Click here to visit the Website

กลับไปหน้า สารบัญ จ า ก บ ร ร ณ า ธิ ก า ร
    ปลายเดือนพฤศจิกายน ที่ผ่านมา มีโอกาสได้ ไปเดินป่า เทือกเขาบูโด จังหวัดนราธิวาส กับ ดร. พิไล พูลสวัสดิ์ แห่งมหาวิทยาลัย มหิดล ผู้ใช้ชีวิตตลอด ๒๐ กว่าปี ที่ผ่านมา อยู่ในป่า มากกว่าในเมือง เพื่อศึกษาชีวิตนกเงือก อย่างใกล้ชิด การอุทิศตน ให้แก่การศึกษาเรื่อง นกเงือก ทำให้ชาวต่างชาติ บินมาทำ สารคดีชีวิตของท่าน ตีพิมพ์ลงในนิตยสาร National Geographic เมื่อเร็ว ๆ นี้
    สมัยก่อน หากมีคนชวนไป เทือกเขาบูโด คงไม่มีใคร ยอมเสี่ยงชีวิตไปด้วยแน่ เพราะเป็นดินแดน ของผู้ก่อการร้าย กลุ่มต่าง ๆ ไม่ว่าขบวนการพูโล กลุ่มโจรบูโด แม้แต่คนท้องถิ่นเอง ก็ยังขยาดที่จะขึ้นเขาบูโด เพราะเดินสุ่มสี่สุ่มห้า อาจจะเหยียบกับระเบิด ขาขาดโดยไม่รู้ตัว
    แต่ปัจจุบัน สถานการณ์เปลี่ยนไป เทือกเขาบูโด กลายเป็นส่วนหนึ่งของ อุทยานแห่งชาติ บูโด-สุไหงปาดี เป็นสถานที่ที่ นักท่องเที่ยว รู้จักดี เมื่อมีการค้นพบ พันธุ์ไม้ ชนิดใหม่ของโลก คือใบไม้สีทอง หรือที่เรียกกัน ในภาษายาวีว่า "ย่านดาโอ๊ะ" มีลักษณะเป็น ใบไม้สีทอง ที่เนียนนุ่ม ดุจกำมะหยี่ ผืนป่าบูโด ยังเป็นที่อยู่อาศัยของ นกเงือกหลายชนิด บางชนิด เช่น นกเงือกหัวหงอก นกชนหิน และนกเงือกปากดำ พบเฉพาะในป่า ทางภาคใต้เท่านั้น
    อาจารย์พิไล พาเราปีนเขา ขึ้นไปดูรังนกเงือกหัวหงอก ที่เจาะรูทำรัง อยู่บนต้นไม้ใหญ่ต้นหนึ่ง ตามปรกติ เมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์ นกเงือกจะแยกจากฝูง บินกลับมาอยู่รังเก่า ที่ต้นไม้เดิมของมัน นกเงือกตัวเมีย จะเข้าไปอยู่ในรัง และปิดโพรง เหลือเพียงช่องเล็ก ๆ เพื่อวางไข่ และเลี้ยงลูกนก โดยมีนกเงือกตัวผู้ บินออกไปจับงู จับเขียด หรือหาลูกไม้ต่าง ๆ เอามาป้อนให้ลูกเมีย
    จนกระทั่ง สี่ห้าเดือนผ่านไป เมื่อลูกนก ปีกกล้าขาแข็งหากินได้ แม่และลูก ก็จะออกจากรัง เพื่อไปรวมฝูงกับ นกเงือกตัวอื่น ๆ รอจนถึง ฤดูผสมพันธุ์ครั้งหน้า
    อาจารย์พิไล เล่าความในใจว่า แรงบันดาลใจ ที่ทำให้ศึกษานกเงือก มาค่อนชีวิตนั้น นอกจากเพราะ นกชนิดนี้ เป็นนกตัวใหญ่ ที่มีความสง่างามมากแล้ว ยังประทับใจความรัก และความซื่อสัตย์ ที่คู่นก มีต่อกัน ได้เห็นนกเงือกตัวผู้ ป้อนลูกไทร ให้นกเงือกตัวเมีย ด้วยความรัก เห็นความมานะของ นกเงือกตัวแม่ ที่ขังตัวเองในรัง เป็นเวลาหลายเดือน เพื่อเลี้ยงลูกให้ปลอดภัย
    ปริมาณนกเงือก ถือเป็นดัชนี ชี้ความอุดมสมบูรณ์ ของป่าดงดิบ เพราะนกเงือก ทำรังอยู่บนต้นไม้ขนาดใหญ่ มีความสูงหลายสิบเมตร หากป่าผืนใด ไม่มีต้นไม่ใหญ่เพียงพอ นกเงือก ก็คงหาที่ทำรังไม่ได้ อย่างแน่นอน นั่นแสดงว่า ป่าผืนนั้นกำลังเสื่อมโทรม
ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ๒๔๕๙-๒๕๔๒
ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ๒๔๕๙ - ๒๕๔๒
      เมื่อสี่ห้าปีก่อน ตอนที่อาจารย์พิไล มาศึกษาวิจัยนกเงือก ที่ป่าบูโดนั้น ท่านได้พบปัญหาใหญ่คือ ประชากรนกเงือก ลดจำนวนลง เพราะชาวบ้าน จับลูกนกเงือก มาขายให้แก่ พ่อค้าสัตว์ป่า และไม้ต้นใหญ่ ถูกลักลอบ ตัดออกจากป่ามากขึ้น
    ลูกนกเงือก ที่มีราคาตัวละ ๓,๐๐๐-๔,๐๐๐ บาทนั้น จูงใจชาวบ้านได้มากแน่ เมื่อเทียบกับ ค่าแรงที่ชาวบ้านได้จาก การกรีดยางวันละ ๕๐-๖๐ บาท
    ความยากจนของ ชาวบ้านรอบ ๆ ป่า เป็นสาเหตุสำคัญ ที่ทำให้ ชาวบ้าน ต้องไปจับลูกนกเงือกมาขาย และรับจ้างนายทุน ตัดไม้ชักลากไม้ในป่าลึก
    อาจารย์พิไล ซึ่งแต่เดิม ดูแลโครงการ ศึกษานกเงือก ที่เน้นเพียงการ ศึกษาวิจัยทางชีววิทยา และนิเวศวิทยา ก็ได้พบว่า การจะอนุรักษ์ ไม่ให้นกเงือกสูญพันธุ์นั้น นอกจากจะต้อง ดูแลป่า ไม่ให้ถูกทำลายแล้ว ยังต้องขจัดปัญหา ความยากจนของ ชาวบ้านรอบป่าด้วย
    คณะสำรวจนกเงือก ได้ชักชวนชาวบ้านรอบ ๆ ป่า และคนที่เคย ขโมยลูกนกเงือก ให้หันมาช่วยกัน อนุรักษ์นกเงือก และหารายได้เสริม ให้ชาวบ้านด้วยการ ว่าจ้างเป็น ผู้เก็บข้อมูลวิจัยนกเงือก นอกจากนี้ อาจารย์พิไลยังจัดทำ โครงการอุปการะ ครอบครัวนกเงือก ให้ชาวบ้านเป็นคนดูแล โดยขอบริจาคเงินจาก คนในเมือง หรือชนชั้นกลาง
    ในอนาคตโครงการฯ นี้ พยายามที่จะ เข้าไปสร้างงาน ในท้องถิ่น ไม่ว่า การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ การผลิตของที่ระลึกท้องถิ่น ที่พักในหมู่บ้าน ราคาประหยัด ฯลฯ เพื่อสร้างรายได้ ให้แก่ชาวบ้าน ชาวบ้านจะได้ไม่ต้อง ขโมยลูกนกเงือกมาขาย หรือรับจ้างตัดไม้อีกต่อไป
    เพราะคนที่จะรักษาป่า และสัตว์ป่า ได้ดีที่สุด ก็คือชาวบ้าน ที่อาศัยอยู่รอบ ๆ ป่านั่นเอง
ฉบับหน้า : จักรยาน การกลับมาของรถถีบ
ฉบับหน้า
จักรยาน การกลับมา ของรถถีบ
 

วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์
Vanchai@Sarakadee.com
vanchait@hotmail.com

หมายเหตุ : ผู้สนใจบริจาคเงิน เข้าโครงการอุปการะ ครอบครัวนกเงือก ติดต่อได้ที่
มูลนิธิ ศึกษาวิจัยนกเงือก โทร ๒๔๖-๐๐๖๓ ต่อ ๔๖๐๖

 

สนับสนุน หรือ คัดค้าน นกปรอดหัวโขน   เสียงขับขาน จากกรงเลี้ยง
เมื่อวิทยานิพนธ์ ถูกบังคับ ให้เขียน เป็นภาษาอังกฤษ
การแปลงพันธุกรรม GMOs
สารบัญ | จากบรรณาธิการ | อัครศิลปิน | "ความจริง" ของปัญหา คนกับป่า ที่จอมทอง
หกรอบพระชนมพรรษา | ซองคำถาม | เฮโลสาระพา
In a Changing World: Seventy-two Years as King of the People
A Bright Diary from Khao Nampu | Dung Beetles: Sculptors on the Ground


สำนักพิมพ์ สารคดี | สำนักพิมพ์ เมืองโบราณ | วารสาร เมืองโบราณ | นิตยสาร สารคดี
[ วิริยะบุคส์ | มีอะไรใหม่ | เช่าสไลด์ | ๑๐๘ ซองคำถาม | สมาชิก/สั่งซื้อหนังสือ | WallPaper ]

ขึ้นข้างบน (Back to Top) นิตยสาร สารคดี (Latest issue) E-mail