Click here to visit the Website
กลับไปหน้า สารบัญ ไลเคน ตะไคร่ อันตรายต่อโบราณสถาน (ประเภทหิน) จริงหรือ ?
คั ด ค้ า น

ปองศักดิ์ พงษ์ประยูร อาจารย์ประจำภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ปองศักดิ์ พงษ์ประยูร
อาจารย์ประจำภาควิชา ธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย
  • ไลเคน มีคุณสมบัติที่ดี ในการตัดแสง จึงมีส่วน ช่วยป้องกัน แสงแดด และความร้อน ช่วยลดอัตรา การเสื่อมสภาพของหิน

  • รากของไลเคน เพียงแต่ทำหน้าที่ ยึดเกาะ ไม่ได้ชอนไชเข้าไป เกาะกิน ทำลายเนื้อหิน เพราะถ้าทำลาย ตัวมัน จะหลุดล่อนไปด้วย ไม่อาจปรากฏอยู่ได้เป็น ๔๐-๕๐ ปี 

  • วิธีการขจัดไลเคน จะทำลายเนื้อหิน และทำให้ หินผุพังเร็วขึ้น

  • ตะไคร่หรือสาหร่าย อาจทำลายผิวหินบ้าง แต่น้อยและช้ามาก ทั้งสามารถ กำจัดออกง่ายๆ ในหน้าแล้ง โดยไม่ต้องสูญเสีย งบประมาณ

    "ไลเคนมีส่วนช่วยป้องกันแสงแดดให้หินที่มันขึ้น เหมือนสีที่ทาบ้านเพื่อป้องกันแดด ป้องกันแสงส่วนหนึ่งไม่ให้ผ่านเข้าไป แดดนั้นเป็นตัวการทำลายที่รุนแรงและถาวร ทำให้หินผุพัง โดยแดดทำให้อุณหภูมิเพิ่มขึ้น เม็ดแร่ภายในก้อนหินซึ่งเรียงตัวอย่างไม่เป็นระบบระเบียบและแต่ละแกนมีการขยายตัวไม่เท่ากัน เวลาขยายตัวและหดตัวจะดันกันเองจนแตก เป็นการเริ่มผุพังทางกายภาพ แม้รอยแตกเล็กนิดเดียวแต่พื้นผิวก็จะเพิ่ม จากนั้นน้ำก็เข้ามาเป็นตัวทำละลาย อัตราการผุพังก็เพิ่มขึ้น ถ้าจะลดการผุพังทำลาย ก็...ต้องมีอะไรมาป้องแสงไว้ 
    "โดยทั่วไป ไลเคนจะเกาะบนหินทรายกับหินแปรซึ่งพืชอื่น ๆ ไม่สามารถขึ้นได้ เพราะแทบไม่มีแหล่งอาหาร ไลเคนจะไม่
    เจริญเติบโตมาก กินอยู่ประหยัดพอประทังชีวิตเท่านั้น มันไม่ได้ต้องการน้ำ อาหารก็หาเอาจากอากาศ ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องหยั่งรากลึกลงไปในเนื้อหิน เกาะกินทำลายเนื้อหิน รากเพียงแต่ทำหน้าที่จับยึดผิวหินเท่านั้น เหมือนรากของกล้วยไม้ 
    "ถ้าหากจะทำลายผิวหินก็คงแทบไม่ถึง ๑ มิลลิเมตร ไลเคนเป็นตระกูลเดียวกับพวกเห็ดรา ลองดูราที่ขึ้นบนเลนส์กล้องสิ รากของมันชอนไชลงไปในเนื้อเลนส์ไหม มันแค่เกาะติดอยู่ที่ผิวเท่านั้น ถ้าการยึดเกาะทำให้มันมีชีวิตอยู่ มันจะไปทำลายหินที่เป็นฐานของมันทำไม ถ้ามันทำให้หินผุ ก็จะหลุดล่อนไปกับผิวหินแล้ว เราก็คงไม่มีทางได้เห็น แต่นี่มันเจริญอยู่บนผิวหน้าที่ไม่ได้ลอก ไม่ได้ล่อนถึงอยู่มาได้เป็น ๑๐-๒๐ ปี 
"ไลเคนมีคุณสมบัติในการตัดแสงได้ดีมาก เหมือนเราสวมเสื้อป้องกันแสงแดด หินทรายหรือหินแปรที่มีไลเคนปกคลุม ความร้อนจะผ่านได้น้อยลง การแตกก็ลดลงด้วย ผมสนใจและแปลกใจกับความเป็นอยู่ของไลเคนตั้งแต่ ๓๐ ปีที่แล้วสมัยที่ออกไปศึกษาเรื่องหิน แต่ก็ไม่ได้ศึกษาลึกลงไป ไลเคนนั้นคนมีความรู้เกี่ยวกับมันน้อยมาก แต่ตอนนี้เรากำลังหาว่ามันมีอะไรพิเศษแฝงอยู่ นักวิทยาศาสตร์เพิ่งเริ่มต้นวิจัยหาคุณค่าของมัน ขณะที่บางคนไม่สนใจมันด้วยซ้ำ คิดว่าเป็นตัวการที่ก่อให้เกิดอันตราย โดยเนื้อหาของมัน มันก่ออันตรายไม่ได้ ลองคิดถึงว่าไลเคนสร้างสารคล้ายซีเมนต์เหนียวหนึบยึดอยู่กับผิวของหิน ลมมายังไง ฝนมายังไงไม่หลุด มันไม่ทำลายมากไปกว่านั้น ถ้ามันทำลาย ไลเคนพวกที่อายุ ๔๐-๕๐ ปีจะปรากฏอยู่ไม่ได้ เหมือนกวางที่หลบอยู่ในพุ่มไม้จะไม่ทำลายใบไม้
    "ถ้าไลเคนมีรากชอนไชลงไปลึกถึงขนาดทำให้หินผุได้ ต้องมีหลักฐานที่ใช้อธิบายได้ ต้องทำ thin section-แผ่นหินบาง เพื่อพิสูจน์ว่าสิ่งนี้ทำให้หินผุ โดย หนึ่ง-จะต้องให้เห็นไลเคนอยู่ที่ผิวของหิน สอง-จะต้องแสดงให้เห็นรากของไลเคนที่ลึกลงไปในทราย ไม่ใช่แค่ทรายหนึ่งเม็ด แต่เป็นสองสามเม็ด ถ้าเห็นว่ามีราก มีช่องว่างอยู่มากก็จะพอพูดได้ว่าทำให้หินผุ ซึ่งผมไม่คิดว่าจะเห็นรากไลเคนชอนไชในหิน ส่วนในรูปถ่าย
    ที่นำมาแสดงซึ่งไม่บอกอะไรเลย ตัดหินตรงไหนที่ผุสักหน่อยเอามาก็เหมือนกัน 
    "ถ้าขัดเอาไลเคนออกผมเห็นว่าเป็นผลเสียมากกว่าผลดี ไลเคนมันเกาะแน่น ถ้าขัดออกจะทำลายเนื้อหิน และหินจะผุเร็วขึ้น เพราะทำให้รูพรุนของผิวหินเปิดออกเป็นเหตุให้น้ำฝนซึมเข้าผิวหินได้ในอัตราที่สูงขึ้น ยิ่งถ้าใช้วิธีการผิดพลาดจะยิ่งทำลายหนักขึ้นอีก สำหรับพวกที่ต้องการความชื้นสูงอย่างพวกตะไคร่หรือ ก็คงทำลายหินบ้าง อย่างน้อยเมื่อซากมันเน่าเปื่อยก็ก่อให้เกิดกรดกัดกร่อนสิ่งที่มันเกาะอยู่ แต่เนื้อมันนิดเดียว กว่าหินจะหลุดร่อนกินเวลาเป็นสิบเป็นร้อยปี ลวดลายภาพสลักก็คงเห็นอยู่ เพียงแต่ขาดความคมไปบ้าง
    "ถ้าจะเอาพวกตะไคร่ออกผมไม่ขัดข้อง แต่รอตอนหน้าแล้งมันแห้งแล้วเอาแปรงปัดก็หลุดล่อนออกง่าย ๆ สี่ห้าปีทำครั้งหนึ่งก็ถมเถไป ไม่ต้องใช้เงินทุนอะไรนักหนาเลย ยิ่งพวกมอส ขูดเบา ๆ ก็หลุดแล้ว พวกไหนที่ปัดไม่หลุดอย่าไปขัด การขัดคือการทำลาย
    "แล้วพวกตะไคร่เมื่อหลุดออกมาแล้วสีของหินจะไม่ขาว บังเอิญผมเห็นภาพปราสาทหินพิมายที่ขาวโพลนหลังการทำความสะอาด คุณสามารถทำให้มีสภาพอย่างที่เห็นได้สองกรณี ถ้าไม่ใช่ใช้กรดอย่างแรงก็ด่างอย่างแรง ที่ราดลงไปแล้วเกิดฟอง เพราะฟองจะช่วยดันพวกที่อยู่ในซอกให้หลุดออกมาทำให้เห็นขาว ถ้าไม่ใช่ฟองกัดออกมา ใช้แปรงขัดพวกเศษมันก็ยังตกค้างหรือเกาะติดอยู่ตามซอก หรือใช้เครื่องมือแพทย์เพื่อแซะพวกนี้ก็เป็นไปเกือบไม่ได้ มีดแซะทั้งวันจะได้ไม่กี่ตารางนิ้ว ผิวหน้าหินทรายไม่ได้เรียบเหมือนกระจกที่จะใช้มีดขูดออกมาได้ ตะไคร่มีอยู่ทุกผิวหน้าของหิน แต่กรดหรือด่างอย่างแรงจะเป็นตัวทำละลายเกือบทุกอย่าง ถ้าละลายเอาธาตุออกมาสักตัวโครงสร้างหินนั้นก็เสีย อัตราการผุกร่อนเท่ากับ ๔๐-๕๐ ปีในธรรมชาติ
    "อย่างปืนใหญ่หน้าพิพิธภัณฑ์สนิมทั้งแท่งเลยทำไมไม่ทำความสะอาดล่ะ นั่นเขารู้ว่าถ้าทำความสะอาดคือถูกไล่ออก เพราะมันจะไม่เหลือรูปทรงเดิม มันเป็นสนิมที่ stable แล้ว ทุกคนรู้ว่าเป็นโบราณวัตถุ ถ้าทำให้ปืนใหญ่ใหม่เอี่ยม เป็นแท่งเหล็กแท้ๆ จะมีคุณค่าอะไร ในขณะเดียวกันกลับผุพังหนักขึ้นไปอีก
    "ถ้าพูดถึงลวดลายแกะสลักสึกกร่อน การผุจะทำให้ลวดลายสึกกร่อนรวดเร็วกว่า ลองไปดูหินที่ไม่มีพวกนี้ขึ้นสิ โดนแดดแล้วมันกร่อนไหม มันกร่อนเร็วกว่า... อย่างแร่เฟลด์สปาร์ดูมันใสคล้ายคล้ายควอตซ์ แต่พอเจอแดดฝนไปสักพักก็ขุ่นเป็นชอล์ก เหมือนดินเหนียวดินขาวไปแล้ว"
  อ่านฝ่ายสนับสนุน คลิกที่นี่
จิราภรณ์ อรัณยะนาค
ผู้อำนวยการส่วนวิทยาศาสตร์เพื่อการอนุรักษ์ สำนักโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร

click hereอ่าน (ฝ่ายสนับสนุน) คลิกที่นี่

แล้วคุณล่ะ สนับสนุน หรือ คัดค้าน !


แ ส ด ง ค ว า ม คิ ด เ ห็ น เ พิ่ ม เ ติ ม

ชื่อ-สกุล: *
E-Mail:
แสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม: *
*

 

สนับสนุน หรือ คัดค้าน
ไลเคน ตะไคร่ อันตรายต่อโบราณสถาน (ประเภทหิน) จริงหรือ ?

เงินกู้, ADB และแผนปรับโครงสร้าง ภาคเกษตรกรรม
สารบัญ | จากบรรณาธิการ | มองปราสาทหิน จากมุมสูง | เด็กเร่ร่อน เมืองเชียงใหม่ จากขุนเขา สู่บาทวิถี | เมื่อหมี เป็นผู้อุปถัมภ์ เอ็นจีโอ | รถไฟขบวนไม่สุดท้าย | ผ่าตัดคลอด ทางที่ไม่ควรเลือก | จะ "อ่าน" วรรณกรรม ตามใจใครดี | ที่ไหนมีเผด็จการ ที่นั่น (ไม่) มีการ์ตูน | โครงการท่อก๊าซ ไทย-พม่า กับคำเตือนที่เป็นจริง | จอห์นวู กับเส้นทางสู่ฮอลลีวูด (๑) ผลพวงจาก วัฒนธรรมการย้ายถิ่น ของชาวจีน | เปต-เปรต |เฮโลสาระพา

Capturing Bat Calls at Ang Rue Nai | Sandstone Temples and Their Civilization  | Homeless Children in Chiang Mai : from Mountaintops to Streetsides

สำนักพิมพ์ สารคดี | สำนักพิมพ์ เมืองโบราณ | วารสาร เมืองโบราณ | นิตยสาร สารคดี
[ วิริยะบุคส์ | มีอะไรใหม่ | เช่าสไลด์ | ๑๐๘ ซองคำถาม | สมาชิก/สั่งซื้อหนังสือ | WallPaper ]

ขึ้นข้างบน (Back to Top) นิตยสาร สารคดี (Latest issue) E-mail