗
-เปิด
"ศูนย์พิทักษ์สัตว์ป่ากระบกคู่"
อำเภอท่าตะเกียบ
จังหวัดฉะเชิงเทรา
ซึ่งเป็นโครงการที่ทำร่วมกับ
กรมป่าไม้
-ในวันสิ่งแวดล้อมโลก (๕ มิถุนายน)
สหประชาชาติ ยกย่องให้ เลียวนี่
เวชชาชีวะ
เป็นนักพิทักษ์สิ่งแวดล้อมดีเด่น
สาขาสัตว์ป่า ได้รับรางวัล GLOBAL 500
ที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ
-ช่วยทางราชการติดต่อขอชะนีไทย
ซึ่งถูกลักลอบนำออกไปยังประเทศอิสราเอล
คืนกลับประเทศไทย
ปี ๒๕๓๘
-ติดต่อขอชะนีไทย ๒ ตัว
ซึ่งถูกลักลอบนำออกไปยัง
ประเทศฟิลิปปินส์
กลับคืนมายังเมืองไทย
ปี ๒๕๓๙
-เลี้ยงดูลูกหมี ที่กำลังใกล้ตาย
๕ ตัว ซึ่งตำรวจ
และเจ้าหน้าที่กรมป่าไม้
พบว่าถูกยัดใส่กระสอบ
ทิ้งไว้ที่ชายป่า จังหวัดชัยนาท
จึงนำมาให้มูลนิธิฯ
ช่วยเลี้ยงจนรอดชีวิต
และมีสุขภาพแข็งแรงดี
-เลี้ยงดูลูกชิมแปนซี ๒ ตัว
ลูกเสือโคร่งตาบอด ๑ ตัว
และลูกหมีอีก ๑๗ ตัวซึ่งตำรวจ
ยึดมาจากผู้ที่เลี้ยง
เพื่อนำไปทำเป็นอาหาร
ปี ๒๕๔๐
-เลี้ยงลูกหมี ๑
ตัวที่กรมป่าไม้ยึดมา
-ช่วยเหลือช้าง ๓
เชือกที่ถูกรถชนในกรุงเทพฯ
ปี ๒๕๔๑
-ดูแลลูกหมีอายุ ๑ เดือน จำนวน ๒
ตัว
|
|
|
|