โลกใบใหญ่ |
โลกใบเล็ก |
|
-โรคคลั่งอินเทอร์เน็ต
- อาหารเรตเอกซ์ |
อ่านเอาเรื่อง |
|
นกปรอดหัวโขน
เสียงขับขาน จากกรงเลี้ยง |
สัตว์-พรรณพืช |
|
-นกชนิดใหม่
ของเมืองไทย |
วิชาการ |
|
-มุมมองใหม่
คนชายขอบ ไทยพม่า |
สิ่งแวดล้อม |
|
"ความจริง"
ของปัญหา คนกับป่า ที่จอมทอง |
พิพิธภัณฑ์ |
|
มัคคุเทศก์รุ่นจิ๋ว
แห่งพิพิธภัณฑ์จันเสน |
อาหาร
และโภชนาการ |
|
-
ปลาร้าไทยไปนอก |
พิพิธภัณฑ์ |
|
- บ้าน ๑๐๐ อัน
๑๐๐๐ อย่าง พิพิธภัณฑ์ไม้ (เก่า)
แกะสลักแห่งล้านนา |
สัตว์-พรรณพืช |
|
- งดซื้ออาหาร
เลี้ยงช้าง มาตรการ แก้ปัญหา
ช้างเร่ร่อน |
ที่นี่มีอะไร |
โลกบันเทิง |
คนกับหนังสือ |
|
-การวิจักษ์
กวีนิพนธ์ ในแนว ผัสสนิยม |
ดนตรี |
|
- หลักไมล์
ในเส้นทาง ดนตรีร็อก (๕) |
โลกธรรมชาติ
และวิทยาการ |
คลื่นวิทย์-เทคโนฯ |
|
-
มหัศจรรย์แห่งชีวิต (๒๗) |
ส่องจักรวาล |
|
- เส้นทางสู่
ความรู้เรื่อง เอกภพ (๖)ระยะทาง
สู่ดวงดาว ตอนที่ ๓ |
|
|
"โลกรับรู้ ไทม์ เชิดชูในหลวง
อุทิศพระองค์ เพื่อทวยราษฎร์"
นี่คือ ข่าวพาดหัว
ที่ปรากฏบน หน้าหนังสือพิมพ์ไทย
หลายฉบับ เมื่อต้นเดือนธันวาคม
๒๕๔๒ หนังสือพิมพ์ไทย
ยังได้นำข้อความ
ในนิตยสารระดับโลก
มาถ่ายทอดแก่ผู้อ่าน
ชาวไทยอย่างละเอียด
ความตอนหนึ่งกล่าวว่า
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ไม่เพียงแต่ทรงเป็นกษัตริย์
ที่ครองราชย์ ยาวนานที่สุด
ในบรรดากษัตริย์
ที่ยังทรงพระชนม์ชีพอยู่
แต่ยังทรงเป็นกษัตริย์
ที่ทวนกระแสมัวหมอง
และถดถอยความนิยม
ที่เกิดขึ้นกับราชวงศ์ต่าง ๆ
ทั่วโลกอีกด้วย ในประเทศไทยนั้น
แทบจะทุกหลังคาเรือน ล้วนแต่มี
พระบรมฉายาลักษณ์
ของพระองค์ไว้บูชา
ไม่กี่วันก่อนหน้า
เอเชียวีก ก็ตีพิมพ์
พระบรมฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัว เป็นภาพหน้าปก
และตีพิมพ์บทความ
ตอนหนึ่งที่กล่าวว่า
นับแต่เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ
พระองค์ เสด็จไปทุกซอกทุกมุม
ของประเทศ ย่ำพระบาท
ไปทุกผืนแผ่นดิน
มีพระราชปฏิสันถาร
กับพสกนิกรนับไม่ถ้วน "เมื่อต้นทศวรรษ
๑๙๖๐ จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์
ผู้ปกครองเผด็จการ
เคยสรุปรวมเสาหลัก
แห่งบ้านเมืองเอาไว้
ในรูปพีระมิด ซึ่งประกอบด้วย
สถาบันพระมหากษัตริย์
ที่เทิดทูนไว้สูงสุด
รองลงมาคือศาสนา
และต่อด้วยคนไทยทั้งชาติ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
มีพระกระแสรับสั่ง
ไว้ครั้งหนึ่งว่า มีมากครั้ง
ที่ทรงรู้สึกประหนึ่งว่า
พีระมิดดังกล่าวนั้น กลับหัว
โดยที่ปัญหาทั้งหลาย ของปวงชน
กดทับลงบนบ่า ของพระองค์"
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เสด็จพระราชสมภพ เมื่อวันที่ ๕
ธันวาคม ๒๔๗๐
ที่มลรัฐแมสซาชูเซตส์
สหรัฐอเมริกา เสด็จเถลิงถวัลย
ราชสมบัติ ขณะมีพระชนมพรรษา ๑๙
พรรษา ภายหลังเหตุการณ์ สวรรคต
โดยมิคาดฝัน ของพระเชษฐา --
พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว
อานันทมหิดล
ห้าสิบสามปี นับจากวันที่
๙ มิถุนายน ๒๔๘๙ ที่เสด็จ
เถลิงถวัลยราชสมบัติ
เป็นพระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ ๙
แห่งบรมราชจักรีวงศ์
ทรงอุทิศพระองค์
เพื่ออาณาประชาราษฎร์
อยู่ตลอดเวลา อย่างมิต้องสงสัย
เพราะทรงมี พระราชปรารภ
กับพระองค์เองว่า เมื่อต้องเป็น
พระราชา ก็ต้องเป็นพระราชา ตลอด ๒๔ ชั่วโมง
นายอานันท์ ปันยารชุน
อดีตนายกรัฐมนตรี
ของไทยให้สัมภาษณ์ว่า
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นที่รัก เทิดทูน
ของพสกนิกรชาวไทย ไม่เสื่อมคลาย
ทรงมีพระปรีชาอย่างมาก
ในการปรับเปลี่ยน
พระองค์ให้เข้ากับยุคสมัย
พระองค์ไม่เพียงแต่
ทรงเป็นศูนย์รวมจิตใจ
ของคนทั้งชาติเท่านั้น
แต่ยังทรงเป็น เสมือน
ผู้คอยปกปักรักษา
และส่งเสริมให้สังคมไทย
มีแต่ความร่มเย็นเป็นสุข
และมีเสถียรภาพด้วย
ในวโรกาสมหามงคล
ทรงเจริญพระชนมพรรษา ครบหกรอบ
ขอทรงพระเจริญ ยิ่งยืนนาน
|
|
แมงกุดจี่
ประติมากรบนกองมูล ในธรรมชาติ
ไม่มีอะไร ไร้ประโยชน์ ... แม้แต่
ขี้ควาย กองหนึ่ง
ในหมู่พวกที่
สนับสนุนความคิดนี้ มีแมงกุดจี่
เป็นแถวหน้า
สำหรับคน ขี้ควายนับเป็น
ปุ๋ยชั้นดี แต่สำหรับ
แมงกุดจี่แล้ว ขี้ควาย
มีค่ากว่านั้นมาก
และไม่เพียงขี้ควาย แต่ขี้วัว
ขี้ม้า ขี้หมู ขี้แพะ ฯลฯ
ล้วนสำคัญต่อ
ชีวิตเจ้าแมงตัวเล็ก
ท่าทางแข็งขันชนิดนี้
เพราะมูลสัตว์ เป็นทั้งอาหาร
บ้าน และวัสดุสำคัญ ที่มันจะนำมา
ปั้น เป็นก้อนกลมดิก
ใหญ่กว่าตัวมัน สองสามเท่า
เพื่อใช้เป็นเสบียง
แก่ลูกน้อยของมัน
นักเขียนของเรา อุทิศตน
ตามกลิ่นตุ ๆ ของกองมูล
เพื่อถ่ายทอดชีวิตอันน่าทึ่ง
ของแมลงนักปั้น
แด่ผู้อ่านโดยเฉพาะ
|
|
บันทึกอันแจ่มจรัส
จากเขาน้ำพุ
ดวงตา ช่วยให้เรามองเห็น แต่นั่น
ไม่ได้แปลว่า
เฉพาะคนที่มีดวงตาเท่านั้น
จึงจะเห็นโลกได้ ... เด็ก ๆ
จากโรงเรียน สอนคนตาบอด กรุงเทพฯ
พิสูจน์ให้เราเห็น
ความจริงข้อนี้
การเข้าค่ายเดินป่า
ศึกษาธรรมชาติ
อาจเป็นเรื่องที่เด็ก ๆ ๓๐
คนจากโรงเรียนแห่งนี้
และอาจรวมถึง คนตาบอด
อีกจำนวนมาก ไม่เคยนึกฝันว่า
จะมีโอกาสได้สัมผัส
หากเมื่อโอกาสมาถึง
พวกเขาก็ไม่ปล่อยให้มัน
ล่วงผ่านไป อย่างเปล่าดาย
สำหรับพวกเขา
เส้นทางศึกษาธรรมชาติ
ที่เขาน้ำพุ
ไม่ได้มีเพียงป่าไผ่ ที่คนซึ่ง
สัมผัสโลกด้วยตา
อยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน เคยคุ้น
จนเห็นเป็นธรรมดา
แต่ยังมีกลิ่นไอหอมของผืนป่า
เสียงลมไล้ยอดไผ่
ผืนดินนุ่มชื้น
และความเย็นฉ่ำชื่น ของสายน้ำ
ที่เขาจะเก็บรับเป็น ความทรงจำ
อันงดงามของชีวิต
ที่สำคัญ
สัมผัสอันน่าประทับใจ ของพวกเขา
ยังบอกเราด้วยว่า
หลายสิ่งหลายอย่างในโลก
ไม่อาจรับรู้ได้ด้วยตาเพียงอย่างเดียว
|
|
เจ็ดสิบสองพรรษาในหลวงของเรา ๕ ธันวาคม
พุทธศักราช ๒๕๔๒ ปีเถาะนักษัตร
"ในหลวง" ของชาวไทย
ทรงเจริญพระชนมพรรษา บรรจบหกรอบ
ตามโบราณราชประเพณี และวัฒนธรรม
ถือว่าเป็น มหามงคล
อันประเสริฐยิ่ง
ในวาระสำคัญเช่นนี้ จึงปรากฏ
งานเฉลิมฉลอง และโครงการ
อันเป็นประโยชน์ มากมาย
ที่จัดขึ้นเพื่อ แสดงความ
จงรักภักดี และสำนึกใน
พระมหากรุณาธิคุณ
เป็นอเนกอนันต์
เนื่องในวโรกาสที่
ทรงเจริญพระชนมพรรษา ครบหกรอบ
สารคดี ขอแสดงความจงรักภักดี
ด้วยการเสนอ สารคดีภาพ
พระราชประวัติ
และพระราชกรณียกิจ
ของพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว
โดยละเอียด และบทความพิเศษ
ที่รวบรวม พระราชกรณียกิจ
ในแต่ละรอบ พระชนมายุ
เปรียบเทียบกับ
ความเปลี่ยนแปลงโดยรวม
ของสังคมโลก ตลอดจน จดหมายเหตุ ๗๒
ปี ที่แสดงให้เห็นว่า
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรง
"ครองแผ่นดิน โดยธรรม
เพื่อประโยชน์สุขแห่ง มหาชน
ชาวสยาม" สมดังพระปฐม
บรมราชโองการ ที่พระราชทาน
ให้ไว้แก่ พสกนิกรชาวไทย เมื่อ ๔๙
ปีก่อน
อ่านต่อคลิกที่นี่ |
|
|
Special Attractions
Cover: A photograph of His Majesty King
Bhumibol Adulyadej taken around 1950 or 1951, about the time of his coronation. In a Changing World: Seventy-two Years as
King of the People
In the mournful and confused atmosphere
of a nation that had just lost young King Rama VIII in 1946, the younger newly-named King
Rama IX heard a grievous voice shouting alongside his car as it headed toward the airport,
taking him back to finish his studies in Switzerland: "don't abandon the
people!" Then, there wasn't time to reply, but 53 years later, royal projects started
and maintained since then show that the desperate plea did not go unheard.
Continue: click here
|
|
A
Bright Diary from Khao Nampu
Story by Jira Bunprasop
Photos by Krisakorn Wongkornwut
Shouts, singing, laughter, questions and jokes echoing around the Huay Sadong waterfall
that afternoon could have belonged to any group of kids, but that day was different. The
young people splashing in the water could hear its rush, feel its coolness, smell its
earthy smell and taste its freshness, but only a few could see it, dimly at best. How much
can blind children appreciate on a nature trail? How much do we miss relying simply on our
usual ability to see?
Continue: click here
|
|
Dung Beetles: Sculptors on the Ground
Story by Wandee Suntivutimetee
Photos by Chaichana Jaruwannakorn
Some time ago, my north-eastern neighbor went home to Sakon Nakhon for a visit and
returned with several dozen dirt balls the size of a fist. Curious, I had asked her what
they were. "Buffalo dung," she said. "There are kudjee beetles
inside." That wasn't much help. My wonder and puzzlement at these beetles so tasty
the woman couldn't wait to cook them increased, and was never satisfied until last summer,
in Khon Kaen Province, at a mound of buffalo dung.
Continue:
click here |
|