การุณยฆาต : ฆ่าด้วยความกรุณา

สนับสนุน หรือคัดค้าน การุณยฆาต : ฆ่าด้วยความกรุณา

( ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณ คลิกที่นี่ )
กุลธิดา สามะพุทธิ : เรื่อง
ฝ่ายภาพ สารคดี : ภาพ


    ซิกมุนด์ ฟรอยด์ ป่วยเป็นโรคมะเร็ง ที่กระดูกเพดาน ในปาก เข้ารับการผ่าตัด ทั้งหมด ๒๖ ครั้ง ต้นปี ค.ศ. ๑๙๓๙ มะเร็งลุกลามจนกรามข้างขวาหัก เขาพูดไม่ได้ และต้องนอนอยู่กับเตียง ตลอดเวลา การลุกลามของมะเร็ง ส่งกลิ่นเหม็นมาก แม้แต่สุนัข ที่ฟรอยด์รักมาก ยังหนีออกไป นอนเฝ้านอกห้อง

    เช้าวันที่ ๒๐ กันยายน ฟรอยด์จึงทวงสัญญา ที่นายแพทย์วิก หมอประจำตัว ให้ไว้กับเขา เวลาสามทุ่ม นายแพทย์วิก จึงฉีดมอร์ฟีน ให้ฟรอยด์ตายอย่างสงบ
    นี่เป็นตัวอย่างหนึ่งของ "การุณยฆาต" (mercy killing หรือ euthanasia ซึ่งมาจากภาษากรีก แปลว่า การตายอย่างเป็นสุข)
    ประเทศเนเธอร์แลนด์ ซึ่งมีกฎหมายอนุญาต ให้ทำการุณยฆาตได้ โดยถูกกฎหมาย โดยในปีหนึ่ง ๆ มีผู้เสียชีวิต จากการทำการุณยฆาต นับหมื่นคน นิยามสิ่งนี้ว่า "คือการที่แพทย์ ทำให้ชีวิตสิ้นสุดลง ตามความปรารถนาของ ผู้ป่วยเอง โดยคำขอของผู้ป่วย ต้องเป็นไปด้วยความ สมัครใจ ชัดเจน แน่นอน และได้ไตร่ตรองอย่างดีแล้ว ต้องมีการขอหลายครั้ง และการเจ็บป่วยนั้น ต้องสุดแสนจะทนทาน ไม่มีทางรักษาได้"
    แต่ในอีกหลายประเทศ ผู้คนยังคง มีความเห็นต่างกันอยู่มาก
    ออสเตรเลีย พยายามออกกฎหมาย อนุญาต ให้แพทย์ช่วยให้ผู้ป่วย ที่หมดหนทางรักษา และต้องอยู่อย่าง ทนทุกข์ทรมาน (ผู้ป่วยที่สิ้นหวัง) ตายตามคำขอได้ แต่ก็ถูกยกเลิกไป เมื่อสองปีก่อน
    ในอังกฤษถึงกับ มีการตั้งสมาคม ขึ้นมาสนับสนุน การทำการุณยฆาต
    ที่สหรัฐอเมริกา ตั้งแต่ปี ๑๙๙๐ นายแพทย์แจ็ก เคอร์โวเกียน ทำให้ผู้ป่วยเกือบ ๒๐๐ ราย ตายตามความต้องการ โดยให้ยา โพแทสเซียมคลอไรด์ ที่ทำให้ หัวใจหยุดเต้น ผู้ป่วยจะเป็นผู้เปิดสวิตช์ ให้ยาเข้าสู่หลอดเลือด ด้วยตัวเอง หมอแจ็ก ซึ่งได้รับฉายาว่า "Dr.Death" ถูกจับ ๒๓ ครั้ง แต่ถูกปล่อยตัวทุกครั้ง เพราะมีพยานยืนยันว่า ผู้ป่วยได้รับ ความทรมานจริง และมีชีวิตอยู่ได้ไม่นาน แพทย์ผู้นี้ ยังคงยืนยัน จะทำการุณยฆาต ให้คนไข้ต่อไป
    การุณยฆาต มีอยู่สองแบบ คือ
    ๑. การช่วยให้ผู้ป่วย ที่สิ้นหวัง ตายอย่างสงบ (active euthanasia) คือ การที่แพทย์ฉีดยา ให้ยา หรือกระทำโดยวิธีอื่น ๆ ให้ผู้ป่วยตายโดยตรง การยุติ การใช้ เครื่องช่วยหายใจ ก็จัดอยู่ในประเภทนี้ด้วย
    ๒. การปล่อยให้ผู้ป่วย ที่สิ้นหวัง ตายอย่างสงบ (passive euthanasia) คือ การที่แพทย์ ไม่สั่งการรักษา หรือยกเลิกการรักษา ที่จะยืดชีวิตผู้ป่วยที่สิ้นหวัง แต่ยังคง ให้การดูแลรักษาทั่วไป เพื่อช่วยลด ความทุกข์ทรมาน ของผู้ป่วยลง จนกว่าจะเสียชีวิตไปเอง
    คนส่วนใหญ่ เริ่มยอมรับ การทำการุณยฆาตแบบ passive เพราะเห็นว่า เป็นสิทธิของผู้ป่วย ที่จะปฏิเสธ การรักษาพยาบาล ผู้ป่วยรายใดมีคำสั่ง "NR." (no resuscitation -- ไม่ต้องช่วยฟื้นชีวิต) กำกับไว้ แพทย์ก็ไม่มีสิทธิ จะใช้เทคโนโลยีใด ๆ ในการยืดชีวิตของเขาต่อไป แต่การทำการุณยฆาตแบบ active ยังไม่ค่อยได้รับ การยอมรับ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะ ความหวาดหวั่นต่อ การเกิดอาชญากรรม ที่แฝงมากับ การทำการุณยฆาต
    สังคมไทย เคยตกอยู่ท่ามกลาง ความขัดแย้ง ทางความคิด เรื่องการทำให้ ผู้ป่วยที่สิ้นหวัง ตายอย่างสงบนี้ ร่วมกันมาแล้วครั้งหนึ่ง จากกรณีอาพาธของ ท่านพุทธทาสภิกขุ (พ.ศ. ๒๕๓๖)
    ท่านพุทธทาสสั่งกับลูกศิษย์ไว้ว่า เมื่อท่านป่วยหนัก ไม่ให้ใช้เทคโนโลยี ที่จะช่วยชีวิตท่านไว้ อย่างผิดธรรมชาติ และเมื่อท่านจะมรณภาพ ขออย่าให้มีเครื่องช่วยชีวิตใด ๆ ติดตัวท่าน แต่คณะแพทย์ผู้ทำการรักษา ปรารถนาจะยืดชีวิตของท่าน ไว้ให้นานที่สุด จึงใช้ทั้งเครื่องช่วยหายใจ ให้ยาเพิ่มความดันทางเส้นเลือดดำ และยาคลายกล้ามเนื้อ เพื่อควบคุมการหายใจ ด้วยยึดว่าหน้าที่ของแพทย์ คือรักษาชีวิตของผู้ป่วย ไว้อย่างเต็มความสามารถ
    กรณีของ ท่านพุทธทาส ไม่ใช่กรณีเดียว ที่สะท้อนถึงความเห็นต่าง ในเรื่องการุณยฆาต แพทย์ท่านหนึ่ง ให้ข้อมูลว่าทุกวันนี้ มีการทำการุณยฆาต เกิดขึ้นอย่างลับ ๆ อยู่เสมอ โดยเฉพาะ การหยุดให้การรักษา และการถอดเครื่องช่วยหายใจ ซึ่งวงการแพทย์ถือว่าเป็น "ทางสองแพร่ง"   ที่พวกเขา ต้องเผชิญ ด้วยความลำบากใจ
    ควรทำอย่างไรกับผู้ป่วย ที่ทรมานกับ การลุกลามของมะเร็ง ในระยะสุดท้าย, ผู้ป่วยสูงอายุ หรือผู้ป่วยขั้นโคม่า ที่อยู่ได้ด้วยเครื่องช่วยหายใจ กับยาเพิ่มความดัน, ผู้ประสบอุบัติเหตุร้ายแรง ที่ถึงแม้จะมีชีวิตรอด แต่ก็ต้องทนทุกข์ทรมาน อย่างแสนสาหัส ตกอยู่ในสภาพ "ฟื้นก็ไม่ได้ ตายก็ไม่ลง"   ต้องอยู่ในลักษณะ เหมือนเป็นผักปลา หรือมีชีวิตอยู่ อย่างที่นักกฎหมายเรียกว่า ไม่เหลือศักดิ์ศรี ของความเป็นมนุษย์
    ถ้าทำให้ผู้ป่วยตายอย่างสงบ แพทย์อาจต้องรับผิดทางอาญา หรือขัดต่อหลักจริยธรรม มีโอกาสถูกฟ้องฐานฆ่าผู้อื่น แต่ถ้าช่วยในทุกวิถีทาง แพทย์ ก็อาจละเมิดสิทธิของผู้ป่วย ที่มีเจตนารมณ์ที่จะตายอย่างสงบ รวมทั้งสร้างปัญหา ให้แก่ญาติที่ต้องแบกรับภาระ เรื่องค่ารักษาพยาบาล
    ถึงที่สุดแล้ว การุณยฆาต อาจพาเราไปสู่ การตั้งคำถามเรื่องความตาย และการดำรงอยู่ ซึ่งหาคำตอบเบ็ดเสร็จไม่ได้ง่าย ๆ
    บทสรุปที่ดีของการขบคิดในเรื่องนี้ จึงอาจเป็นความเห็น ที่แพทย์ชาวอเมริกันคนหนึ่ง ตอบนักข่าว ที่ถามถึงกรณีนายแพทย์แจ็ก เคอร์โวเกียน กระทำการุณยฆาตว่า
    "สิ่งใดก็ตาม ที่ท้าทายค่านิยม ที่สังคมยึดถือกันมายาวนาน ไม่ว่ามันจะผิดหรือถูก ก็ล้วนควรค่าแก่การ นำมาถกเถียงทั้งสิ้น เพราะสิ่งนี้ ช่วยให้สังคมได้ทบทวนว่า ควรดำรงระบบความคิดความเชื่อ ด้านการรักษาพยาบาล และมุมมองต่อชีวิต ในแบบเดิมต่อไปหรือไม่ "

ร่วมแสดงความคิดเห็น สนับสนุน หรือ คัดค้าน !
คลิกที่นี่


อ่านสนับสนุนต่อ คลิกที่นี้สัก กอแสงเรือง
นายกสภาทนายความ
อ่านคัดค้านต่อ คลิกที่นี้แพทย์หญิง พรทิพย์ โรจนสุนันท์
หัวหน้าหน่วยนิติเวช โรงพยาบาลรามาธิบดี

ส นั บ ส นุ น  คั ด ค้ า น
  • ช่วยให้ผู้ป่วยที่สิ้นหวัง พ้นจาก ความทุกข์ทรมาน
  • เป็นการแบ่งเบา ภาระ เรื่องค่าใช้จ่าย ในการรักษาพยาบาล ของญาติ
  • การเลือกที่จะตาย หรือมีชีวิตอยู่นั้น เป็นสิทธิเสรีภาพ ส่วนบุคคล
  • กระบวนการสิ้นสุดของชีวิต เป็นเรื่องของธรรมชาติ ไม่ควรเข้าไปแทรกแซง
  • อาจทำให้เกิด อาชญากรรม ที่แฝงมาในรูปของการุณยฆาตได้ เช่น การค้าอวัยวะ หรือญาติผู้ป่วย ต้องการมรดก เป็นต้น
  • คำวินิจฉัยของแพทย์ว่า บุคคลนั้น เป็นผู้ป่วยที่สิ้นหวัง อาจผิดพลาด ทั้งที่ยังมีโอกาสรักษาให้หาย และรอดชีวิตได้
อ่านฝ่ายสนับสนุน คลิกที่นี่
click here
1x1.gif (43 bytes)
อ่านฝ่ายคัดค้าน คลิกที่นี่
click here
กลับไปหน้า สารบัญ

แล้วคุณล่ะ สนับสนุน หรือ คัดค้าน !
.ต้องการ แสดงความคิดเห็นเพิ่ม คลิกที่นี่


แ ส ด ง ค ว า ม คิ ด เ ห็ น เ พิ่ ม เ ติ ม

ชื่อ-สกุล: *
E-Mail:
แสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม: *
*

 

พบเห็น ข้อความไม่เหมาะสม กรุณาช่วยกันแจ้ง ผู้ดูแลเว็ป (WebMaster) ขอบคุณครับ

สนับสนุนให้ทำการการุณยฆาต
คนขี้สงสัย
- Tuesday, December 12, 2000 at 11:50:29 (EST)

ชีวิตเป็นสิ่งที่มีคุณค่าและสวยงาม การทำลายชีวิตเป็นสิ่งที่ไม่ควรพึงกระทำ แม้ว่านั้นจะเป็นชีวิตของตนเองก็ตาม และเชื่อว่าในทุกศาสนาก็ไม่ได้สนับสนุนให้ทำร้ายตนเองอย่างนี้และในทางกฏหมายเองก็ไม่ได้สนับสนุนด้วย รวมทั้งญาติพี่น้องก็คงไม่เห็นด้วยเช่นกัน
สิทธิชัย บูรณพันธ์ <sittichai_num@thaimail.com>
- Monday, December 11, 2000 at 10:03:47 (EST)

มันก็ไม่เกี่ยวกันเลยว่าที่หมอช่วยผู้ป่วย ที่เป็นโรคมะเร็งหมอเขาก็ชช่วยอย่างเต็มที่อยู่แล้ว
montakarn kitbamroong <monta79@yahoo.co>
- Sunday, December 03, 2000 at 23:35:58 (EST)

ในการการุณยฆาตนั้นเป็นอีกทางเลือกนึงของผู้ป่วยแต่ในการทำการุณยฆาตนั้นเป็นสิ่งที่ถูกสังคมคัดค้านแต่ในความเห็นนั้นคิดว่าน่าจะเป็นสิ่งที่ดีแต่การทำการณยฆาตินั้นต้องประกอบไปด้วยกฏหมายที่ให้ความถูกต้องสมบูรณ์มีจุดบกพร่องหรือช่องโหว่น้อยที่สุดเพื่อไม่ให้เห็ตุการณ์ที่จะทำให้เกิดปัญหาตามมาในภายหลัง และในความคิดเรื่่องการูณยฆาตินั้นเป็นเรื่องที่คนไทยน่าจะมีสิทธิเลือกในเรื่องนี้
ณรงค์ อินทร <nameboy@chaiyomail.com>
- Tuesday, November 21, 2000 at 04:29:13 (EST)

การทำการุณยฆาตนั้นสามารถทำได้ แต่เพื่อป้องกันการก่ออาชญากรรม แพทย์ต้องได้รับความยินยอมจากคนไข้และญาติคนไข้ด้วย และแพทย์ต้องวินิจฉัยอาการของคนไข้ก่อนว่าพอมีทางรักษาให้หายได้หรืไม่
ณัฐ ศรสำราญ <n_sornsamran@hotmail.com>
- Thursday, November 02, 2000 at 23:26:44 (EST)

หากเป็นตัวเราเอง อยู่ในภาวะที่หมดหวังและทุกข์ทรมาน ก็ขอเลือกที่จะตาย แต่ก็เห็นใจผู้ที่ทำหน้าที่ตัดสินใจ เพราะอาจมีความเห็นที่ผิดพลาดได้ในการพิจารณาว่า หมดหวังในการรักษาแล้วจริงหรือไม่ ดังนั้น ถ้าเป็นคนอื่นเราก็ไม่แน่ใจเหมือนกัน สนับสนุนให้ยึดตามความต้องการของผู้ป่วยเองมากที่สุด
กนกวรรณ (กนกากร) อุโฆษกิจ <kukoskit@yahoo.com>
- Saturday, October 14, 2000 at 19:59:38 (EDT)

เห็นด้วยเพราะใรยามนั้นคนที่เจ็บปวดที่สุดคือคนไข้ ไม่มีใตรรู้ส่าเค้าต้องทรมานมากขนาดไหน ถ้าเค้าเลือกว่าเค้าไม่ต้องการอยู่แล้ว น่าที่จะให้สิทธิ้เค้าเลือกได้เอง
kannikar <geniexy@hotmail.com>
- Thursday, October 12, 2000 at 01:59:53 (EDT)

เห็นด้วยกับการทำ การุฃรยฆาต เพราะเราควรเคารพการตัดสินใจของผู้ป่วย เรายอมเป็นคนที่ถูกกล่าวหาว่าไร้จริยธรรม ดีกว่าที่จะมาทนเห็นเพื่อนมนุษย์ต้องอยู่ในสภาพที่ทุกข์ทรมานอย่างนั้นได้
นฤมล หล่อศรีแสงทอง
- Sunday, August 13, 2000 at 22:46:24 (EDT)

เมื่อถึงเวลานั้น ที่ที่เราต้องการคือความสงบ และไม่อยากใเป็นภาระให้ใคร ๆ
น้ำฟ้า
- Monday, August 07, 2000 at 13:27:07 (EDT)

ผมไม่เห็นด้วยกับการุณยฆาตด้วยเหตุผล 4 ประการต่อไปนี้ 1. ผมคิดว่าแท้ที่จริงมนุษย์ไม่ได้มีสิทธิที่จะทำตามใจปรารถนาเพื่อผลประโยชน์ของตนเอง โดยเฉพาะในแง่ของธรรมชาติ เพราะมนุษย์ไม่ได้เป็นผู้ที่ "สร้าง" สิ่งต่างๆ ในธรรมชาติขึ้น มนุษย์เป็นเพียงผู้ "ประดิษฐ์" ดังนั้นมนุษย์จึงไม่มีสิทธิที่จะเลือกเกิด และตัวเราเองก่อนที่จะเกิดก็ไม่เคยรู้ตัวว่าจะต้องมาเกิด และก็ไม่รู้ด้วยว่าจะเกิดอย่างไร เกิดที่ไหน เกิดจากบุคคลใด (การที่เราเกิดมานั้นเป็นราวกับว่ามีการกำหนดไว้ให้เราเรียบร้อยแล้ว) เช่นเดียวกันเราจึงไม่ควรมีสิทธิที่จะทำลายชีวิตของเราเองหรือของผู้ใดก็ตาม 2. การทำลายชีวิตไม่ว่าจะเป็นชีวิตของผู้ใดหรือจะโดยวิธีการใดก็ตาม ในทางศาสนาส่วนใหญ่เห็นว่าเป็นความบาปทั้งสิ้น เพราะทุกชีวิตมีคุณค่า จะเป็นยาจก-มหาเศรษฐี คนไร้การศึกษา-ศาสตราจารย์ รวมทั้งคนเจ็บป่วย-คนสุขภาพแข็งแรงด้วย ดังนั้นการทำลายชีวิตผู้อื่นโดยวิธีต่างๆ รวมทั้งการุณยฆาตจึงไม่ถือว่าเป็นการเมตตาที่แท้จริง 3. อาชีพแพทย์นั้น ผมคิดว่าเป็นอาชีพที่ไม่เพียงให้การรักษาเท่านั้น แต่ควรเป็นผู้ให้ "กำลังใจ" ที่ดีด้วย คนที่ไม่มีจิตสำนึกในคุณค่าของมนุษย์ทุกคนไม่สมควรเป็นแพทย์ เพราะแพทย์ต้องอยู่กับคน โดยเฉพาะคนที่สิ้นหวัง หากแพทย์ซึ่งเป็นผู้ที่เข้าใจการรักษาความเป็นป่วยมากกว่าคนอื่นๆ ยังไม่มีความหวังให้กับผู้ป่วย ผู้ป่วยและญาติผู้ป่วยก็คงไม่มีความหวังอะไรได้อีก ผมคิดว่าจรรยาแพทย์ในด้านนี้มีความสำคัญอย่างยิ่ง อย่าปัดภาระความรับผิดชอบไปที่ตัวผู้ป่วยหรือญาติของเขา อย่าเกียจคร้านหรือเกิดความรำคาญในการช่วยเหลือชีวิตมนุษย์ หากผู้ป่วยและญาติผู้ป่วยสิ้นหวัง นั่นกำลังเป็นตัวบอกว่าแพทย์สิ้นหวังมาก่อนแล้ว แม้ดูเหมือนว่าจะยังหาวิธีรักษาไม่ได้ก็ตาม ในปัจจุบันโรคเอดส์ก็ยังไม่มีวิธีรักษาให้หายขาด แต่ผมเห็นว่ายังมีแพทย์อีกจำนวนหนึ่งที่มี "ความหวัง" ว่าจะพบวิธีรักษาได้ในที่สุด 4. ตัวผู้ป่วยเองก็ควรมีความหวังจนถึงที่สุด ไม่ควรสิ้นหวังท้อแท้กับชีวิต ควรยืนหยัดสู้ชีวิตต่อไปจนวินาทีสุดท้าย เพื่อคนที่ตามหลังมานั้นจะเห็นคุณค่าของชีวิต ไม่ใช่อะไรนิดอะไรหน่อยก็ใจเสาะขอยอมแพ้ไว้ก่อน สุดท้ายผมขอเป็นกำลังใจให้กับผู้ป่วยและญาติผู้ป่วยทุกท่านให้สู้ชีวิตต่อไปครับ ชีวิตของท่านสามารถเป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นได้อีกมากไม่ว่าทางหนึ่งทางใด ขอให้มีความหวังใจสู้ต่อไปครับ
วีระศักดิ์ จิตอารีเสถียร <veerasak_lee@hotmail.com>
- Thursday, July 20, 2000 at 22:41:02 (EDT)

ถึงแม้เราจะไม่สามารถเลิกเกิดได้ แต่มนุษย์เราเลือกที่จะเป็นได้ ทั้งนี้ทั้งนั้น ในการตัดสินใจทุกอย่าง ย่อมขึ้นอยู่กับตัวเราเอง ด้วยสติปัญญา และวิจารณญาณ การเลือกที่จะตายอย่างสงบ ด้วยวิธีการัณยฆาต จึงต้องเป็นการตัดสินใจของเราเอง ส่วนมาตรการในการตรวจสอบนั้น ต้องมีขึ้นอย่างรัดกุมยิ่ง เพื่อให้ผู้ตายได้จากไปอย่างสงบ
วิศิษฎ์ ชวนพิพัฒน์พงศ์ <little_Lee@cybenet.in.th>
- Saturday, July 15, 2000 at 17:56:22 (EDT)

ควรจะมีข้อมูลของคำว่า การยฆาต หรืว่าถ้าหากมีแล้วกรุณาแนะนำด้วย ขอบคุณครับ
วุฒิชัย วงค์มิตร
- Thursday, July 13, 2000 at 08:58:44 (EDT)

ความอยากตาย เป็นภวตัณหา ในทางพระพุทธศาสนานั้น ท่านสอนให้ละตัณหา ดังนั้น จึงควรละความอยากตายเสีย ไม่ต้องกังวล อย่างไรเสีย ทุกคนต้องตายแน่นอน เวลาที่เหลืออยู่ ต้องใช้อย่างคุ้มค่า คือไม่ประมาท
toni thaeng <thaeng@thaimal.com>
- Monday, July 10, 2000 at 08:19:21 (EDT)

สิ่งมีชีวิตล้วนเกิด-ตายตามธรรมชาติ เพราะมนุษย์ต้องการเอาชนะธรรมชาติ (ไม่ยอมตาย) จึงหาทางทำทุกวิถีทาง ที่จะมีชีวิตอยู่ ทำไมเราไม่ปล่อยให้ธรรมชาติ เป็นผู้ตัดสินผู้ป่วยระยะสุดท้ายล่ะ
หนูแก้ว <nuu74@yahoo.com>
- Saturday, July 08, 2000 at 02:20:31 (EDT)

ไม่เห็นด้วย เพราะอาจจะมี ผู้แสวงหาประโยชน์ใส่ตน จากความตายของบุคคลอื่น เช่น การุณฆาต เพื่อหวังเงินประกันชีวิต เป็นต้น อีกทั้งการฆ่าคน ก็ยังเป็นการขัดต่อสำนึกในศีลธรรมอันดีอีกด้วย ควรปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติจะดีกว่า
วณี
- Friday, July 07, 2000 at 03:29:22 (EDT)

ท้ายที่สุดแล้ว การจะมีชีวิตอยู่หรือไม่ ควรเกิดจากการตัดสินใจของคนๆ นั้นเอง ความทุกข์ทรมาน ไม่ใช่สิ่งที่ใครๆ อยากจะเจอในขณะที่ยังมีลมหายใจ และสามารถตัดสินใจเองได้ คนรอบข้างแม้ กระทั่งแพทย์ ไม่ควรมีสิทธิในการ กำหนดให้ใครสักคน ต้องเผชิญความทรมานต่อไป โปรดปล่อย ให้ธรรมชาติเป็นตัวกำหนด
สุพัตรา ปรศุพัฒนา <sporasup@yahoo.com>
- Saturday, June 24, 2000 at 20:01:34 (EDT)

เห็นด้วยอย่างมาก บางคนคิดว่าเป็นบาป แต่จริงๆแล้ว เราทำให้เค้าพ้นทุกข์ มันก็เหมือนกับ การทำบุญอย่างหนึ่งนั่นเอง
สุชาดา ไกรนิตย์ <mangabe@lemononline>
- Sunday, June 18, 2000 at 04:44:24 (EDT)

มนุษย์ทุกคน มีสิทธิตัดสินชีวิตของตัวเอง และการทำการุณยฆาต จะมีช่องโหว่น้อยลง หากคนเราเห็นแก่ตัวกันน้อยลง
นวพร ปิตาวรรณ
- Sunday, June 11, 2000 at 10:58:20 (EDT)

ตัวผมเองอายุ แค่ 21 คงไมมีความสามารถพอจะตัดสินใจได้ขนาดนั้นนะครับ แต่ก็อยากจะบอกว่า ในบางครั้ง คนเราจะต้องเลือกความเป็นจริงในตัวเอง มากกว่าที่จะ พยายามฝืน เพื่อที่จะทำให้ตัวเอง ไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม คิดว่า ถ้ามันเกิดกับผม ผมจะยอมทำครับ เพราะคิดว่า ไม่อยากจะให้ตัวเอง เป็นภาระให้ครอบครัวต้องเป็นห่วงนะครับ
สุพล เหล่ากาวี <skck@chaiyo.com>
- Saturday, June 10, 2000 at 11:30:08 (EDT)

จนเมื่อมนุษย์มีวัฒนธรรม .....ความยุ่งยากและซับซ้อนมากมาย ก็ติดตามมา อิสรภาพของมนุษย์นั้น ควรเป็นปัจเจกมิใช่หรือ ....ผู้ที่กำลังจะตายย่อมรู้ ....มนุษย์มีสิทธิโดยธรรม ที่จะเลือกเป็นหรือตาย. .....หากมิสามารถหยิบยื่นความตายแด่ตนได้ ....สิทธินั้น มอบหมายผู้อื่นมิได้เชียวหรือ .....วัฒนธรรม
วรณัย พงศาชลากร <voranai_p@hotmail.com>
- Saturday, June 10, 2000 at 05:21:14 (EDT)

รัฐจะกล้าประกันหรือไม่ หากจะมอบสวัสดิการ ค่ารักษาพยาบาลฟรี สำหรับผู้ป่วยสิ้นหวัง ถ้าลองเทียบกับ งบประมาณที่ไม่จำเป็น เซ่น รถประจำตำแหน่ง การลงทุนอันไร้สาระของ ภาคธุรกิจ เอกซน การพนัน สถานเริงรมย์ ธุรกิจการค้ากำไร (เกินควร) ของกิจการโทรคมนาคม ฯลฯ เก็บภาษีจากพวกน็้ ในอัตราเพิ่มต่อรายได้ มาจัดตั้งเป็นกองทุน เพื่อแบ่งเบาภาระทางเศรษฐกิจ ผมไม่ทราบว่า ตัวเลขของผู้ป่วย ในกรณีดังกล่าวมีมากเท่าใด แต่ก็เดาว่า คงจะไม่มากเกินไป หากเราจะซ่วยเหลือผู้มีฐานะยากจน (กำหนดคุณสมบัติ รายได้) หากความคิดดังกล่าว เป็นเรื่องเลอะเทอะ การตาย ก็ควรสุดแต่จะเป็นไป ผมจะไม่ดิ้นรน หากรู้ตัวแน่ว่าจะตาย หรือไม่รู้ก็ตาม ให้คนที่อยู่ข้างหลังลำบาก ให้ผมหมดลมของผมเอง ปมปํญหาอยู่ที่ว่า เราไม่รู้แน่ (รวมถึงหมอด้วย) ว่าจะตายเมื่อใด ผู้ป่วยคงไม่มีปํญหา ถ้ายอมรับความตายได้ จึงปฏิเสธการรักษาใดใด หรือขอร้องผู้เกี่ยวข้องว่า ถ้าเกินเยียวยา ก็ปล่อยเลยตามเลย แต่ญาตินี่สิ ต้องกดดัน เพราะอยู่ภายใต้กรอบศีลธรรม ความผูกพัน จึงยอมทนต่อการ แบกรับภาระเศรษฐกิจ ไม่ว่าแค่ไหนก็ตาม แต่ในความเป็นจริง ทุกคนก็ต้องเลือกกระทำ (งดเว้นกระทำ) อย่างใดอย่างหนึ่ง กรณี passive น่าจะเป็นทางออก (สังเกตได้ว่า หากแพทย์ท่านใด ไม่เห็นหนทางข้างหน้า ก็จะทำความเข้าใจกับ ญาติ และให้นำผู้ป่วยกลับบ้าน เพื่อเลี่ยงการผิดจรรยาบรรณ ก็น่าจะเป็นทางออก) ถ้าญาติไม่ยอม ก็คงรักษาถึงที่สุด ถ้าเลือก passive ก็คงต้องทำอย่างรัดกุม
ขอคิดด้วยคน
- Wednesday, June 07, 2000 at 04:16:45 (EDT)

ชีวิตคนเราทุกคนล้วนมีคุณค่า ไม่มีใครเกิดมาแล้วอยากตาย ถ้าไม่มีเหตุมากระทบให้ต้องเปลี่ยนความคิดดังกล่าว เพราะฉะนั้น หลักการเบื้องต้น ที่ทุกชีวิตควรยึดถือก็คือ การไว้ชีวิตซึ่งกันและกัน และการที่ใคร จะมาตัดสินคนอื่นว่า ควรอยู่หรือตายนั้น ไม่สมควรอย่างยิ่ง ไม่ว่าจะเป็นแพทย์ หรือแม้แต่ญาติพี่น้อง แต่ทว่าทุกสรรพสิ่งบนโลกนี้ ล้วนมีข้อยกเว้น ถ้าเลี่ยงไม่ได้ ที่จะต้องทำการุณฆาต ก็ควรที่จะต้อง มีขั้นตอนการพิจารณาตัดสิน ที่รัดกุม ละเอียดรอบคอบ เปรียบเสมือน ตัวผู้ตัดสิน หรือผู้ที่จะมาอนุมัติ นอนอยู่บนเตียงใกล้ตายไม่แพ้กัน เพราะถ้าคุณตัดสินผิดพลาด คุณก็ต้องตายตาม มิฉะนั้นแล้ว อาชญากรแฝง จะเกิดขึ้นทันที อย่างไรก็ตาม ความเป็นไปได้ คงเป็นศูนย์ เพราะคงไม่มีใคร กล้าเข้ามาเป็นผู้ตัดสิน แต่ปัญหาทุกอย่างล้วนมีทางออก เชื่อว่า ผู้ป่วยที่รู้ชะตากรรมของตัวเอง ย่อมที่จะรู้ว่า ตนเองต้องการอะไร ประเด็นสำคัญจึงอยู่ที่ว่า ผู้ป่วย ควรเป็นผู้ตัดสินใจเอง ที่จะอยู่มีชีวิตอยู่ หรือจะสมัครใจตาย แต่ถ้าในกรณีที่ ผู้ป่วยไม่สามารถตัดสินใจเองได้ ก็สมควรต้องปล่อยไปตาม กระบวนการรักษาตามอัตภาพ ตามสวัสดิการที่ คนไทยคนหนึ่ง ควรได้รับจากรัฐบาลประเทศนี้ โดยเฉพาะมนุษยธรรม ที่โรงพยาบาลทั้งรัฐ และเอกชน ควรปฏิรูปไปพร้อมๆ กับกระบวนการทางวิชาการ ถ้าทำได้อย่างนี้ ก็จะมีแต่ความสุขที่ทุกคนจะได้รับ
stormy <thanong12@hotmail.com>
- Tuesday, June 06, 2000 at 23:17:11 (EDT)

ลองเอาอย่างพระนักปฏบัติสิครับ ที่ท่านมีสมาธิแน่วแน่ ขนาดรู้ได้ว่า ลมหายใจสุดท้ายมาถึงแล้ว และท่านเลือกตาย ก่อนตาย!
พงษ์เทพ
- Tuesday, June 06, 2000 at 03:15:53 (EDT)

จากประวัติศาสตร์โลกมนุษย์ยุคแรก ทื่ฝังศพมนุษย์ด้วยกันคือ นีแอนเดอร์ธัล(Homo Sapiens Neanderthal) เขาเหล่านั้น รู้จักการคารวะศพ ด้วยการโปรยดอกไม้ ดูลึกชึ้งอย่างเข้าถึงจิตใจ กระบวนการตาย ควรเป็นไปตามธรรมซาติ สุดแล้วแต่การสิ้นสุดของซีวภาพ? กระบวนการเกิด ก็เกิดโดยธรรมซาติ (ที่กำหนดโดยเรา) หากเคยถามตัวเองว่า นี่เราเกิดมาทำไม หรือ จะอยู่ไปทำไม หรือจะตายไปทำไม เหล่านี้ใครกำหนด ต่างกรรม ต่างวาระ ต่างสถานะ ย่อมต่างกัน ดังนั้น ในสนามรบ เพี่อนฆ่าเพี่อน เพื่อให้พ้นความเจ็บปวด (เจตนา) และการฆ่า เพราะหวังผลประโยซน์ (เจตนา) แต่ผู้ถูกกระทำไม่ต้องการ เราควรจะจำใจสู้ความจริง ในกรณีที่ การรักษาผู้ป่วยมาถึงขั้นที่ หมอเทวดา พระเจ้าองค์ไหน ก็ไม่ซ่วยได้แล้ว ทั้งญาติและผู้ป่วยเอง ชึ่งค่อนข้างจะทำใจยากกว่า ดังนั้น หากมีโอกาส (ซึ่งมีอยู่แล้วหากไม่ใซ่ทารก เกิดแล้วไม่นานก็ตาย วิกลจริต ฯ) ควรปวารณาตายทุกขณะจิต และทำความเข้าใจกับญาติ ให้ถ่องแท้ เมื่อถึงเวลานั้น เพราะลำพังแพทย์เอง ก็กังวลกับจรรยาบรรณ (และบาป) คงจะหนักใจเป็นแน่ ญาติต้องตัดสินใจแทน ที่สำคัญก็คือ สภาพเศรษฐกิจ ที่ประสบแตกต่างกัน แต่ละบุคคลดังกล่าว โดยต้องได้รับคำยินยอมจาก เจ้าของซีวิต พร้อมพยาน (อาจทำหลายฉบับ แต่ยึดฉบับล่าสุด เพื่อความแน่นอน ของคำยืนยัน) คล้ายพินัยกรรม ชึ่งยกซีวิตให้ดำเนินการตามเงื่อนไข เพื่อลดปัญหาการขาย - ชื้ออวัยวะ การแย่งซิงมรดก นี่น่าจะเป็นทางออก ส่วนปํญหา พุทธอภิปรัซญา เรื่องบาปนั้นหาข้อสรุปไม่ได้ ลองคิดดูว่า หากการฆ่าตัวตายนั้น บาปเกิดจากการเจตนา ผลคือไม่ซ่วยให้พ้นทุกข์ กับการที่เจตนาปลิดซีวิตผู้อื่นโดยได้รับความยินยอม ผลคือ ผู้นั้นได้เตรียมใจไว้แล้ว และยังพ้นสภาพเจ็บปวดทรมาน ก็น่าจะมองได้ว่าเป็นการทำบุญ (ดูที่เจตนาตามหลักพุทธศาสนา) นอกจากนี้ในพุทธประวัติ ครั้งหนึ่งที่พระเทวทัตยิงหงส์ แต่พระพุทธเจ้า(เมื่อทรงพระเยาว์)ได้ซ่วยไว้และเกิดการทะเลาะกันในที่สุดพระพุทธเจ้าก็ซนะคำตัดสินเพราะพระองค์ได้ซ่วยซีวิตหงส์ตัวนั้นไว้ หงส์ตัวนั้นย่อมอยากมีซีวิตอยู่ พระองค์ซ่วยไว้การกระทำนั้นเป็นบุญ หากเปรียบกับคนเราที่ไม่ต้องการทนทุกข์ มิใซ่อยากตายเพราะต้องการทำลายซีวิตของตนให้พ้นไป การซ่วยเหลือจึงน่าจะเป็นบุญ หรือผู้เซี่ยวซาญจะเห็นอย่างไรโปรดซี้แนะ ตายก็คือตาย โลกก็อนิจจังเซ่นนี้แล
ณัฐพล
- Tuesday, June 06, 2000 at 03:06:08 (EDT)

เห็นด้วยถ้าการทำการุณฆาต เป็นไปตามความต้องการของผู้ป่วย แต่ว่าเมื่อใดก็ตาม ที่ผู้ป่วยไม่สามรถตัดสินใจเองได้ การกระทำดังกล่าว ก็ไม่ควรถูกกระทำ
พิชญ์ โมมีเพชร <mars_angle@yahoo.com>
- Monday, June 05, 2000 at 23:56:54 (EDT)

การกระทำดังกล่าวจะเกิดขึ้นได้เมื่อมีการยินยอม ต้องดูสถานการณ์ในขณะนั้นว่าเป็นเช่นไร อันที่จริงหากกระทำอย่างถูกต้องตามความสมัครใจของคนไข้ก็ถือเป็นเรื่องที่ควรปฎิบัติ แต่หากมีคนนำเหตุผลดังกล่างมาเป็นข้ออ้างในการการฆาตกรรมก็นับว่าเป้นอันตราย ดังนั้นทางที่ดีที่สุดควรได้รับการยินยอมต่อหน้าพยานหลายๆ ฝ่ายทั้งนี้เพื่อป้องกันความผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้น
ดารุณี องอาจสิริ <jovial06@yahoo.com>
- Monday, June 05, 2000 at 21:29:54 (EDT)

จะใช้คำว่า การุยฆาต หรืออะไรก็แล้วแต่ ปัจจุบันมีผู้ป่วยที่ต้องเสียชีวิตลง เป็นจำนวนไม่น้อย ไม่ได้เกิดจากความกรุณา ของแพทย์ หรือ ความสมัครใจของผู้ป่วย แต่เป็นความสมัครใจของญาติ ที่มักจะเลือกทางตายให้ เมื่อเห็นว่า ไม่มีปัญญาจะรักษาได้ (ค่ารักษาพยาบาล) อาจจะพร้อมใจของหมอเข้าด้วย อย่างนีเป็น การุยฆาต หรือ ญาติฆาต ก็แล้วแต่จะพิจารณากัน หรือใครคิดว่าไม่จริง
http://directsme.hypermart.net
- Monday, June 05, 2000 at 11:55:45 (EDT)

ผมมีเพื่อนอยู่ตนหนึ่งที่คุณพ่อของเขาประสพอุบัติเหตุเมื่อปีที่แล้ว สมองตาย คงไม่ตื่นขึ้นมาอีก แต่ครอบครัวของเพื่อน ยังคงดูแลคุณพ่ออยู่ที่บ้านตลอดมา เพื่อนและครอบครัวยังมีความสุขที่ได้เห็นท่าน ผมไม่กล้าคิดว่าบ้านนี้คิดผิดที่ไม่ยอมปลดปล่อยภาระที่ไม่มีวันสิ้นสุด หรือยกย่องความกตัญญูของเพื่อน และผมเดาไม่ได้จริงๆว่าวิญญาณคุณพ่อจะรู้สึกอย่างไร เพราะนี่เป็นการจากไปอย่างไม่มีใครคาด
สนธิชัย <atalisia@hotmail.com>
- Monday, June 05, 2000 at 11:44:21 (EDT)

เห็นด้วย แต่ต้องเป็นความประสงค์ของคนไข้ไม่ใช่ญาติคนใดทั้งนั้น เพราะเขาเป็น เจ้าของตัวเองควรมีโอกาสเลือก แต่หมอควรวินิจฉัยว่าเหมาะสมหรือด้วย ควรระวังในเรื่อง ความไม่ยุติธรรมที่อาจจะเกิดขึ้น หรือการค้าอวัยวะที่เป็นข่าวเกรียวกราวมาแล้ว ถ้าเป็น ตนเองเลือกที่จะทำเพื่อความพ้นทุกข์ของคนที่อยู่ข้างหลังได้เร็วขึ้น และก็น่าจะเป็น การตายที่สงบที่สุด ทุกคนควรคิดและเตรียมพร้อมไว้ล่วงหน้านะ ไม่แน่วันหนึ่งอาจจะเป็น คุณก็ได้ที่ต้องตัดสินใจ
แพงเมือง
- Saturday, June 03, 2000 at 22:41:26 (EDT)

ถ้าเป็นความสมัครใจของคนป่วย แล้วเป็นทางออกที่ดีมาก สำหรับการกระทำแบบนี้ ผมขอสนับสนุนการกระทำนี้ ในวงการแพทย์แผนปัจจุบัน
กิจพิสัณห์ เอี่ยมสวัสดิ์ <kitpisan@thaimail.com>
- Thursday, June 01, 2000 at 01:10:02 (EDT)

เห็นด้วยกับลักษณะ passive ดูเหมือนน่าจะกลางๆ ระหว่าง2ฝ่าย ทั้งผู้ป่วยไม่ต้องทรมาน เป็นการตายอย่างธรรมชาติ มีสิทธิเสรีภาพในการตายหรืออยู่ สาหรับการฆาตกรรม หรือวินิจฉัยผิด น่าจะไม่มีปัญหามากนัก เนื่องจากการที่คนเรา จะตัดสินใจตาย หรือหมดหวัง ย่อมผ่านการวินิจฉัยของแพทย์ มาในระดับหนึ่ง รวมถึงคนที่จะตาย ย่อมรู้ตัวเองดี และถ้า เป็นแบบ Passive ก็น่าจะลดช่องทาง การคิดร้าย ต่อผู้ป่วยได้บ้าง
อัศวิน ตั้งจรูญจิตต์ <p_hod@hotmail.com>
- Tuesday, May 30, 2000 at 14:18:30 (EDT)

ความคิดดี แต่มีผลเสียซ่อนเร้น คือ ใช้เป็นอุบาย ในการฆาตกรรมได้ การทำให้คนบางคน สุข โดยมีคนบางคน ได้รับผลกระทบจากความสุข นั้นเรียกได้ว่า เห็นแก่ตัว การจะกระทำการใดนั้น ถ้าขาดมาตรการที่รอบคอบ มองประยุกต์หลายด้านแล้ว ก็ไม่พร้อมที่จะดำเนินการนั้นๆ
attawut petsuriyang
- Monday, May 29, 2000 at 07:24:50 (EDT)

ตัวน้องได้อ่านแล้ว ทั้งฝ่ายสนับสนุน และคัดค้าน ตัวน้องคงบอกว่า คัดค้าน เพราะเหตุผลทางนี้ดีกว่ามาก ส่วนอีกฝ่าย เหตุผลยังฟังไม่ขึ้น
รักชนก <oa01@chaiyo.com>
- Monday, May 29, 2000 at 05:24:26 (EDT)

เห็นด้วยกับ การมีการุณยฆาต ถ้าป่วยมาก ไม่มีทางรักษา ทรมานมาก เจ้าของความเจ็บปวด ควรมีสิทธิที่จะหยุดความทุกข์นั้นได้ ด้วยการตัดสินใจของเขาเอง จุดนี้คงเป็นจุดเปลี่ยนในการ มองสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่า มนุษย์ ในด้านการเกิด ตาย ว่าคืออะไรกันแน่
อร
- Monday, May 29, 2000 at 01:50:29 (EDT)

เห็นด้วยว่า เราควรมีสิทธิ์ตัดสินใจว่า เราควรจะอยู่หรือตายค่ะ เคยมีประสบการณ์มาแล้ว (ไม่บอกนะคะ) กับตัวเอง คิดว่าถ้าเป็นไปได้ เราไม่ขอเจ็บปวดทรมานอีกเลย แม้บางครั้ง ญาติพี่น้องทั้งหลาย คงไม่เห็นด้วย แต่เราควรมีสิทธิในการตัดสินใจค่ะ แม้ว่าผิดศีลธรรมก็ตาม... เมื่อถึงตรงจุดนั้นแล้ว คุณคงเข้าใจ
ประณีต แสงกร <psnot@mailcity.com>
- Sunday, May 28, 2000 at 08:33:18 (EDT)

ดิฉันแสดงความคิดเห็นโดย มิได้อ่านข้อแถลงของ ทั้งฝ่ายสนับสนุน และฝ่ายค้าน ทั้งนี้เพื่อมิให้ ความคิดเห็นของตัวเราเอง คล้อยตามฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งก่อน... โดยในความคิดเห็นส่วนตัว ของดิฉันแล้ว คิดว่าสนับสนุนค่ะ... เพราะในความรู้สึกของ ผู้ที่ไม่สามารถ รักษาโรคภัยต่างๆ ของตัวเอง ให้หายขาดได้แล้ว มันคงเป็นความรู้สึกที่ ทรมานมากที่สุด โดยที่ผู้อื่น ไม่สามารถเข้าใจได้อย่างลึกซึ้ง ดังนั้น เราจึงควรทำให้เขา ได้หลุดพ้นไปจาก สภาพที่ทรมานเหล่านั้นดีกว่า
ชนาธิป เงินทวีคูณ <nuchy71@yahoo.com>
- Saturday, May 27, 2000 at 05:26:26 (EDT)

เห็นด้วย เป็นสิทธิของผู้ป่วย เพื่อประโยชน์ทางสังคมหลายๆ ด้าน
สิทธา สภาวจิตร <sitta-s@hotmail.com>
- Thursday, May 25, 2000 at 23:43:40 (EDT)

เรื่องนี้ เป็นเรื่องที่ผม เคยมีประสบการณ์ ที่เคยเห็นการตัดสินใจ ทำการุณยฆาตมาแล้ว เมื่อเพื่อนผม ประสบอุบัติเหตุ รถมอเตอร์ไซด์คว่ำ ทำให้ได้รับ ความกระทบกระเทือนทางสมอง เป็นเจ้าชายนิทรา แม่ตัดสินใจ ให้คุณหมอ ดึงสายออกซิเจนออก เพื่อส่งให้ลูกชาย พ้นความทุกข์มรมาน ถามว่า ถ้าเพื่อนผม ยังอยู่ มีใครบ้างที่ทุกข์ ครอบครัว หรือแม้แต่เพื่อนผม ก็ต้องทนทุกข์ เรื่องนี้ ถ้าคนไข้มีสติตัดสินใจได้ น่าจะเป็นการตัดสินใจของคนไข้ แต่ถ้าไม่ได้ ก็คงต้องเป็นญาติ หมอเป็นผู้ให้คำปรึกษาในเรื่องของ ข้อมูล ความเป็นไปได้ เท่านนั้น เพื่อใช้ในการตัดสินใจ ไม่ควรแสดงความคิดเห็นว่า ทำหรือไม่ทำ คนเรา ควรมีสิทธิเลือกว่า จะอยู่ หรือ ตาย ไม่ไช่หรือครับ
กิตติ พฤกษ์แก้วกาญจนา <boyyy@thaimail.com>
- Wednesday, May 24, 2000 at 13:00:56 (EDT)

สนับสนุน
นายสุชาติ จันทร์ทะวงค์ <s422230858@.hotmail.com>
- Tuesday, May 23, 2000 at 09:14:35 (EDT)

บาป ช่างหัวมัน! ความตายไม่ใช่เรื่องเล่น จริงอยู่ความคิดอยากตายบางครั้ง เป็นเพียงชั่วแล่น แต่ชีวิต และการตัดสินใจ ไม่มีใครมาบงการ และรับผิดชอบให้ ถ้าใครอยากตาย แล้วยื่นปืนมาให้ผม นั่นหมายความว่า เขาอดทนมาถึงที่สุด และตัดสินใจอย่างรอบคอบที่สุดแล้ว แน่นอน ผมจะจ่อปากกระบอกปืนกลางหัว ยิงทะลุกระหม่อมให้เขาเอง และถ้าเหตุผลนี้ ทำให้ผมเป็นคนบาป ผมไม่แคร์!
คนนอกคอก <ืnarin135@hotmail.com>
- Tuesday, May 23, 2000 at 00:09:39 (EDT)

ผมสนับสนุนฝ่ายค้านครับ
Thanat Limpanich <molimpanich@hotmail.com>
- Sunday, May 21, 2000 at 03:42:48 (EDT)

ผมเห็นด้วยในแนวคิด แต่ต้องระวังเพราะ อาจเป็นดาบสองคม ให้หมอที่ไร้จรรยาบรรณ หาผลประโยชน์จากคนไข้ โดยเฉพาะกรณีที่คนไข้สมองตาย แต่อวัยวะส่วนอื่น สามารถนำไป 'บริจาค' ให้แก่ผู้ป่วยอื่นได้
พรศักดิ์ <psb@bangkok.com>
- Saturday, May 20, 2000 at 23:09:18 (EDT)

ถ้าแน่ใจว่า ไม่มีทางรอดแน่ ก็เห็นด้วย หรือรอด แต่ต้องอยู่อย่างทรมาน มากกว่าเป็นสุข ก็เห็นด้วย
นางแสงรุ้ง พูลสุวรรณ <rainbow2@ksc.th.co>
- Wednesday, May 17, 2000 at 09:43:52 (EDT)

no comment for the best way. can evaluate youself.
i'm kan. <karl@asiafind.com>
- Tuesday, May 16, 2000 at 08:54:25 (EDT)

I do study for this topic long time. And once I just tried this one case with my member of family. I know that this will be cruel for someone who will loss thier lovers. But it's fact, a fact of nature that no one is eternity.
Utai Sukviwatsirikul <BAT.U@chaiyo.com>
- Monday, May 15, 2000 at 22:46:17 (EDT)

ไม่เห็นด้วย เพราะว่า การฆ่ามนุษย์นั้นเป็นบาป ถึงแม้คนไข้เอง จะบอกให้ฆ่าก็ตามเถอะ ถ้าคุณเป็นแพทย์ หรือหมอ ไม่ควรจะทำลายชีวิต ของบุคคลอื่น เพราะคำว่า หมอ หรือแพทย์นั้น มีหน้าที่รักษา พยายาบาล เยียวยา ให้คนป่วย หายจากโรคร้าย ถ้าหมอฆ่าคนไข้ ก็ไม่สมควรจะเรียกว่า "หมอ" หรือว่า "แพทย์" ควรจะเรียกว่า ฆาตกร มากกว่า การวินิจฉัยโรค เป็นหน้าที่ของหมอ แต่ความตายนั้น เป็นเรื่องของธรรมชาติ หรือเรียกว่า "กฏแห่งกรรม" ไม่ใช่ให้หมอวินิจฉัยว่า คนนี้ สมควรตาย เพราะไม่มีโอกาสที่จะ รักษาโรคนั้นให้หายได้...... ถ้าเป็นอย่างนี้ ..ก็จะทำให้คนนั้น ฆ่าคนมากยิ่งขึ้น เพราะถือว่า คนเป็นโรค ไม่มีทางรักษาหาย จะต้องตายอย่างเดียว ถ้าอย่างนี้ ก็ฆ่ากันมากขึ้นนะสิ แล้วเราแน่ใจได้ไงว่า โรคนี้ ไม่ทางที่จะรักษาหายได้ละ คุณหมอแน่ใจได้กี่เปอร์เซนต์ ว่าจะไม่มีโอกาสหาย เป็นโรคนี้แล้ว ทุกคนจะต้อง ตายหมดทุกคนหรือป่าว หรือว่ามีรอดบ้างละ และขอสนุนสนับว่า ไม่เห็นด้วย ถึงแม้จะ ใช้จ่ายมากแค่ไหน ก็ควรรักษาชีวิตมนุษย์เอาไว้ จนถึงวินาทีสุดท้ายดีกว่า
m.an <anyarathman@hotmail.com>
- Sunday, May 14, 2000 at 21:17:13 (EDT)

ตัดสินใจได้ยากมาก ความจริง การตัดสินใจ ขึ้นอยู่กับคนไข้เป็นสำคัญ
p.k.
- Sunday, May 14, 2000 at 02:57:46 (EDT)

ไม่เห็นด้วยให้มีการฆ่า ด้วยความกรุณา เพราะถ้าเราพิจารณาจาก ศีลข้อที่ 1 คุณก็ไม่สามารถ ทำอะไรได้แล้ว ดังนั้นทุกชีวิตที่เกิดมา ต้องตายด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น ต่างกันก็แต่ จะตายด้วยวิธีใด การที่จะให้หมอ หรือบุคคลอื่น แม้แต่ตัวเอง ฆ่าตัวตาย ก็มิอาจจะกระทำได้ เพราะเป้นการทำบาป หากผู้ใดกระทำสิ่งใด ก็จะได้สิ่งนั้นตอบแทน ประการที่สอง การที่บุคคลใดๆ ป่วย ก็เป็นทุกข์กรรมของ บุคคลนั้นๆ ไม่มีข้อยกเว้น สัตว์ทุกชนิดบนโลก จึงเลี่ยงไม่ได้ ก็ต้องตายโดยธรรมชาติ จากเหตุผลทั้งสองประการ ข้าพเจ้าจึงไม่เห็นด้วย
นายพัฒน์พงษ์ เตชาทวีวรรณ <patpong_t@hotmail.com>
- Saturday, May 13, 2000 at 02:53:59 (EDT)

ถ้าหากเป็น ความต้องการของผู้ป่วย ซึ่งถือว่าเป็นสิทธิ์ส่วนบุคคล เราควรทำตาม ความประสงค์ ของผู้ป่วยนั้น
ธีรพล สืบเวชกุล <dheraphol@hotmail.com>
- Friday, May 12, 2000 at 21:34:28 (EDT)

ดิฉันเห็นว่า การทำการุณยฆาตนั้น หากจะเกิดขึ้นจริง ก็คงจะต้องเป็น ความประสงค์ของ ตัวคนไข้เอง หรืออย่างน้อย หากว่าคนไข้ ไม่สามารถรับรู้ใดใดได้แล้ว ก็คงต้องเป็นเรื่องของ ครอบครัวของคนไข้ หรือญาติสนิทของคนไข้ ที่จะเป็นผู้เอ่ยปาก บอกกับแพทย์ โดยส่วนตัวแล้ว คุณปู่ของดิฉัน เป็นอัมพาตมา ประมาณ6ปี แต่ก็ไม่มีใครที่จะ สามารถตัดใจ ให้แพทย์ลงมือทำ การุณยฆาตได้ ดิฉันซึ่งเป็นเด็ก ก็ได้แต่มองคุณปู่ ด้วยความหดหู่ ซึ่งก็คงไม่แพ้ไปจาก คนอื่นในครอบครัว เท่าไรนัก การที่เรารักเค้า อยากให้เค้าอยู่กับเรานานๆ แต่มันเป็นการทรมานเค้ารึเปล่า จึงไม่แน่ใจว่า เรื่องนี้ เป็นเรื่องที่สมควรทำหรือไม่
ลืมบอกไปว่า คุณปู่ดิฉันเสียไปแล้ว เมื่อสามปีที่ผ่านมา เค้าไม่มาทรมาน อีกต่อไปแล้วล่ะค่ะ คิดถึงปู่
niramon s.
- Monday, May 08, 2000 at 16:26:50 (EDT)
 
 สนับสนุน หรือ คัดค้าน
การุณยฆาต : ฆ่าด้วยความกรุณา

นักศึกษากับ การประกวดนางงาม โอกาสที่ยั่งยืน หรือเย้ายวน
สารบัญ | จากบรรณาธิการ | ๑๐๐ ปีของสามัญชนนาม ปรีดี พนมยงค์ | ช่วงหนึ่งแห่งชีวิต ท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ | ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ ท่านปรีดีฯ และกรณีสวรรคต | บาร์ออกซิเจน | เพศที่ทำงานหนัก | "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว" : ปฏิบัติการลับของ สื่อมวลชน | ยูคาฯ ๗.๕ แสนไร่ : การรุกคืบครั้งใหญ่ ของพืชเจ้าปัญหา | เฮโลสาระพา

Pridi Banomyong, an Ordinary Man: A Hundred Years | Use Thai Cloth

สำนักพิมพ์ สารคดี | สำนักพิมพ์ เมืองโบราณ | วารสาร เมืองโบราณ | นิตยสาร สารคดี
[ วิริยะบุคส์ | มีอะไรใหม่ | เช่าสไลด์ | ๑๐๘ ซองคำถาม | สมาชิก/สั่งซื้อหนังสือ | WallPaper ]

ขึ้นข้างบน (Back to Top) นิตยสาร สารคดี (Latest issue) email