Click here to visit the Website

ป ร ะ ก า ศ ผ ล ก า ร ป ร ะ ก ว ด บ ท ค ว า ม
Sorry, your browser doesn't support Java. บทความรางวัลชนะเลิศ
ทำไมไอน์สไตน์จึงสมควรได้รับการยกย่อง ให้เป็นบุคคลแห่งศตวรรษที่ 20
โดย ศุภฤกษ์ อัศววิภาพันธุ์ โรงเรียนอัสสัมชัญ (กรุงเทพฯ) กทม.
พอลลีน คอช มารดาของไอน์สไตน์ (คลิกเพื่อดูภาพใหญ่)

     ในคริสต์ศตวรรษที่ 20 เป็นยุคแห่งวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าล้ำสมัย และได้รับการพัฒนาอย่างรวดเร็ว ก่อให้เกิดแนวคิด ทฤษฎีและหลักการใหม่ๆ รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ ที่อำนวยความสะดวกให้แก่มนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นทางด้านการสื่อสาร3และโทรคมนาคม การคมนาคม ชีวิตความเป็นอยู่ ด้านการแพทย์และสาธารณูปโภคต่างๆ เช่น คอมพิวเตอร์ การส่งยานอวกาศออกไปสำรวจดาวต่างๆ การใช้แสงเลเซอร์ในการผ่าตัดผู้ป่วย การตรวจโรคโดยใช้รังสี การผลิตด้วยเครื่องจักร การใช้หุ่นยนต์ในการช่วยเหลือกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ การสื่อสารด้วยใยแสงนำแก้ว เป็นต้น สิ่งเหล่านี้เป็นผลอันเนื่องมาจากการนำกฎ หลักการ และทฤษฎีต่างๆ ทางวิทยาศาสตร์ มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างมากมายมหาศาล โดยกลุ่มนักวิทยาศาสตร์ต่างๆ ทั่วโลกได้ช่วยกันคิดค้นและพัฒนา จนกลายเป็นสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน

ระเบิดนิวเคลียร์ Fat Man ซึ่งทิ้งลงเมืองนางาซากิ (คลิกเพื่อดูภาพใหญ่)

     นักวิทยาศาสตร์ที่สมควรได้รับการยกย่อง ให้เป็นบุคคลแห่งศตวรรษที่ 20 นี้ ก็คือ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ผู้คิดค้นทฤษฎีสัมพัทธภาพ ที่เรารู้จักกันดีในสมการทั่วไป E=mc2 ทั้งทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปและทฤษฏีสัมพัทธภาพพิเศษ ซึ่งเป็นผลงานที่โด่งดังที่สุดและเป็นที่รู้จักของนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลก ที่กล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างความเร็วกับเวลา จักรวาลกับอวกาศ และแรงกับความโน้มถ่วง นอกจากนี้ยังมีผลงานที่มีชื่อเสียงทางด้านวิทยาศาสตร์อื่นๆ อีก เช่น คำอธิบายปรากฏการณ์โฟโตอิเล็กทริก คำอธิบายทฤษฎีควอนตัม คำอธิบายการเคลื่อนที่แบบบราวเนียน เป็นต้น จากผลงานชิ้นแรกของเขาเกี่ยวกับ ปรากฏการณ์โฟโตอิเล็กทริกนี้เอง ทำให้ไอน์สไตน์ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ ประจำปี พ.ศ. 2464 และตั้งแต่นั้นมาไอน์สไตน์ก็มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลก ไอน์สไตน์เป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ถือได้ว่าเป็นยอดอัจฉริยะของโลกอย่างแท้จริง ทฤษฎีต่างๆ ที่เขาได้คิดค้นขึ้นมา ล้วนแต่มีความน่าเชื่อถือ และสามารถพิสูจน์ได้ด้วยวิธีการทางคณิตศาสตร์ทั้งสิ้น ผลงานของเขามีขอบเขตกว้างมาก ครอบคลุมตั้งแต่สิ่งที่ใหญ่ที่สุด คือ จักรวาล ลงมาถึงสิ่งที่เล็กที่สุด คือ อะตอม ตลอดชีวิตของไอน์สไตน์ ได้ทุ่มเททั้งแรงกาย และใจให้กับการค้นคว้าทางด้านวิทยาศาสตร์อย่างเอาจริงเอาจัง และผลงานของเขาก็ทำให้นักวิทยาศาสตร์ตะลึงไปทั่วโลก เพราะเหตุที่ว่าไอน์สไตน์มีความกล้าที่จะคิด ในสิ่งที่ผู้อื่นยังไม่สามารถจะคิดค้นได้นั่นเอง

(คลิกเพื่อดูภาพใหญ่)      ชีวิตของไอน์สไตน์ในวัยเด็ก เป็นคนที่หัวรั้นและดื้อ ไม่ชอบกฎระเบียบ และเขามักจะชอบเก็บตัวอยู่คนเดียว หมกมุ่นอยู่กับการอ่านหนังสือทางวิชาการ สาขาวิชาที่เขาสนใจศึกษาเป็นพิเศษก็คือ วิชาคณิตศาสตร์และฟิสิกส์ ด้วยการสนับสนุนจากพ่อและลุงของเขา ทำให้ไอน์สไตน์มีความสามารถ และความชำนาญในสาขาวิชาทั้ง 2 นี้เป็นอย่างดี เมื่อไอน์สไตน์จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยซูริกแล้ว เขาก็ได้สมัครทำงานเป็นอาจารย์สอนคณิตศาสตร์ และฟิสิกส์ แต่ไม่มีสถาบันการศึกษาใดยอมรับเขาเข้าทำงาน เพราะความเป็นคนหัวรั้น และไม่ชอบกฎระเบียบของเขานั่นเอง แต่ต่อมาเขาก็ได้ทำงาน เป็นนายทะเบียนจดลิขสิทธิ์สิ่งประดิษฐ์ที่กรุงเบิร์น ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ไอน์สไตน์จึงมีโอกาส ที่จะได้เห็นความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ และมีเวลาที่จะศึกษาค้นคว้า ในงานทางด้านวิทยาศาสตร์ที่เขาสนใจ นับจากนั้นมา ไอน์สไตน์ก็ได้สร้างผลงานทางวิทยาศาสตร์ ที่สำคัญต่างๆ มากมาย เช่น
     ปรากฏการณ์โฟโตอิเล็กทริก กล่าวถึง คุณสมบัติความเป็นอนุภาคของแสง ที่เรียกว่า โฟตอน ซึ่งพลังงานของโฟตอนจะขึ้นอยู่กับความถี่ของแสง แต่จะไม่ขึ้นอยู่กับความเข้มของแสง เมื่อฉายแสงหรือโฟตอนไปยังโลหะ จะมีการถ่ายทอดพลังงานให้แก่โลหะจำนวนหนึ่ง ทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าขึ้นได้ จากผลงานของไอน์สไตน์ชิ้นนี้ ทำให้ทฤษฎีควอนตัมของมักซ์ พลางค์ มีความหนักแน่นน่าเชื่อถือยิ่งขึ้น และปัจจุบันยังนำไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ อีก เช่น การผลิตกระแสไฟฟ้าจากโรงงานไฟฟ้า การประดิษฐ์ประตูเปิด-ปิดอัตโนมัติ เป็นต้น
กับเอลซา ลอเวนทัล ภรรยาคนที่ ๒ (คลิกเพื่อดูภาพใหญ่)      การเคลื่อนที่แบบบราวเนียน กล่าวถึง การเคลื่อนที่อย่างไม่เป็นระเบียบของโมเลกุลในตัวกลางใดตัวกลางหนึ่ง ทำให้นักวิทยาศาสตร์ค้นพบได้ว่า อะตอมมีจริง และจากทฤษฎีนี้เองได้นำไปสู่การประดิษฐ์เครื่องเลเซอร์ ซึ่งเป็นเครื่องมือที่มีบทบาททางด้านการแพทย์อย่างมากในปัจจุบัน
ทฤษฎีสัมพัทธภาพ มีทั้งภาคพิเศษและภาคทั่วไป กล่าวถึง ความเร็วสัมพัทธ์ที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวกับมวล ขนาด และเวลา สมการ E=MC2 ที่นำไปสู่การผลิตพลังงานนิวเคลียร์อันมหาศาล และความสัมพันธ์ระหว่างแรงกับความโน้มถ่วง ซึ่งในเวลาต่อมา สิ่งที่ไอน์สไตน์คิดค้นขึ้นก็ได้ รับการพิสูจน์จนเป็นที่ยอมรับของนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลก และพลังงานนิวเคลียร์ก็สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในหลายๆ ด้าน เช่น โรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ การผลิตสารกัมมันตรังสีเพื่อการถนอมอาหารและการรักษาทางการแพทย์ การผลิตทั้งทางด้านเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม เป็นต้น
ไอน์สไตน์ในวัย ๗๔ ปี (คลิกเพื่อดูภาพใหญ่)      ผลงานชิ้นสุดท้ายของไอน์สไตน์ที่เขาได้พยายามคิดค้น แต่ยังไม่ประสบความสำเร็จก็คือ ทฤษฎีสนามเอกภาพ หรือทฤษฎีสนามรวม ซึ่งเป็นการรวมแรงในโลกทั้งหมด 4 ชนิดเข้าด้วยกัน คือ แรงแม่เหล็กไฟฟ้า แรงนิวเคลียร์แบบอ่อน แรงนิวเคลียร์แบบเข้ม และแรงดึงดูด แต่ถึงอย่างไรก็ตาม เขาก็ได้เป็นผู้จุดประกายความคิดให้นักวิทยาศาสตร์รุ่นต่อไป นำไปศึกษาค้นคว้าต่อไป
    
จากผลงานทางด้านวิทยาศาสตร์ของไอน์สไตน์ที่คิดค้นขึ้น ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อชาวโลกอย่างมหาศาล ไม่เพียงแต่การประดิษฐ์สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เท่านั้น แต่ทฤษฎีของเขา ยังเป็นการวางพี้นฐานทางด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีให้กับโลกอีกด้วย และด้วยทฤษฎีของไอน์สไตน์นี้เอง จึงทำให้นักวิทยาศาสตร์รุ่นปัจจุบัน สามารถพัฒนาวิทยาศาสตร์ให้ก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว

     นอกจากผลงานทางด้านวิทยาศาสตร์แล้ว ไอน์สไตน์ยังมีความสนใจทางด้านปรัชญา สังคม และศิลปะ เช่น การโต้ตอบทางปรัชญาระหว่างไอน์สไตน์กันนักปรัชญาเมธีชาวอินเดีย ชื่อ รพินทรนาถ ฐากูร ในเรื่องจักรวาล มนุษย์ พระเจ้า และปรัชญาอื่นๆ การเขียนจดหมายโต้ตอบกับมหาตมะคานธี เกี่ยวกับหลักอหิงสาและลัทธิยิวคืนถิ่น เป็นต้น ไอน์สไตน์มีความสามารถทางด้านดนตรี คือ ไวโอลิน ซึ่งเขาสามารถเล่นได้เป็นอย่างดี เพราะแม่ของเขา พยายามถ่ายทอดความเป็นศิลปินให้แก่เขานั่นเอง นอกจากนี้ไอน์สไตน์ยังมีบทบาทในการเรียกร้องสันติภาพ ให้เกิดขึ้นแก่โลกโดยใช้สันติวิธีอีกด้วย

หนังสือ " ไอน์สไตน์ ผู้พลิกจักรวาล"

     แม้ว่าไอน์สไตน์จะสิ้นชีวิตไปจากโลกแล้ว แต่ผลงานที่เขาสร้างสรรค์ไว้ในโลก ทั้งทางด้านวิทยาศาสตร์ ปรัชญา สังคม และด้านอื่นๆ ก็ยังคงปรากฏอยู่ให้เห็นเป็นที่ประจักษ์ และความเป็นอัจฉริยะของเขา ทั้งทางด้านวิชาการและด้านศิลปะ จะคงดำรงอยู่และเป็นที่กล่าวขานของชาวโลก จนกว่าโลกใบนี้จะสูญสลายไปในที่สุด คุณประโยชน์ที่ไอน์สไตน์ได้ทำไว้ ให้แก่โลกมากมายยิ่งนัก ไอน์สไตน์จึงสมควรได้รับการยกย่องให้เป็น บุคคลแห่งศตวรรษที่ 20 นี้อย่างแท้จริง


อ่านบทความ รางวัลที่ ๑ โดย ศุภฤกษ์ อัศววิภาพันธุ์
รางวัลชมเชย นางสาวเขมิกา ธีรพงษ | นางสาวปิยาภัสร์ จารุสวัสดิ์ | นางสาวพิมพ์พร ไชยพร | นายภูมรินท์ สุริยาสาคร | นางสาวยุพิน พิมเสน | นางสาวออมฤทัย เล็กอำนวยพร | นายอุดม นุสาโล

Sarakadee@sarakadee.com
สำนักพิมพ์ สารคดี | สำนักพิมพ์ เมืองโบราณ | วารสาร เมืองโบราณ | นิตยสาร สารคดี
[ วิริยะบุคส์ | มีอะไรใหม่ | เช่าสไลด์ | ๑๐๘ ซองคำถาม | สั่งซื้อหนังสือ ]

สำนักพิมพ์ สารคดี