Click here to visit the Website
กลับไปหน้า สารบัญ นักศึกษา กับ การประกวดนางงาม โอกาสที่ยั่งยืน หรือเย้ายวน
คั ด ค้ า น

รองศาสตราจารย์ ดร. วันชัย ศิริชนะ
รองศาสตราจารย์ ดร. วันชัย ศิริชนะ
ปลัดทบวงมหาวิทยาลัย
  • การประกวดประชันความงาม ไม่ใช่บทบาทของนักศึกษา ที่ควรจะเป็น ไม่เหมาะสมกับสถานภาพ การเป็นนักศึกษา ซึ่งมีหน้าที่ศึกษาเล่าเรียน ถ้าหลงไปทางอื่นแล้ว โอกาสที่จะกลับมา ตั้งใจเรียนอีกมีน้อย

  • คนที่ชอบประกวด มักอยากแต่งตัวสวย ๆ อยากมีอยากเป็น อย่างคนอื่น จึงต้องพยายามหาเงิน ทำให้เกิด การฟุ้งเฟ้อฟุ่มเฟือย

  • ทุกสถาบันการศึกษา มีกิจกรรม ที่สนับสนุนให้เด็ก ได้แสดงออก ได้มีเพื่อน ได้ประสบการณ์อยู่แล้ว ไม่จำเป็นว่า จะต้อง เข้าประกวดนางงามเท่านั้นี

  • เหตุผลหลัก ในการเข้าประกวด คือต้อง การเข้าวงการบันเทิง ต้องการให้คนยอมรับ วิธีประกวดนางงาม เป็นหนทางหนึ่ง แต่ไม่ใช่หนทาง ที่นักศึกษาควรกระทำ

    "ผมไม่เห็นด้วยกับการที่ นักศึกษาจะไปประกวดประชันความงาม เพราะไม่ใช่บทบาทของนักศึกษา ที่ควรจะเป็น หน้าที่ของนักเรียนนักศึกษา คือการศึกษาเล่าเรียน การทำกิจกรรมอะไรก็ตาม ต้องดูความเหมาะสมของวัย และสถานภาพการเป็นนักศึกษาด้วย ว่าสมควรหรือไม่ ไม่ใช่นึกอยากจะทำอะไรก็ทำ โดยไม่คำนึงถึงอะไร การทำกิจกรรม ก็ควรเป็นกิจกรรม ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนมากกว่า เช่น การไปแข่งขันแสดงความสามารถ ในลักษณะที่สอดคล้องกับภารกิจ ของการเป็นนักศึกษา ไม่ใช่ประกวดประชันความงาม หรือประกวดนางสาวไทย
    "เรื่องผลกระทบต่อ การเรียน เป็นเรื่องของแต่ละบุคคล บางคนอาจจะจัดการแบ่งเวลาได้ แต่โดยธรรมชาติแล้ว ถ้าเราไปมีกิจกรรมอื่น มันก็ต้องแย่งเวลาของการเรียน โอกาสที่จะเรียนดีเหมือนเดิม คงเป็นไปได้ยาก ผมเชื่อว่า สำหรับคนอายุประมาณไม่เกิน ๒๕ ปี สิ่งสำคัญที่สุดตอนนี้ คือการเรียนหนังสือ ถ้าหลงไปทางอื่นแล้ว กลับมาตอนหลัง ก็จะเสียเวลา เสียโอกาสไป นอกจากมีผลต่อการเรียนแล้ว ก็ยังมีผลต่ออนาคตด้วย เช่น ถ้าไปประกวดแล้ว มีคนแนะนำให้ไปทำอาชีพอื่น ที่ไม่ยั่งยืน แต่ล่อใจกว่าด้วยประการต่าง ๆ ก็อาจจะทิ้งการเรียนไป ทำให้เกิดปัญหาระยะยาว
    "คนที่ชอบประกวด มักจะอยากแต่งตัวสวย ๆ ต้องการที่จะมีอะไร ให้เหมือนคนอื่น เข้าทำนองเห็นช้างขี้ ขี้ตามช้าง พอเห็นคนอื่นแต่งตัว ถือกระเป๋าแพง ๆ ขับรถโก้ ๆ ก็อยากมีอย่างเขาบ้าง เกิดความอยากได้ ในสิ่งที่ตัวเองไม่สามารถจะไขว่คว้ามาได้ ในสภาพที่เป็นอยู่ เกิดการฟุ้งเฟ้อฟุ่มเฟือย ทำให้ต้องพยายามไปหาเงิน พอหาเงินไม่ได้ก็เป็นทุกข์ ต้องไปขอพ่อ ขอแม่ หรือไปหาอาชีพอะไรทำ จุดอ่อนที่สุดของคนก็คือ การอยากได้อยากมีอย่างคนอื่น และเมื่อความอยากนี้มีมาก ก็สามารถกระทำทุกอย่าง เพื่อให้ได้มาซึ่ง สิ่งที่ตัวเองปรารถนา และถ้าการได้มาซึ่ง สิ่งที่ตัวเองปรารถนา มีผลกระทบต่ออนาคตของตัว มันก็เป็นเรื่องเศร้า สถาบันการศึกษามีนโยบาย ห้ามไม่ให้นักศึกษาฟุ้งเฟ้ออยู่แล้ว ไม่ควรใช้ของแพง ไม่ควรจับจ่าย ใช้สอยสุรุ่ยสุร่าย ให้คำนึงถึงการเป็นนักศึกษาไว้ สมัยก่อน ก็เคยมีหนังสือเวียน แจ้งไปเรื่องการใช้ของฟุ่มเฟือย ในยุคไอเอ็มเอฟ ตอนนี้ก็เริ่มลืมแล้ว เด็กรุ่นใหม่เข้ามาเอาอีกแล้ว     
    "คนที่ต้องการได้เพื่อน ได้ประสบการณ์ ในการทำงานกับคนอื่น หรือต้องการสร้างความมั่นใจ และกล้าแสดงออก การประกวดนางงาม ก็อาจเป็นทางหนึ่ง เพราะการแต่งชุดว่ายน้ำ ไปยืนต่อหน้าคนเป็นหมื่น อาจมีส่วนสร้างความมั่นใจ และกล้าแสดงออกมากขึ้น แต่ว่ามันไม่จำเป็น ที่จะต้องเป็นกิจกรรมนี้เท่านั้น ทุกสถาบัน ก็มีกิจกรรมที่สนับสนุน ให้เด็กได้แสดงออก และได้เพื่อนอยู่แล้ว เช่น การมีส่วนร่วมในชมรมต่าง ๆ การไปช่วยเหลืองานสาธารณะ การไปร่วมแสดงความคิดเห็นในที่ประชุม คนเราไม่เคยพูดในที่ชุมชน หัดสักครั้งมันก็ชิน มีกิจกรรมอื่น ๆ อีกมากมายที่จะทำได้
    "ส่วนนักศึกษาที่ เลือกไปประกวดในเวที ที่ไม่ต้องสวมชุดว่ายน้ำ มันคงไม่ทำให้ภาพพจน์ดีขึ้น และมันก็คงไม่เลวลง ในการไปประกวดอย่างนี้ มันขึ้นอยู่กับว่าเวลาไปประกวด แล้วทำตัวอย่างไร ถ้าทำตัวดี ความประพฤติดี ภาพพจน์มันก็ดี
    "ที่บอกว่า ต้องประกวดนางงาม เพราะความจำเป็นทางเศรษฐกิจ ต้องการมีรายได้ส่งตัวเองเรียน และเลี้ยงครอบครัว คงเป็นข้ออ้างอย่างหนึ่งเท่านั้น ถ้าเป็นอย่างนั้น คนไม่สวยก็แย่น่ะสิ เวลานี้ถ้าคนไหนยากจนจริง ๆ ก็มีทุนของรัฐบาลให้กู้ยืม เพื่อการศึกษา แต่ละสถาบัน ก็มีช่องทางที่จะให้ความช่วยเหลือ แต่เด็กที่ฐานะยากจนส่วนใหญ่ มักจะไม่ค่อยกล้าไปขอความช่วยเหลือ ไม่ค่อยแสดงตัว อาจเป็นเพราะอายเพื่อน หรือไม่แน่ใจว่า จะได้รับความช่วยเหลือหรือไม่ ซึ่งเรื่องเหล่านี้ แต่ละสถาบันคงจะต้องปรับปรุง หาทางที่จะเปิดให้นักศึกษา ได้เข้ามาปรึกษาหารือได้มากขึ้น
    "ผมคิดว่าเหตุผลหลักจริง ๆ ของการเข้าประกวด คือต้องการเข้าสู่วงการบันเทิง ต้องการสร้างอาชีพใหม่ ให้แก่ตัวเอง ต้องการมีชื่อเสียง ต้องการให้คนยอมรับ คนที่คิดว่า ถ้าเป็นแค่นักศึกษาธรรมดา ไม่เข้าประกวด จะไม่สามารถ ทำให้คนอื่นยอมรับได้นั้น คิดผิด จริง ๆ แล้ว ถ้าตั้งใจเรียนหนังสือให้เก่ง ให้มีความเชี่ยวชาญ ทางด้านใดด้านหนึ่งแล้ว ในที่สุดก็จะมีคนยอมรับเอง วิธีการประกวดนางงาม เป็นหนทางหนึ่งเท่านั้น และดูแล้ว มันก็ไม่ใช่ทางที่นักศึกษา ควรจะกระทำนักหรอก
    "ผมยังเชื่อในหลักการว่า การเรียนหนังสือ คือการสร้างพื้นฐานในชีวิต ถ้าไม่เรียนหนังสือ ก็ต้องหาประสบการณ์ในอาชีพ อันนั้นเป็นความยั่งยืนที่สุด มีอาชีพเชี่ยวชาญทางใดทางหนึ่ง ทำจนมีคนยอมรับในฝีมือ
    "คนบางกลุ่ม อาจมีค่านิยมว่าการประกวด จะช่วยยกระดับชีวิตให้ดีขึ้น รู้สึกว่าถ้าได้เป็นแล้วจะสบายขึ้น จะไม่ถูกหลอกไปทำงานไม่ดี ถ้าได้ตำแหน่ง พ่อแม่ก็จะมีหน้ามีตา บางคนอาจเห็นตัวอย่าง คนที่เคยเข้าประกวดมาก่อน แล้วมีชื่อเสียง ประสบความสำเร็จ จึงใฝ่ฝันอยากจะเป็นอย่างนั้นบ้าง แต่คนที่ประสบความสำเร็จ อาจมีแค่หนึ่งในพัน ทั้งหมดมันขึ้นอยู่กับตัวเราเอง ถ้าเราวางตัวดี มีการศึกษาดี คนก็ยกย่อง แต่ถ้าประพฤติตัวเหลวแหลก ไม่เรียนหนังสือ ใครเขาจะเลือก คนเราต้องมีดีในตัวเอง สมัยนี้ซินเดอเรลลาไม่มีแล้ว
    "การประกวด ถือเป็นสิทธิส่วนบุคคล ของนักศึกษาเอง แต่นักศึกษา ก็ควรจะต้องคิดด้วยว่า เหมาะสมหรือไม่ สังคมในมหาวิทยาลัย จะรับได้หรือไม่ ถ้าไปประกวดแล้ว แต่งตัวล่อแหลม เขาก็คงไม่ค่อยเห็นด้วยเท่าไร ที่ไม่เห็นด้วย ก็เพราะเป็นห่วง อนาคตของเด็กเท่านั้น เพราะเมื่อเข้าไปสู่ วงการที่มีแต่ความฟุ้งเฟ้อ โอกาสที่จะ เคลิบเคลิ้มไปกับสิ่งเหล่านั้น มันก็มีสูง ที่จะหวนกลับมา ตั้งหน้าตั้งตาเรียนจน ประสบความสำเร็จนั้น มีน้อย บางคนที่ประสบความสำเร็จก็มี อย่างคุณอรอนงค์ ปัญญาวงศ์ ประกวดแล้วก็มาเรียนที่จุฬาฯ จนจบ เรียกว่าไม่ลืม ไม่หลง แต่นั่นก็เป็นส่วนน้อยเท่านั้น ส่วนใหญ่ไปอยู่ที่ไหนไม่รู้
    "เกี่ยวกับเรื่องนี้ ทบวงคงไม่เข้าไปยุ่ง แต่สถาบันการศึกษา สามารถจะออกกฎเกณฑ์ ข้อบังคับบางอย่าง เกี่ยวกับการประกวด ของนักศึกษาได้ ส่วนจะออกในลักษณะไหน ก็แล้วแต่ว่าสถาบันนั้น ๆ มองเรื่องนี้อย่างไร อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้เป็นสิทธิส่วนบุคคล จะไปออกกฎเกณฑ์ห้ามก็คงไม่ได้ นอกจากสถาบันการศึกษา จะชี้ให้เห็นข้อดีข้อเสีย ของการไปประกวดเท่านั้น
    "คนที่เป็นนักศึกษา ควรทำตัวให้เหมาะสมกับ การเป็นนักศึกษา ไม่ว่าจะไปประกวด หรือจะทำอะไรก็ตาม คนเขาก็จ้องมองอยู่แล้วว่า เราจะประพฤติอย่างไร ก็ต้องระวังตัวมากขึ้น พยายามทำแต่ในสิ่งที่ดี อย่างน้อยเมื่อประกวดเสร็จ ก็ต้องกลับมา ใช้ชีวิตนักศึกษาตามปรกติ และที่ต้องระมัดระวังมากก็คือ อย่าให้ความฟุ้งเฟ้อ และลัทธิเอาอย่างติดตัวมา ไม่อย่างนั้นจะเอาตัวไม่รอด ส่วนพ่อแม่คงต้องคิดดูให้ดี ว่าจะสามารถกำกับ ดูแลให้ลูกของตน มีอนาคตข้างหน้าที่สดใสได้อย่างไร"

  อ่านฝ่ายสนับสนุน คลิกที่นี่
ชุลี ใจยงค์ หรือ "ป้าชุลี"
พี่เลี้ยงนางงาม

click hereอ่าน (ฝ่ายสนับสนุน) คลิกที่นี่

แล้วคุณล่ะ สนับสนุน หรือ คัดค้าน !


แ ส ด ง ค ว า ม คิ ด เ ห็ น เ พิ่ ม เ ติ ม

ชื่อ-สกุล: *
E-Mail:
แสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม: *
*

 

สนับสนุน หรือ คัดค้าน
นักศึกษากับ การประกวดนางงาม โอกาสที่ยั่งยืน หรือเย้ายวน

สิทธิคนไทย กับการดูหนังเรื่อง Anna and the King
สารบัญ | จากบรรณาธิการ | ย้อนรอย ๑๕ ปี สารคดี | อาชญากรเด็ก ? เหยื่อความรุนแรงในครอบครัว | กินอย่างคนภูเก็ต | ลาก่อน "พีนัตส์" | นักรบชายขอบ การต่อสู้ของชนกลุ่มน้อย ชายแดนไทย-พม่า | ซองคำถาม | เฮโลสาระพา
Soldiers at the Margins | Tracing Back 15 Years of Sarakadee

สำนักพิมพ์ สารคดี | สำนักพิมพ์ เมืองโบราณ | วารสาร เมืองโบราณ | นิตยสาร สารคดี
[ วิริยะบุคส์ | มีอะไรใหม่ | เช่าสไลด์ | ๑๐๘ ซองคำถาม | สมาชิก/สั่งซื้อหนังสือ | WallPaper ]

ขึ้นข้างบน (Back to Top) นิตยสาร สารคดี (Latest issue) E-mail