|
|
"ความจริง"
ของปัญหาคนกับป่าที่จอมทอง บนสันเขาสูง
๑,๔๐๐
เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง
ทางด้านใต้ของเทือกเขาอินทนนท์
ในเขตอุทยานแห่งชาติออบหลวง อ.
จอมทอง จ. เชียงใหม่
เป็นที่ตั้งของหมู่บ้านป่ากล้วย
ซึ่งมีชาวม้งอาศัยอยู่ ๘๑๐ คน ๙๖
หลังคาเรือน
ป้าย "ไม่สู้ ไม่หนี ทำดีต่อไป
คือหัวใจหลักอหิงสา", "We are the
world...โลกทั้งผองพี่น้องกัน",
"ใช้ความสงบสยบความเคลื่อนไหว"
ที่ปักไว้ตรงทางเข้าหมู่บ้าน
ผืนจีวรที่พันรอบต้นไม้ใหญ่
ซึ่งเป็นร่องรอยของพิธีบวชป่า
รวมทั้งรั้วลวดหนามสีธงชาติ
ที่อยู่ตามแนวป่า
เป็นสิ่งแปลกปลอม
ที่บอกให้รู้ว่า
เรื่องราวความขัดแย้ง
กำลังเกิดขึ้นที่นี่
|
ไร่กะหล่ำปลี
ของชาวม้งบ้านป่ากล้วย
ในเขตอุทยานแห่งชาติ ออบหลวง อ.
จอมทอง จ. เชียงใหม่
ที่ทำให้พวกเขา ตกเป็นจำเลย
ในข้อหาบุกรุก ทำลายป่าต้นน้ำ
|
|
การลงพื้นที่ของชมรมผู้สื่อข่าวสิ่งแวดล้อม
สมาคมนักข่าว ระหว่างวันที่ ๑๐-๑๒
พฤศจิกายน ๒๕๔๒ ในหัวข้อ "การจัดการทรัพยากร
พื้นที่ต้นน้ำ : ศึกษาเฉพาะกรณี
เขตพื้นที่ต้นน้ำจอมทอง"
เป็นอีกความพยายามหนึ่ง
ในการทำความเข้าใจ
ปัญหาที่คุกรุ่นมานานนับปี
โดยผู้ที่มีส่วน
ในความขัดแย้งนี้
มีทั้งชาวเขาเผ่าม้ง
และกะเหรี่ยง
ที่อยู่ในพื้นที่ป่าต้นน้ำ
ซึ่งตกเป็นจำเลย
ในข้อหาบุกรุกทำลายป่า,
ชาวบ้านในเขตพื้นราบ
ที่รวมตัวกันเป็น "ชมรมอนุรักษ์ป่าต้นน้ำ
และสิ่งแวดล้อมจอมทอง"
ซึ่งเดือดร้อน จากการขาดแคลนน้ำ
ทำการเกษตรในฤดูแล้ง ที่นา/
สวนถูกน้ำท่วม และระบบเหมืองฝาย
พังทลายจากดินทราย
ที่ถูกพัดพามาทับถม
ในฤดูน้ำหลาก, มูลนิธิธรรมนาถ
ซึ่งเป็นหน่วยงานภาคเอกชน
ที่มีกิจกรรมด้านการอนุรักษ์
และปลูกป่า ในพื้นที่เดียวกัน,
เครือข่ายเกษตรกรภาคเหนือ (คกน.)
องค์กรพัฒนาเอกชน
ที่คัดค้านการอพยพชาวเขา
ออกจากพื้นที่เดิม
และเห็นว่าพื้นที่ป่าลดลง
เนื่องมาจากหลายสาเหตุ
ไม่ควรโทษ
ชาวเขาเพียงกลุ่มเดียว,
เจ้าหน้าที่ป่าไม้ เขตเชียงใหม่
ข้าราชการ
และนักการเมืองท้องถิ่น
ซึ่งแต่ละฝ่าย ต่างก็มี "ความจริง"
ที่แตกต่างกันไป
และอาจเป็นด้วยเหตุนี้เอง
ประพัฒน์ เรืองคำฟู
ประธานชมรมอนุรักษ์ฯ จอมทอง
จึงท้าทายว่า "ถ้าแก้ปัญหาที่จอมทองได้สำเร็จ
ก็แก้ปัญหา การจัดการป่าไม้
ทั่วประเทศได้"
ครึ่งวันแรก
ของการลงพื้นที่
ตัวแทนจากชมรมอนุรักษ์ฯ จอมทอง
ร่วมกับเจ้าหน้าที่
จากมูลนิธิธรรมนาถ พาไปดูที่นา
และสวน ในตำบลสบเตี๊ยะ
ซึ่งถูกน้ำท่วมเสียหาย
ห้วยแม่เตี๊ยะ
ซึ่งเป็นสายน้ำใหญ่ ของชุมชน
มีดินทรายทับถม จนตื้นเขิน
ความเสียหายรุนแรงขึ้น
ตั้งแต่ปี ๒๕๔๐ เป็นต้นมา
ชาวบ้านบอกว่า ปัญหาทั้งหมดนี้
เกิดขึ้นเพราะ ชาวเขาบุกรุก
ทำลายป่าต้นน้ำ โดยเฉพาะ
ชาวม้งบ้านป่ากล้วย
ซึ่งตั้งหมู่บ้าน และมีที่ทำกิน
อยู่บริเวณป่าแม่สอย
ซึ่งเป็นต้นน้ำแม่เตี๊ยะ
ในช่วงหน้าแล้ง น้ำไม่พอใช้
เพราะบ้านป่ากล้วย ดึงน้ำไปใช้
ในการทำไร่กะหล่ำปลี ส่วนหน้าฝน
น้ำจะไหลบ่ามาอย่างแรง
เนื่องจากไม่มีป่า
ที่ช่วยชะลอกระแสน้ำ
และยับยั้งการพังทลายของหน้าดิน
นอกจากนี้ น้ำในห้วย ยังเป็นพิษ
เพราะชาวเขาใช้สารเคมี
ในปริมาณมาก
ประธานชมรมอนุรักษ์ฯ
จอมทอง ให้ข้อมูลว่า
ขณะนี้มีชาวเขาเผ่าม้ง
และกะเหรี่ยง กระจัดกระจาย
อยู่ในอุทยานแห่งชาติออบหลวง
และดอยอินทนนท์
รวมทั้งเขตป่าสงวนจอมทอง ๒๙
หมู่บ้าน ประมาณ ๒ หมื่นคน
จากข้อมูลของกรมพัฒนาที่ดินที่ทำการสำรวจเมื่อปี
๒๕๓๕ พบว่า อำเภอจอมทอง
มีชุมชนบนที่สูง จำนวน ๖๐
กลุ่มบ้าน โดย ๑๗ กลุ่มบ้าน
มีการจัดตั้งหมู่บ้านถาวร
และมี ๔
กลุ่มบ้านอยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำชั้น
๑
"ความจริง"
ของชาวสบเตี๊ยะ
ได้รับการสนับสนุน
จากมูลนิธิธรรมนาถ
ซึ่งเป็นองค์กรที่มีจุดยืนว่า
ไม่ควรมีมนุษย์
อาศัยอยู่บนต้นน้ำ
และควรโยกย้ายชาวเขา
ที่อยู่ในป่าต้นน้ำ
ให้ลงมาอยู่พื้นราบ
รายงานของมูลนิธิฯ ระบุว่า "ป่าต้นน้ำ
ถูกชาวม้งบ้านป่ากล้วย
โค่นแล้วเผา
เพื่อทำไร่เลื่อนลอย
ติดต่อกันมากว่า ๑๐ ปี (๒๕๑๘-๒๕๒๘)
ทำให้ผืนป่าต้นน้ำแม่สอย
ถูกทำลายไปกว่า ๘๐ เปอร์เซ็นต์
กลายเป็นภูเขาหัวโล้น ป่าหญ้าคา
และดงสาบเสือ"
ช่วงบ่าย ไวยิ่ง ทองบือ
ชาวปกาเกอะญอ จากบ้านส้มป่อย
ซึ่งประสบชะตากรรม
เดียวกับชาวม้งบ้านป่ากล้วย
นั่นคือตกเป็นจำเลย
ของการทำลายป่าต้นน้ำ
พ่อหลวงไก่ แซ่ยะ
ผู้ใหญ่บ้านป่ากล้วย และสมชัย
ศิริชัย
ประธานเครือข่ายเกษตรกรภาคเหนือ
รออยู่ที่หมู่บ้านป่ากล้วย
ระยะทางขึ้นดอย ๑๖ กิโลเมตร
ใช้เวลาถึงเกือบสองชั่วโมง
พ่อหลวงไก่
ชี้ให้ดูที่ทำกินของชาวบ้าน
ซึ่งมีประมาณ ๙๘๐ ไร่
(รวมส่วนที่เป็นพื้นที่ป่า
ไม่ได้นับเฉพาะบริเวณที่มีการเปิดหน้าดิน
เพื่อปลูกพืช)
ซึ่งมีทั้งส่วนที่เป็นป่า
ไร่ข้าว ไร่กะหล่ำปลี
และสวนผลไม้เมืองหนาว
ที่เพิ่งเริ่มปลูกไม่นานนัก
พ่อหลวงอธิบายว่า
ชาวบ้านปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตไป
ตามการส่งเสริม ของหน่วยงานต่าง
ๆ จากปลูกฝิ่น มาปลูกพืชเศรษฐกิจ
คือ กะหล่ำปลี และมันฝรั่ง
ปัจจุบันหันมาปลูกผลไม้เมืองหนาว
เพราะเห็นว่า ไม่ต้องใช้สารเคมี
และไม่ทำลายดิน
สามารถปลูกในที่เดิมได้หลายครั้ง
ชาวบ้านที่ยังคงปลูกกะหล่ำปลี
มีเพียงส่วนน้อย ส่วนน้ำที่ใช้
ก็ต่อท่อมาจากลำห้วยเล็ก ๆ
ไม่กี่สาย พ่อหลวงยืนยันว่า
ชาวม้งไม่ได้ใช้น้ำมากมาย
อย่างที่ถูกกล่าวหา
และสถานการณ์น้ำท่วม
น้ำแล้งนั้น ก็เป็นเรื่องของ
ฤดูกาลตามธรรมชาติ เช่น
ในปีนี้ฝนตกมาก
น้ำก็มากเป็นธรรมดา
"ผมเน้นกับชาวบ้านว่า
ไม่ให้ขยายที่ทำกิน
ให้ทำอยู่ที่เดิม
ถ้าใครไม่ทำตาม
จะแจ้งเจ้าหน้าที่บ้านเมืองให้มาจับ
เพราะเราไม่อยากมีปัญหากับคนอื่น
เมื่อก่อนยอมรับว่า ไร่กะหล่ำ
ทำให้ต้องบุกรุกพื้นที่ป่า
แต่เดี๋ยวนี้
เราเปลี่ยนแปลงไปแล้ว
เราปลูกไม้ยืนต้น ประมาณ ๘๐
เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ทำกิน
และจากที่เคยใช้ปุ๋ยเคมี
เราก็เปลี่ยนมาใช้ปุ๋ยคอก
เรารู้แล้วว่า
ปุ๋ยเคมีทำให้ดินเสีย
ใช้ทีเดียว
แล้วปลูกอะไรไม่ได้อีกเลย |
เกษตรกร ในเขตพื้นราบ
อ. จอมทอง เชื่อว่าน้ำที่หลาก
เข้าท่วมสวน
และที่นาเสียหายนั้น เป็นผลจาก
การที่ชาวเขา บุกรุกทำลายป่า |
|
"ความจริงก็คือ
เราไม่ได้ถางป่า จนเป็นทะเลทราย
เป็นดอยโล้น ๆ อย่างที่เขาพูดกัน
หมู่บ้านเรา รับกระแสต่าง ๆ
จากข้างนอกเร็วมาก
รวมทั้งการอนุรักษ์ด้วย
ต่อไปนี้เรามั่นใจว่า
จะไม่มีการบุกรุกป่า
เพิ่มอีกแล้ว"
เวทีที่จัดให้ฝ่ายต่าง ๆ
มาชี้แจง และรับฟังข้อเท็จจริง
ถูกจัดขึ้น ที่ที่ทำการ
อุทยานแห่งชาติ ดอยอินทนนท์
ในวันรุ่งขึ้น
บุญชนะ กลั่นคำสอน
ป่าไม้เขตเชียงใหม่ ชี้แจงว่า
เมื่อปี ๒๕๓๒ คณะรัฐมนตรี
สมัยนายชาติชาย ชุณหะวัณ
เป็นนายกรัฐมนตรี มีมต
ิให้ย้ายชาวเขา
ที่อาศัยในเขตอุทยานแห่งชาติ
ดอยอินทนนท์ อุทยานแห่งชาติ
ออบหลวง และเขตป่าสงวนจอมทอง
ลงมา แต่เมื่อหาพื้นที่
ที่เหมาะสมไม่ได้
ก็ไม่มีการดำเนินงานใด ๆ ต่อ
ป่าไม้เขตกล่าวว่า
นโยบายของกรมป่าไม้ ในขณะนี้
มีแนวโน้มว่า
จะให้ชาวเขาอยู่ที่เดิม
โดยมีการจัดการที่ดี
อยู่อย่างมีเงื่อนไข
มีเจ้าหน้าที่ป่าไม้
เข้าไปร่วมจัดระบบระเบียบต่าง ๆ
เขาเชื่อว่า แนวทางนี้
จะทำให้ชาวบ้าน มีที่อยู่
และกรมป่าไม้ ก็รักษาป่าไว้ได้
ปฏิเสธไม่ได้ว่า
สาเหตุหนึ่ง
ที่ทำให้ความขัดแย้ง
เรื่องคนกับป่าที่จอมทอง
ซับซ้อนขึ้น ก็คือมีองค์กรอื่น ๆ
ที่เข้ามาทำงาน ในพื้นที่นี้
แม้แต่ สองขั้วของความขัดแย้ง
คือ ชาวเขา และเกษตรกรพื้นราบ
ซึ่งส่วนใหญ่ ทำสวนลำไย
และปลูกข้าว
ก็มีข้อเรียกร้องตรงกันว่า
ชาวบ้านน่าจะมาคุยกันเอง
โดยไม่ต้องมีคนนอก
เข้ามาเกี่ยวข้อง
"คนนอก"
ในที่นี้คือมูลนิธิธรรมนาถ
และเครือข่ายเกษตรกรภาคเหนือ
(คกน.)
มูลนิธิธรรมนาถ
เริ่มดำเนินงานมาตั้งแต่ปี ๒๕๒๖
โดยพระอาจารย์พงษ์ศักดิ์
เตชธมโม
ซึ่งธุดงค์ผ่านไปในเขตป่าต้นน้ำแม่สอย
อ. จอมทอง พบว่า ป่าถูกทำลายไปมาก
จากการปลูกพืชของชาวเขา
จึงตั้งใจจะฟื้นฟูป่า
ในบริเวณนี้ขึ้น
งบประมาณส่วนใหญ่
ได้จากการบริจาคของ ม.ร.ว.
สมานสนิท สวัสดิวัตน์
กิจกรรมที่น่าจะเป็นจุดเริ่มต้น
ของความขัดแย้ง ก็คือ
การล้อมรั้วลวดหนาม
กันเขตบริเวณป่าต้นน้ำแม่สอย
เพื่อป้องกัน ไม่ให้มีการบุกรุก
นอกจากนี้ ทางมูลนิธิฯ
กับชาวบ้านเขตพื้นราบ
ยังยืนยันร่วมกันมาตลอดว่า
ควรย้ายชาวเขา
ออกไปจากเขตป่าต้นน้ำ
กิจกรรมหลัก ของมูลนิธิธรรมนาถ
ในขณะนี้คือ โครงการอนุรักษ์
และฟื้นฟูป่าลุ่มน้ำแม่สอย
แม่ทิม และแม่ป๊อก
โดยมีพื้นที่ปลูกป่า
ส่วนหนึ่งทับกับ
พื้นที่ทำกินของชาวม้งบ้านป่ากล้วย
ส่วน คกน.
เกี่ยวข้องในความขัดแย้งนี้
เนื่องจากหมู่บ้านป่ากล้วย
เป็นสมาชิกของ
เครือข่ายเกษตรกรภาคเหนือ
ซึ่งเป็นการรวมตัวกัน ของชาวเขา
และนักพัฒนาเอกชน
ที่ร่วมกันต่อสู้
เพื่อพิสูจน์ว่า ชาวเขา
สามารถอยู่ร่วมกับป่าได้
มีบทบาทเป็นผู้ประสาน
ให้ชาวบ้านจากที่ต่าง ๆ
มาแลกเปลี่ยน ประสบการณ์
ในการรักษาป่า คกน.
เคลื่อนไหวคัดค้าน
การอพยพชาวเขาลงจากที่สูง
มาตั้งแต่ปี ๒๕๓๗ เนื่องจากได้รับบทเรียน
อันเจ็บปวดจากความล้มเหลว
ในการอพยพคน
ออกจากป่าทั้งสองครั้ง
(ปี ๒๕๒๙ กรมป่าไม้อพยพชาวเย้า
มูเซอ และม้ง
ออกจากอุทยานแห่งชาติ คลองลาน
และอุทยานแห่งชาติ แม่วงก์
จังหวัดกำแพงเพชร ตาก
และนครสวรรค์, ปี ๒๕๓๗
อพยพชาวลัวะ เย้า และมูเซอ
ออกจากอุทยานแห่งชาติ ดอยหลวง
จังหวัดเชียงราย ลำปาง และพะเยา)
กล่าวคือ
ถึงวันนี้ชาวเขาที่ถูกอพยพมา
มีสภาพความเป็นอยู่
ที่เลวร้ายมาก ไม่มีอาชีพ
และที่ทำกิน เนื่องจากที่ดิน
ที่กรมป่าไม้จัดหาให้
นั้นเป็นดินลูกรัง
และไม่มีแหล่งน้ำ
ประธาน คกน.
บอกว่าในบรรดาชุมชนบนพื้นที่สูง
ร้อยกว่าหมู่บ้าน
ที่เป็นสมาชิกของ คกน.
บ้านป่ากล้วย "โดนหนักที่สุด"
เนื่องจากพื้นที่ทำกิน
ของชาวม้งบ้านป่ากล้วย
ถูกมูลนิธิธรรมนาถ ร่วมกับ
ชมรมอนุรักษ์ฯ จอมทอง แย่งชิงไป
เป็นพื้นที่ปลูกป่า
โดยมีการล้อมรั้วลวดหนาม
ไม่ให้ชาวบ้าน
เข้าไปใช้ประโยชน์
มีการก่อกวนชาวบ้าน
และสร้างกระแสว่า
จะมีการอพยพชาวบ้านป่ากล้วย
อยู่ตลอด
ทำให้ชาวบ้านวิตกกังวลมาก
แม้ว่าช่วงเวลานี้
จะไม่มีเหตุการณ์ตึงเครียด
อย่างเมื่อตอนที่ชมรมอนุรักษ์ฯ
จอมทองเผาหุ่น
และวางหรีดประท้วง
ห้านักวิชาการ
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เช่น ดร.
นิธิ เอียวศรีวงศ์ ดร. ชยันต์
วรรธนะภูติ ดร. ฉลาดชาย รมิตานนท์
เนื่องจากนักวิชาการเหล่านี้
สนับสนุนแนวคิดที่ว่า
คนอยู่ร่วมกับป่าได้,
การชุมนุมปิดถนนคัดค้าน
มติคณะรัฐมนตรี
ที่มีหลักการให้คนอาศัย
ในเขตป่าอนุรักษ์ได้ (มติ ครม.
ฉบับวันที่ ๑๗, ๒๒ และ ๒๙ เมษายน
๒๕๔๐ หรือที่เรียกกันว่า "มติ
ครม. วังน้ำเขียว") ตามด้วย
การปิดทางหลวงเชียงใหม่-
แม่สะเรียง และถนนอีกห้าสาย
ที่เป็นทางเข้าออกหมู่บ้าน
ของชาวเขา ในเขตอำเภอจอมทอง
ในเดือนพฤษภาคม ๒๕๔๑
ซึ่งนับเป็นการเผชิญหน้า
ระหว่างคนพื้นราบ กับชาวเขา
ที่รุนแรงที่สุดครั้งหนึ่ง
แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า
ปัญหาที่ ปกาเกอะญอ
คนหนึ่งสรุปสั้น ๆ แต่ชัดเจนว่า "ป่าน้อย คนนัก"
จะหมดไป ที่สำคัญก็คือ
ปัญหาทรัพยากรไม่เพียงพอ
กับความต้องการ
และความไม่เป็นธรรม
ในการแบ่งใช้ทรัพยากร
ซึ่งเป็นปัญหาที่แก้ยากที่สุดนี้
กำลังถูกบดบัง ด้วยสิ่งที่ อ.
มาร์ค ตามไท นักวิชาการ
ด้านสันติศึกษา จากจุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย
ซึ่งเป็นผู้สรุปประเด็น
การลงพื้นที่ในครั้งนี้
เรียกว่า "ปัญหารอง"
นั่นคือ การแบ่งพรรคหาพวก
สร้างภาพที่ดีให้ตัวเอง
โจมตีฝ่ายตรงข้าม
พยายามเอาชนะกัน
ซึ่งสังคมมักจะแยกไม่ออกว่า
อะไรคือปัญหาหลัก หรือปัญหารอง
ทำให้เสียเวลา
ไปกับการแก้ปัญหารอง
โดยที่ปัญหาหลัก
ไม่ได้รับการแก้ไข
อย่างที่เกิดขึ้นที่จอมทอง
ในขณะนี้
แม้ว่าทั้งปัญหาหลัก
และปัญหารอง
ที่เกิดขึ้นกับผืนป่า
และชุมชนที่จอมทอง
มาตลอดระยะเวลาสองปี จะคุกรุ่น
และดำเนินต่อไป
ราวกับหาทางออกไม่ได้
จนกลายเป็นกรณีตัวอย่าง
ของปัญหาการแย่งชิงทรัพยากร
และการจัดการป่า
ที่ได้รับการพูดถึงมากที่สุด
ในระยะหลัง แต่ อ. มาร์ค
ก็มองในแง่ดีว่า ปัญหาของที่นี่
ยังไม่เลวร้ายเกินไปนัก
เนื่องจากฝ่ายต่าง ๆ
มีโอกาสในการพูดคุยกันบ่อยครั้ง
อ. มาร์ค พบว่า
บางชุมชนบอบช้ำกว่านี้มาก
เพราะอยู่ไกลหูไกลตาสังคม
ไม่มีใครสนใจ
เข้ามาช่วยเป็นตัวกลาง
ในการคลี่คลายปัญหา
เหมือนกับที่จอมทอง
แต่สิ่งที่ควรระวังก็คือ
อย่าให้การพูดคุยกันนั้น
เป็นความพยายาม ในการหาพวก
ซึ่งจะนำไปสู่ การสร้างปัญหา
และความขัดแย้งใหม่ ๆ
ขึ้นมาไม่มีที่สิ้นสุด |