|
|
เรื่องจากปก
|
ภาพปก : ประเวช ตันตราภิรมย์ |
|
ประวัติศาสตร์ สุริโยไท
บทสนทนาอันไม่รู้จบระหว่างปัจจุบันกับอดีต
"เมื่อสมเด็จพระมหาจักรพรรดิเจ้า เสด็จออกไปรบศึกหงสานั้น สมเด็จพระอัครมเหสี และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอพระราชบุตรี เสด็จทรงช้างออกไปโดยเสด็จด้วย และเมื่อได้รับศึกหงสานั้น ทัพหน้าแตกมาปะทัพหลวง เป็นโกลาหลใหญ่ และสมเด็จพระอัครมเหสี
และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอพระราชบุตรีนั้น ได้รบด้วยข้าศึกถึงสิ้นพระชนม์บนคอช้างนั้น"
พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา
ฉบับหลวงกระเสริฐฯ
.......................................
การณ์คับขันคราพระสุริโยไท อาสาออกศึกหงสาที่ทุ่งมะขามหย่อง กับเวลาทางประวัติศาสตร์ ๔๕๓ ปีที่ล่วงผ่าน เคลื่อนมาบรรจบกันอีกครั้ง ในภาพยนตร์ที่เป็นมหากาพย์
แห่งการถ่ายโอนอำนาจของราชสำนักอยุธยา
และเพื่อย้ำกับเราว่า "วีรกรรมพระสุริโยทัย" คือสัญลักษณ์แห่งความกล้าหาญ เสียสละของสตรีที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ในสังคมวัฒนธรรมไทย
...เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นช่วงหลังจากกรุงศรีอยุธยา ได้รับสถาปนาเป็นศูนย์กลางของราชอาณาจักรสยามได้เกือบ ๒ ศตวรรษ เป็นช่วงที่พระนครติดต่อค้าขายกับต่างประเทศเจริญรุ่งเรือง มีรายได้เป็นทองคำนับสิบล้านบาท ขณะเดียวกันก็เกิดศึกทั้งภายในภายนอกไม่ว่างเว้น นับจากปีพ.ศ.๒๐๖๙-๒๐๙๑ ช่วงเวลา ๒๓ ปี มีพระเจ้าแผ่นดินผลัดเปลี่ยนกันครองราชสมบัติ ๖ รัชกาล เกิดศึกใหญ่กับพม่า ๒ ครั้ง
ย่อมแสดงถึงความไม่ปกติสุข ของพระราชอาณาจักรได้อย่างชัดเจน
ขณะที่เจ้านายเชื้อสายราชวงศ์ละโว้-อโยธยา ได้อาศัยเงื่อนไขการปกครองแบบรวมอำนาจสู่ศูนย์กลาง พยายามฟื้นฟูราชวงศ์ของตนขึ้นใหม่ ฝ่ายเจ้านายราชวงศ์สุโขทัย
ได้ถือโอกาสร่วมมือกับกลุ่มอื่น ๆ กำจัดราชวงศ์ละโว้-อโยธยา แล้วคืนอำนาจให้เชื้อสายราชวงศ์สุพรรณภูมิ คือพระมหาจักรพรรดิครองแผ่นดินสืบไปดังเดิมนั้น พระเจ้าตะเบ็งชเวตี้ กษัตริย์พม่าราชวงศ์ตองอูรู้ข่าวจึงยกไพร่พลมาประชิดพระนคร ด้วยเห็นว่าจะโจมตีเอาโดยง่าย
เหตการณ์ที่เกิดทั้งปวง นำมาสู่การเปลี่ยนแปลงในพระชนม์ชีพ ของสตรีสูงศักดิ์แห่งราชสำนักอยุธยา สองพระองค์ คือท้าวศรีสุดาจันทร์ และพระสุริโยทัย
............................................................................
หม่อมเจ้าชาตรี เฉลิม ยุคล ผู้กำกับฝีมือเอกของไทย จับความเป็นไปในประวัติศาสตร์ช่วงนี้มาเขียนเป็นบทภาพยนตร์ สุริโยไท โดยประกาศเจตนารมณ์ว่า
ต้องการสร้างภาพยนตร์อิงประวัติศาสตร์ ที่มีความสมจริงที่สุด ทั้งในแง่ของลำดับเวลา สถานที่ เหตุการณ์ ตัวละคลหรือบุคคลในประวัติศาสตร์ เครื่องแต่งกาย พระราชพิธี อาวุธสงคราม ตลอดจนวิถีชีวิตของผู้คน
จึงใช้เวลาศึกษาข้อมูล เขียนบทภาพยนตร์ถึง ๕ ปี กับเวลาอีก ๒ ปีเต็มสำหรับการถ่ายทำ โดยมีนักประวัติศาสตร์ให้คำปรึกษา ทำให้ สุริโยไท กลายเป็นประวัติศาสตร์เกือบทุกด้านของภาพยนตร์ไทย
สุริโยไท จะเป็นภาพยนตร์ประวัติศาสตร์ ที่สมจริง และบันเทิงอารมณ์เพียงใด ย่อมอยู่ที่ดุลยพินิจของผู้ชม แต่โดยตัวของภาพยนตร์เอง เนื้อหาซึ่งเกิดจากการแปลความอดีต และผลิตซ้ำอุดมการณ์เกี่ยวกับชาติ
-- ท่ามกลางสภาพความเป็นไปปัจจุบัน เสียงกึกก้องจากภาพยนตร์ จึงบอกย้ำเราอีกครั้งว่า บทสนทนาระหว่างปัจจุบันกับอดีตนั้น เป็นบทสนทนาอันไม่เคยรู้จบ |
สารคดีพิเศษ
|
|
|
สุริโยไท
บทสนทนาอันไม่รู้จบระหว่างปัจจุบันกับอดีต
ชาวไทยรู้จัก "พระสุริโยทัย" เป็นอย่างดี ในฐานะวีรสตรีผู้สละพระชนม์ชีพ เพื่อปกป้องกษัตริย์ผู้เป็นพระสวามี และเกียรติภูมิของชาติ
หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล ผู้กำกับฝีมือเอกของไทย จับความเป็นไปในประวัติศาสตร์ช่วงนี้มาสร้างภาพยนตร์ สุริโยไท
โดยประกาศเจตนารมณ์ว่าต้องการสร้างภาพยนตร์อิงประวัติศาสตร์ ที่มีความสมจริงที่สุด และใช้เวลาศึกษาข้อมูลเขียนบทภาพยนตร์ถึง ๕ ปี อาศัยหลักฐานอ้างอิงจากพระราชพงศาวดาร บันทึกเกือบทั้งหมดที่มี โดยมีนักประวัติศาสตร์ชั้นแนวหน้าเป็นที่ปรึกษา ใช้ทุนสร้างมากมหาศาลเป็นประวัติการณ์ถึง ๔๐๐ ล้านบาท
นอกจากอรรถรสความบันเทิง ภาพประวัติศาสตร์นี้จะจุดประกายความคิด ทำให้เกิดการถกเถียงตามมาว่า "อะไรคือความเป็นจริงทางประวัติศาสตร์"
อ่านต่อคลิกที่นี้
|
|
|
สิ่งมหัศจรรย์อันดับ ๘ ของโลก
ที่บานาเว
ภาพนาข้าวขั้นบันไดที่ทอดตัวลดหลั่น อยู่บนเชิงผาสูงชันราวกับอัฒจันทร์ยักษ์ อาจเป็นภาพที่หลายคนเคยเห็นจนเจนตา หากความน่าทึ่งของมันนั้นอยู่ที่ว่า
นาข้าวขั้นบันไดแห่งนี้ ถือกำเนิดขึ้นเมื่อราว ๓,๐๐๐ ปีก่อน จากการบากเซาะแนวภูเขาด้วยมือเปล่า และเครื่องมือแบบโบราณ โดยชนเผ่าที่ซ่อนตัวจากการรับรู้ของโลกภายนอก
มาเป็นเวลาเกือบ ๓,๐๐๐ ปี
นาข้าวขั้นบันไดแห่งบานาเว เพิ่งเผยตัวออกสู่การรับรู้ของโลกภายนอก เมื่อราว ๑๐๐ ปีก่อน พื้นที่นากว้างขวางกว่า ๓,๐๐๐ ตร.กม.
และแนวคันนายาวเหยียดชนิดที่หากนำมาเรียงต่อกัน จะได้ความยาวเป็นครึ่งหนึ่งของระยะทางรอบโลก ทำให้ผู้ที่ได้พบเห็นต่างพากันยกย่อง ให้มันเป็นสิ่งมหัศจรรย์อันดับ ๘ ของโลก
วันนี้ ทิวทัศน์อันน่าอัศจรรย์แห่งบานาเว กลายเป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญ ของฟิลิปปินส์ มาดูกันว่า อัฒจันทร์ยักษ์แห่งนี้จะสามารถต้านทานต่อกระแสการท่องเที่ยว
เหมือนที่เคยยืนหยัดท้าทายกาลเวลา และแผ่นดินไหวนับครั้งไม่ถ้วน มาจนถึงวันนี้ได้หรือไม่
|
|
|
ชีวิตในโลกแมลงของนักอนุกรมวิธาน
ดร. องุ่น ลิ่ววานิช
ทั่วโลกมีแมลงจำนวนไม่น้อยกว่า ๑.๕ ล้านชนิด แมลงบางชนิดก่อปัญหาให้มนุษย์ ทำลายพืชไร่ เป็นพาหะนำโรค แต่แมลงหลายชนิด ก็มีประโยชน์ต่อมนุษย์มาก และเป็นสัตว์ที่สำคัญต่อธรรมชาติ ...ด้วยเหตุนี้
เราจึงจำเป็นต้องมีนักอนุกรมวิธาน คอยเก็บตัวอย่างแมลง เพื่อนำมาจำแนกชื่อวิทยาศาสตร์ และเก็บรวบรวมไว้ในพิพิธภัณฑ์ จัดทำเป็นฐานข้อมูลไว้ใช้ประโยชน์
ดร. องุ่น ลิ่ววานิช เป็นหนึ่งในนักอนุกรมวิธานแมลง จำนวนไม่กี่คนของไทย ที่ทำงานด้านนี้มากว่า ๓๐ ปี ด้วยเหตุที่การสำรวจหาชื่อชนิดแมลง
เป็นจุดเริ่มต้นของการแก้ปัญหาต่าง ๆ เกี่ยวกับแมลง ดร. องุ่น จึงมักเข้าไปเกี่ยวข้องกับเรื่องวุ่น ๆ ที่มีแมลงเป็นต้นเหตุอยู่หลายครั้ง อาทิ กรณีฝนเหลืองแถวจังหวัดสกลนคร กรณีลูกค้ามีปัญหากับไก่ทอดของบริษัทฟาสต์ฟูดชื่อดัง
หรือกรณีระดับอินเตอร์ระหว่างบริษัทผู้ส่งออกชาวไทย กับลูกค้าชาวญี่ปุ่น
วิชาความรู้เรื่องแมลงของอาจารย์องุ่น จะช่วยคลี่คลายข้อขัดแย้งเหล่านี้ได้อย่างไร...
อ่านต่อคลิกที่นี้
|
Special Attractions |
|
|
Cover:
Pictured here are scenes from the highly-anticipated war epic Suriyothai. In recreating the magnificence of the early Ayutthaya period, M.C. Chatrichalerm's attention to detail, extensive research and sheer patience - preparations for the costumes alone started three years ago - promises to give way to visually extravagant performances.
Vol. 17 No. 198 August 2001 |
|
|
|
|
|
The Legend of Suriyothai:
A Retelling on the Silver Screen
When King Maha Chakraphat left for battle, Queen Suriyothai followed closely behind. As she reached the battlefield, the enemy frontline troops had already advanced forth and collided with His Majesty's troops. Queen Suriyothai immediately rushed herself into the chaotic confrontation, fighting in the fierce battle to her death seated atop her elephant... Although the events surrounding the grand Makham Yong battle are, as such, sparingly chronicled, "Suriyothai" has become synonymous with "heroine". The name conjures up what has today become the legend of one brave woman who gave up her life to protect her husband's life, ensure his reign, and uphold the honor of her Kingdom. On August 17, 2001 in theaters across town, the legend is retold.
Continue: click here
|
|
|
Banaue, Philippines and the Eighth Wonder of the World
It is interesting to note that the Ifugao, long the most prominent hill tribe in Banaue, Philippines, was a community that lacked its own written language, yet possessed enough knowledge in the mechanics of engineering to overcome extremely unfavorable geographical conditions in the country. By chiseling along the length of the mountain range and situating a primitive, natural dike using only their bare hands and a handful of traditional tools, the Ifugao were able to cultivate that land into productive rice fields. They had defied both time and earthquakes, and miraculously created what the rest of the world now refers to as, "the eighth wonder of the world."
Continue: click here
|
|
|
Entomology and Our World
"Classifying insects is extremely important. It is the starting point in uncovering further vital information that may be useful, for example, in the management of agricultural pests. Without knowledge of the type of insect we're dealing with, our use of pesticides becomes inaccurate, our pest management ineffective. Insects come in different shapes and sizes; vary in life span and activities. Some have longer, pointed mouths for sucking, which necessitates the pesticides being injected into the agricultural produce. Other insects simply bite, necessitating the pesticides are sprayed along the leaves and flowers of the agricultural produce..."
Continue: click here
|
|
|
Toulouse Lautrec: Artistic Reflections of Prostitution
Born in 1864 in Albi, southern France, Henri Marie Raymond de Toulouse Lautrec Monfa acquired fame as one of the few truly gifted artists of that period, artistically inspired by what was considered the bane of human existence - poverty, prostitution, and the like. As a result, paintings such as At the Moulin Rouge: the Dance (1890), particularly noted for its use of the brushstroke, reflected the daring vivacity of a nightlife of bars, working girls and liquor as never seen before. Tutored by Leon Bonnat (1833 - 1922) and Fernand Cormon (1845 - 1924), not to mention closely acquainted with Vincent Van Gogh (1853 - 1890), Lautrec's artistic visions were an expression of those influences, which had ultimately fused to create a unique personal style.
|
|
|
|
ทำงานไป เดินไป
"เพื่อนหมูฯ" |
|
|