Click here to visit the Website

กลับไปหน้า สารบัญ

 รู้ ร้ อ ย แ ป ด
   พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในรัชกาลปัจจุบัน ทรงเป็นเอตทัคคะ ในศิลปะหลายสาขา เช่น ในด้านดุริยางคศิลป์ ก็เป็นที่ประจักษ์กันทั่วไป ทั้งใน และ นอกประเทศว่า ทรงดนตรีได้หลายชนิด และทรงพระราชนิพนธ์เพลง ไว้มาก (ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๘๙-๒๕๓๘ รวมได้ ๔๘ เพลง)

    เมื่อครั้งที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนิน เยือนสาธารณรัฐออสเตรีย อย่างเป็นทางการ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๗ วงดนตรีนีเดอร์ เออสเตอไรซ์ โทนคืนสเลอร์ ออร์เคสเตอร์ ได้อัญเชิญ เพลงพระราชนิพนธ์ชุด "มโนห์รา" "สายฝน" "ยามเย็น" "มาร์ชราชนาวิกโยธิน" และ "มาร์ชราชวัลลภ" ไปบรรเลง ณ คอนเสิร์ตฮอลล์ กรุงเวียนนา เมื่อวันที่ ๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๐๗ พร้อมกันนั้น สถานีวิทยุกระจายเสียง ของรัฐบาลออสเตรีย ได้ถ่ายทอด ส่งกระจายเสียง เพลงพระราชนิพนธ์ ไปทั่วประเทศ หลังจากนั้นสองวัน สถาบันการดนตรี และศิลปะการแสดง แห่งกรุงเวียนนา ซึ่งก่อตั้งมาแต่ปี พ.ศ. ๒๓๖๐ มีสมาชิกกิตติมศักดิ์เพียง ๒๒ ท่าน ได้ทูลเกล้าฯ ถวายปริญญาบัตร และสมาชิกกิตติมศักดิ์ ลำดับที่ ๒๓ แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระปรมาภิไธย ภูมิพลอดุลยเดช ปรากฏอยู่ใน แผ่นจำหลักหินของสถาบัน ทรงเป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์ ที่มีอายุน้อยที่สุด (พระชนมพรรษาเพียง ๓๗ พรรษา) และเป็นชาวเอเชีย แต่เพียงผู้เดียว ที่ได้รับเกียรติอันสูงนี้

คลิกเพื่อดูรูปใหญ่ (Click for bigger)     ในด้านทัศนศิลป์ (visual arts) ก็ปรากฏว่าทรงชำนาญ ทั้งในการถ่ายรูป และการเขียนสีน้ำมัน มีผลงานเป็นจำนวนมาก ทั้งยังโปรดทำงานด้วยฝีพระหัตถ์ ซึ่งเป็นที่รู้กันแพร่หลายว่า เมื่อทรงว่างจาก พระราชกรณียกิจ ได้ทรงคิดสร้างแบบเรือใบ ขนาดเล็กขึ้น พระราชทานชื่อว่า ซูเปอร์มด อันเป็นเรือที่ เหมาะสำหรับผู้แข่งขัน ที่มีรูปร่างเล็ก มีน้ำหนักน้อย และทุ่นแรงการขนส่ง
    เท่าที่กล่าวมานี้ เป็นเพียงตัวอย่าง พอให้เห็นพระปรีชาสามารถ ในด้านศิลปะ อันเป็นปัจจัย ให้คณะกรรมการวัฒนธรรม แห่งชาติ สำนักงาน คณะกรรมการ วัฒนธรรมแห่งชาติ ได้มีมติให้ คิดหาพระราชสมัญญา อันเป็นพระคุณนามพิเศษถวาย ได้มีผู้คิดหลายชื่อด้วยกัน ในที่สุดอาจารย์ภาวาส บุนนาค ได้เสนอว่าควรใช้ "อัครศิลปิน" เพราะเป็นคำสั้น ๆ แต่ความหมายเหมาะสมกับ คติประเพณีที่ถือว่า พระมหากษัตริย์ ประกอบด้วย พระมหิมานุภาพ เหนือศิลปินทั้งหลาย คำว่า "อัครศิลปิน" แปลตามศัพท์ว่า ผู้มีศิลปะอันเลอเลิศ หรือจะหมายเอาว่า ผู้เป็นใหญ่ในศิลปิน ก็น่าจะได้ เพราะ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว นอกจากจะทรงเป็นเลิศ ในศิลปะทั้งปวงแล้ว ยังทรงมีคุณูปการ ได้อุปถัมภ์ศิลปินทั้งหลายมาโดยตลอด
    ครั้นถึงวันจันทร์ที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๒๙ อันเป็นวันศิลปินแห่งชาติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จออก ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชทาน พระบรมราชวโรกาสให้ นายสัมพันธ์ ทองสมัคร รัฐมนตรีช่วย ว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท กราบบังคมทูล สดุดีพระเกียรติคุณ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย โล่ทองคำ ซึ่งมีคำจารึกดังต่อไปนี้
คลิกเพื่อดูรูปใหญ่ (Click for bigger)

พระบาทสมเด็จ พระปรมินทรมหา ภูมิพลอดุลยเดช สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร ทรงเป็นเลิศ ในศิลปะทั้งปวง คณะกรรมการ วัฒนธรรมแห่งชาติ ขอพระราชทาน น้อมเกล้า น้อมกระหม่อม ถวายพระราชสมัญญา "อัครศิลปิน"
ณ วันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ พระพุทธศักราช ๒๕๒๙
ข้าพระพุทธเจ้า
ชวน หลีกภัย
(นายชวน หลีกภัย)
รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงศึกษาธิการ
ประธานกรรมการ วัฒนธรรมแห่งชาติ

คลิกเพื่อดูรูปใหญ่ (Click for bigger)    ต่อจากนั้น นายสมาน แสงมะลิ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมด้วย คณะกรรมการวัฒนธรรม แห่งชาติ นำศิลปินแห่งชาติ สาขาต่าง ๆ สี่สาขา เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท รับพระราชทานโล่ และ เข็มเชิดชูเกียรติตามลำดับ คือ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช ศิลปินแห่งชาติสาขาวรรณศิลป์ นายมนตรี ตราโมท ศิลปินแห่งชาติสาขาดนตรีไทย ท่านผู้หญิงแผ้ว สนิทวงศ์เสนี ศิลปินแห่งชาติสาขานาฏศิลป์ และนายเฟื้อ หริพิทักษ์ ศิลปินแห่งชาติสาขาทัศนศิลป์
สนับสนุน หรือ คัดค้าน นกปรอดหัวโขน   เสียงขับขาน จากกรงเลี้ยง
เมื่อวิทยานิพนธ์ ถูกบังคับ ให้เขียน เป็นภาษาอังกฤษ
การแปลงพันธุกรรม GMOs
สารบัญ | จากบรรณาธิการ | อัครศิลปิน | "ความจริง" ของปัญหา คนกับป่า ที่จอมทอง
หกรอบพระชนมพรรษา | ซองคำถาม | เฮโลสาระพา
In a Changing World: Seventy-two Years as King of the People
A Bright Diary from Khao Nampu | Dung Beetles: Sculptors on the Ground

สำนักพิมพ์ สารคดี | สำนักพิมพ์ เมืองโบราณ | วารสาร เมืองโบราณ | นิตยสาร สารคดี
[ วิริยะบุคส์ | มีอะไรใหม่ | เช่าสไลด์ | ๑๐๘ ซองคำถาม | สมาชิก/สั่งซื้อหนังสือ | WallPaper ]

ขึ้นข้างบน (Back to Top) นิตยสาร สารคดี (Latest issue) E-mail