Click here to visit the Website
กลับไปหน้า สารบัญ โครงการขุดคอคอดกระ ฝันดีหรือฝันร้ายของนักลงทุน
ส นั บ ส นุ น

ดร. สมภพ มานะรังสรรค์ อาจารย์ประจำคณะ เศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ดร. สมภพ มานะรังสรรค์
อาจารย์ประจำคณะ เศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • โครงการนี้จะช่วยเพิ่ม ศักยภาพทางเศรษฐกิจ ในระยะยาว

  • คนไทยอีก ๒-๓ ล้านคน จะมีงานทำเพิ่มขึ้น ตลอดระยะเวลา ในการก่อสร้าง อย่างน้อย ๑๐ ปี

  • ประเทศไทย จะกลายเป็น ศูนย์กลาง การเดินเรือ และการลงทุน ของภูมิภาคนี้

    "การตัดสินใจสร้างคอคอดกระ จะต้องคำนึงถึงความเป็นไปได้หลาย ๆ ด้าน ตั้งแต่เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม วิศวกรรม และความมั่นคง จากการประเมินที่ผ่านมา ผมคิดว่าด้านเศรษฐกิจ มีความเป็นไปได้มากกว่าด้านอื่น ๆ เพราะการขุดคลองกระ เพื่อเชื่อมระหว่างสองทวีป จะทำให้ ไทยมีโอกาสเป็น ศูนย์กลางการเดินเรือ ที่สำคัญของภูมิภาคนี้ และศักยภาพทางเศรษฐกิจ ของไทย จะเพิ่มมากขึ้น ที่ผ่านมา การพัฒนาเศรษฐกิจของไทย ยังไม่โดดเด่น และโอกาสที่จะ พัฒนามากไปกว่านี้ มีน้อยมาก เพราะเราไม่มีศูนย์กลางการเดินเรือ หรือศูนย์กลางการบินของโลก อย่างสิงคโปร์หรือฮ่องกง การที่เราจะพัฒนาเศรษฐกิจ ให้ไกลกว่านี้ จำเป็นต้อง มีปัจจัยกระตุ้น ให้เกิดการค้า และการลงทุนมากขึ้น ซึ่งผมคิดว่าโครงการนี้ จะช่วยเพิ่มศักยภาพ ทางเศรษฐกิจของไทย ทั้งในระยะสั้น และระยะยาว
    "ถ้ามองผลประโยชน์ระยะสั้น โครงการนี้จะช่วยแก้ปัญหาการว่างงาน ทำให้คนว่างงานจำนวน ๒-๓ ล้านคน มีงานทำเพิ่มขึ้น ตลอดระยะเวลา การก่อสร้าง อย่างน้อย ๑๐ ปี ส่วนคนไทยที่มีเงินออมอยู่ในธนาคาร ซึ่งกำลังประสบปัญหาดอกเบี้ยเงินฝากต่ำ ก็สามารถนำเงินมาลงทุน ซื้อหุ้นโครงการนี้ได้ เพราะโครงการนี้เป็นโครงการที่น่าลงทุน เป็นโครงการที่มีศักยภาพ ในระยะยาว และสร้างกิจกรรมต่อเนื่องได้มาก
    "ในระยะยาว หลังจากที่มีการขุดคลองกระแล้ว ก็อาจจะมีโครงการต่อเนื่อง เช่น การสร้างท่าเรือ ซึ่งเมื่อเป็นเช่นนั้น โอกาสที่ประเทศไทยจะกลายเป็น ศูนย์กลางการเดินเรือของโลก ก็มีความเป็นไปได้ เพราะประเทศไทย อยู่ระหว่างอนุทวีป ที่ยังด้อยพัฒนา และมีประชากรครึ่งหนึ่งของโลก อาศัยอยู่ คือชมพูทวีป ซึ่งประกอบด้วยอินเดีย ปากีสถาน ศรีลังกา และเอเชียตะวันออก ซึ่งประกอบด้วยจีน พม่า ลาว เวียดนาม และอีกหลายประเทศ การพัฒนาประเทศเหล่านี้ จำเป็นต้องอาศัย การขนส่งทางทะเล เพื่อส่งสินค้าออกสู่ตลาดโลก เห็นได้จากขณะนี้จีนเริ่มมี โครงการพัฒนาด้านตะวันตกเฉียงใต้ ทางมณฑลเสฉวน มณฑลกวางสี มณฑลยูนนาน และอีกหลายมณฑล โดยมุ่งผลิตสินค้า และพัฒนาท่าเรือเปยไห่ ให้ได้มาตรฐาน เพื่อรองรับ การขนส่งสินค้าจำนวนมหาศาล และเนื่องจากประเทศเหล่านี้มีแรงงาน และสินค้าราคาถูก ซึ่งเป็นที่ต้องการของทั่วโลก ในอนาคต เมื่อการซื้อขายสินค้าไร้พรมแดน มีการซื้อขายผ่านทางอินเทอร์เน็ต ประเทศที่มีสินค้าราคาถูก จะเป็นที่ต้องการของตลาดโลก จึงมีแนวโน้มว่า เส้นทางขนส่งสินค้าทางเรือด้านนี้ จะคึกคักมาก ถ้าเผื่อเราขุดคอคอดกระ เป็นผลสำเร็จ เราก็จะกลายเป็นศูนย์กลาง การขนส่งทางเรือที่สำคัญของภูมิภาคนี้
    "หลายคนเป็นห่วงว่า เมื่อสร้างคอคอดกระแล้ว จะไม่มีเรือมาใช้บริการ เพราะมีเส้นทางมะละกา ซึ่งเป็นเส้นทางเก่าอยู่ก่อนแล้ว และคอคอดกระช่วยย่นระยะทางจากเดิม ที่เคยผ่านช่องแคบมะละกา เพียงแค่หนึ่งถึงสองวันเท่านั้น ต่างจากคลองสุเอซ และคลองปานามา ซึ่งช่วยย่นระยะทางหลายพันกิโลเมตร ที่ต้องใช้เวลาเดินทางเป็นสิบ ๆ วัน แต่ผมอยากให้มองยาวไปถึง ๑๐-๒๐ ปีข้างหน้า ซึ่งทั่วโลกติดต่อซื้อขายกัน ทางอินเทอร์เน็ต และต้องการความรวดเร็ว ในการขนส่งสินค้า เรือมีความทันสมัย และเดินทางได้รวดเร็วขึ้นมาก เวลาเพียงหนึ่งถึงสองวัน จึงมีความหมายมากขึ้นเรื่อย ๆ
    "อีกประเด็นหนึ่ง ที่ผมอยากให้มองคือ ศักยภาพของช่องแคบมะละกา ซึ่งสามารถให้เรือวิ่งผ่านได้เต็มที่ ๒ แสนลำต่อปี ถ้าหากมีเรือเพิ่มขึ้นมากกว่านี้มาก ๆ ก็จะรองรับไม่ไหว ปัจจุบันช่องแคบมะละกา มีเรือวิ่งผ่านประมาณ ๑๘๐,๐๐๐ ลำต่อปี หากคำนวณอัตราการขยายตัว ของการขนส่งทางเรือที่ผ่านมา จะพบว่า ทุก ๆ ๑๐ ปี การขนส่งทางเรือของโลก จะขยายตัวเพิ่มขึ้นหนึ่งเท่า ในอนาคตจำนวนเรือ จะต้องมากเกินศักยภาพ ที่ช่องแคบมะละกาจะรับได้ ดังนั้นโอกาสที่เรือจะวิ่งผ่าน คอคอดกระของไทย ก็จะมีเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน และทุกวันนี้เส้นทางช่องแคบมะละกา ก็มีปัญหาเรื่องโจรสลัด และปัญหาเกี่ยวกับ ความมั่นคงทางการเมือง ของประเทศอินโดนีเซีย และประเทศในแถบเกาะสุมาตรา ค่อนข้างมาก การขุดคอคอดกระ จะช่วยให้นักเดินเรือ มีทางเลือกที่ปลอดภัยมากขึ้น
    "สำหรับประเด็นที่ทำให้โครงการนี้ มีความเป็นไปได้น้อยที่สุด คือด้านสิ่งแวดล้อม เพราะหากโครงการนี้ สร้างผลกระทบต่อแหล่งท่องเที่ยว ที่ทำรายได้ปีละมหาศาล อย่างภูเก็ต พังงา หรือเกาะสมุย ก็คงไม่คุ้มกัน ดังนั้นก่อนการดำเนินโครงการนี้ ควรทำการศึกษาให้รอบด้าน และทำประชาพิจารณ์ เพื่อรับฟังเสียงของประชาชน
    "ส่วนเงินทุนสำหรับดำเนินโครงการ ๘ แสนล้านบาทนั้น ผมคิดว่าไม่มีปัญหา เพราะมีหลายประเทศ ที่ต้องการร่วมลงทุน ไม่ว่าจะเป็นญี่ปุ่น จีน ซึ่งเป็นประเทศที่ต้องการ ใช้น้ำมันปริมาณสูง และประเทศที่ต้องการขายน้ำมัน อย่างกลุ่มประเทศอาหรับ ประเทศเหล่านี้ ต้องการใช้เส้นทาง คอคอดกระของไทย ในการเดินเรือบรรทุกน้ำมัน จึงพร้อมจะร่วมลงทุน ในรูปแบบสัมปทาน หลายคนมองว่า ค่าสัมปทานที่ได้รับ อาจไม่คุ้มค่ากับการลงทุน แต่ผมไม่อยากให้มองเพียงเท่านั้น เพราะหากมองศักยภาพทางเศรษฐกิจอื่น ๆ ที่ตามมาผมคิดว่าคุ้ม เพราะโครงการนี้ เป็นโครงการที่จะช่วยให้เรา แก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ ในระยะยาวได้อย่างเป็นระบบ และสามารถสร้างกิจกรรมต่อเนื่องได้มาก"

  อ่านคัดค้าน คลิกที่นี้
ดร. กมลชนก สุทธิวาทนฤพุฒิ
ผู้อำนวยการ สถาบันพาณิชยนาวี จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย

click hereอ่าน (ฝ่ายคัดค้าน) คลิกที่นี่

แล้วคุณล่ะ สนับสนุน หรือ คัดค้าน !


แ ส ด ง ค ว า ม คิ ด เ ห็ น เ พิ่ ม เ ติ ม

ชื่อ-สกุล: *
E-Mail:
แสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม *
*

 

สนับสนุน หรือ คัดค้าน
โครงการ ขุดคอคอดกระ ฝันดีหรือฝันร้าย ของนักลงทุน

การุณยฆาต : ฆ่าด้วยความกรุณา
สารบัญ | จากบรรณาธิการ | การมาถึงของ "นักรบสายรุ้ง" : จากตำนานสู่ความเป็นจริง | ทวีปเลื่อน-แผ่นดินไหว ภัยที่ไม่อาจพยากรณ์ | กำเนิดตึกระฟ้า | ปีท่องเที่ยวกับเจ้า (ลาว) | ผู้หญิงสิงคโปร์ | ทาเคชิ คิตาโน หนังยากูซ่าสายพันธุ์ใหม่ | เฮโลสาระพา

Arrival of the Rainbow Warrior: From Legend to Reality | Continental Drift, Earthquake: Unpredictable Dangers

สำนักพิมพ์ สารคดี | สำนักพิมพ์ เมืองโบราณ | วารสาร เมืองโบราณ | นิตยสาร สารคดี
[ วิริยะบุคส์ | มีอะไรใหม่ | เช่าสไลด์ | ๑๐๘ ซองคำถาม | สมาชิก/สั่งซื้อหนังสือ | WallPaper ]

ขึ้นข้างบน (Back to Top) นิตยสาร สารคดี (Latest issue) E-mail