|
|
|
|
|
๑๐๐
ปีของสามัญชน นาม ปรีดี พนมยงค์ มีผู้กล่าวไว้ว่า
คนไทยที่อายุเกิน ครึ่งศตวรรษไปแล้ว
ย่อมจะได้รู้จักกับ ปรีดี
พยมยงค์ ในหลายรูปแบบ
และแน่นอนที่ว่า
ไม่มีรูปแบบใดเลยที่เป็นไป
เพื่อความเสื่อมเสียของสังคม
และประเทศชาติ
|
|
|
ตลอดช่วงชีวิตอันยาวนานกว่า ๘๐
ปี นายปรีดี พนมยงค์ ดำรงตำแหน่ง
และสถานะอันหลากหลาย
นับตั้งแต่ ผู้ก่อการคนสำคัญ ของคณะราษฎร
ที่ทำการอภิวัฒน์ เปลี่ยนแปลงการปกครอง
เมื่อปี ๒๔๗๕,
ผู้ประศาสน์การมหาวิทยาลัย
วิชาธรรมศาสตร์ และการเมือง,
ผู้สำเร็จราชการ แทนพระองค์
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล
จนได้รับยกย่อง
ให้เป็น รัฐบุรุษอาวุโส,
หัวหน้าขบวนการเสรีไทย
ผู้ปลดแอกสยาม
จากการเป็น ประเทศผู้แพ้สงคราม,
รัฐมนตรีว่าการ และนายกรัฐมนตรี
ฯลฯ ทว่าถึงที่สุดแล้ว
สถานะสุดท้าย
ที่ท่านได้รับจากแผ่นดินเกิด
ที่ได้ทุ่มเทกายใจ ทะนุบำรุงมา
ก็คือ "ผู้ลี้ภัย" และ
"แพะรับบาป
ของการใส่ร้ายป้ายสี นานัปการ"
โดยไม่มีโอกาส
ได้กลับคืนมายัง บ้านเกิดเมืองนอน
อันเป็นที่รักของตนอีกเลย ตราบชั่วชีวิต |
|
|
จริงอยู่ที่เรื่องราวชีวิต
และข้อเท็จจริง อันเกี่ยวแก่นายปรีดี
พนมยงค์ ได้มีผู้กล่าวถึง
และบันทึกไว้ ในหลายวาระโอกาส
หนังสือและบทความ
ที่นายปรีดี ได้เขียนขึ้นจำนวนไม่น้อย
ก็ยังคงปรากฏ ให้คนรุ่นหลัง ได้ศึกษาค้นคว้า
ทว่าเราคงต้องยอมรับว่า
เรื่องราวในชีวิต
ของรัฐบุรุษอาวุโสท่านนี้
มีไม่น้อย ที่ถูกบิดเบือน
หรือลบเลือนไปเมื่อเวลาผ่าน
หนำซ้ำหลายคราว
ยังถูกกลบฝังด้วยข้อมูลเท็จ
และคำกล่าวร้ายป้ายสี
อันทำให้ความจริง
ที่ดำรงอยู่ พร่าเลือนลงไปทุกที
วาระครบรอบ ๑๐๐
ปีชาตกาลของสามัญชน นาม ปรีดี
พนมยงค์ คงเป็นโอกาสอันดี
ที่เราจะร่วมรำลึกถึงเรื่องราว
และความจริงในช่วงชีวิต
อันผันผวนของท่านอีกครั้ง
เชื่อว่าตราบใดที่ประวัติศาสตร์
และกาลเวลายังคง ทำหน้าที่ของมัน
อย่างซื่อสัตย์
และตราบใดที่ยังคงมีคน
ผู้มุ่งแสวงหาสัจจะ ในไม่ช้า
สิ่งที่รัฐบุรุษอาวุโสท่านนี้มุ่งหวัง
และฝากฝังไว้จะต้องมาถึง
"ประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ
มิได้หยุดชะงักลง ภายในอายุขัยของคนใด
หรือเหล่าชนใด คือประวัติศาสตร์
จะต้องดำเนินต่อไปในอนาคต
โดยไม่มีสิ้นสุด
ดังนั้นผมขอฝากไว้แก่ท่าน
และชนรุ่นหลัง ที่ต้องการสัจจะ
ช่วยตอบให้ด้วย"
|
|
๑๐๐
ปีของสามัญชนนาม ปรีดี พนมยงค์ "๘๒ ปี ๑๑
เดือนกับ ๒๑ วัน
ของการมีชีวิตในโลกนี้ นายปรีดี
พนมยงค์ มีความภาคภูมิใจ
ที่เกิดมาเป็นคนไทย
จวบจนวาระสุดท้ายของชีวิต
ดังนั้นจึงมีปณิธานแน่วแน่
จะะทำหน้าที่
ในฐานะที่เกิดมาเป็นคนไทย
ซึ่งจะต้องสนองคุณชาติ
โดยไม่ได้มุ่งหวัง
เอาตำแหน่งในราชการ
หรือผลประโยชน์ใด ๆ
มาเป็นรางวัลตอบแทน
จากสามัญชน สู่ตำแหน่งหน้าที่การงาน
ที่มีความรับผิดชอบสูงสุด
นายปรีดี พนมยงค์
ประสบมาแล้ว ทั้งความสำเร็จ
และความล้มเหลว และในที่สุด
ต้องระหกระเหิน
จากบ้านเกิดเมืองนอน
ในวาระครบรอบ ๑๐๐
ปีชาตกาลของปุถุชนคนหนึ่ง
ที่เปี่ยมด้วยประสบการณ์ชีวิต
เช่นนายปรีดี พนมยงค์
ย่อมเป็นโอกาสที่ คนรุ่นหลัง จะได้ศึกษา หาความจริง
อันเป็นสัจธรรม
ทั้งนี้เพื่อ สร้างสรรค์สังคมไทย
ให้ธำรงไว้ซึ่ง เอกราชอธิปไตย
ประชาธิปไตย
ราษฎรมีความสุขสมบูรณ์
ได้รับการศึกษา อย่างเต็มที่"
ท่านผู้หญิงพูนศุข
พนมยงค์
วันชัย
ตันติวิทยาพิทักษ์
จะลำดับชีวิตของ สามัญชนผู้ยิ่งใหญ่ นามปรีดี
พนมยงค์ ให้ผู้อ่านได้รับรู้
ตั้งแต่ท่านถือกำเนิดในเรือนแพ
หน้าวัดพนมยงค์
กระทั่งไปจบชีวิตลง
ที่ฝรั่งเศสในที่สุด
อ่านต่อคลิกที่นี่
|
|
ดิฉันใช้ผ้าไทย ทุกวันนี้ การนุ่งผ้าไทย
อาจเป็นเรื่องไกลตัว สำหรับสาว ๆ
ที่แต่งกายตามแบบฝรั่ง
กันมากว่าร้อยปีแล้ว
กลายเป็นว่า ผ้าไทยนั้น อยู่แต่ในวิถีชีวิตของ คนชนบท
คนสูงวัย
หรือคนในสังคมชั้นสูง ที่แต่งประกวดประขันกัน
คนทั่วไป นึกอยากจะนุ่งผ้าไทยบ้าง
ก็กลัวแก่ กลัวเชย และกลัวแพง
ปิยะพร กัญชนะ
ผู้เขียนสารคดีพิเศษเรื่องนี้
ไม่เคยคิดมาก่อนว่า
ตนจะหันมาชื่นชอบกับ การนุ่งผ้าไทย
ด้วยไม่เคยนุ่งผ้าถุงมาเลย ตั้งแต่เด็ก
แต่เมื่อได้แสวงหาความรู้
เกี่ยวกับผ้าไทย และทดลองใช้ดู
ก็เกิดความรู้สึก
"สุขกายสบายใจ ที่ได้นุ่งผ้าไทย"
และค้นพบว่า การนุ่งผ้าไทยนั้น
มีเสน่ห์ไม่น้อย
จากประสบการณ์ การใช้ผ้าไทยมานานปี
ผู้เขียนมีข้อแนะนำเกี่ยวกับ การเลือกใช้ผ้าไทย
รวมถึงแนะนำ วิธีการนุ่งแบบต่าง
ๆ
...ไม่แน่ว่า เมื่ออ่านสารคดีพิเศษ เรื่องนี้จบแล้ว
คุณอาจเกิดแรงบันดาลใจ
หันมาลอง นุ่งผ้าไทยดูบ้างก็ได้
|
|
|
Special Attractions |
|
Cover: Senior statesman
Pridi Banomyong, civilian leader of the People's Party which brought about the June 24,
1932 revolution in Thailand, was both on the Council of Regency and in the Free Thai
Movement (the latter as leader) during WWII. He left a legacy of democracy and strife for
freedom and dignity of the common Thai people.
|
|
Pridi Banomyong,
an Ordinary Man: A Hundred Years
Living a simple private life, Pridi Banomyong,Thailand's 6th Prime Minister, leader of the
Free Thai Movement and founder of Thammasat University, led a most colorful public one. A
pioneer of Southeast Asian democracy, he fought tirelessly for a simple independence of
the Thai people. But for this he had to live in exile. He was not to return to his
homeland until three years after his death when his ashes were brought back from Paris and
scattered in the Gulf of Thailand.
Continue: click here
|
|
I Use Thai Cloth Ironic though it may seem, pa-thai, that is, Thai
cloth or fabric, has grown strange and distant to many Thai people. We've gone
"western" for over 100 years and to get up and dress "Thai" makes the
non-rural, non-elite and unelderly feel peculiarly ill-at-ease. People say they don't want
to look ancient or out-of-date. Several complain about not having the body, the money, the
time, the patience, or the age. Piyaphon Kanchana says if you get to know pa-thai well,
none of the above will be the least problem.
Continue: click here
|
|
Illustrations
that Live their Stories
As a child Howard Pyle remembers firelit evenings with storybooks, the pictures in them,
and his mother telling those tales. He grew up to revolutionize the art of illustration,
telling his students, "Project your mind into your subject until you actually live in
it. Throw your heart into the picture and then jump in after it." Among the classic
tales he's left us with are The Merry Adventures of Robin Hood, and The Story of King
Arthur and His Knights.
|
|
|
|