Click here to visit the Website
กลับไปหน้า สารบัญ "โพล" (การเมือง) : เครื่องมืออันตราย ?
ส นั บ ส นุ น

ผศ. สุขุม เฉลยทรัพย์ ประธานดำเนินงาน "สวนดุสิตโพล"
ผศ. สุขุม เฉลยทรัพย์
ประธานดำเนินงาน "สวนดุสิตโพล" 
  • โพลช่วยรวบรวมความคิดเห็น ที่แตกต่าง กระจัดกระจาย ให้เป็นกลุ่มเป็นก้อนและมีพลัง

  • โพลทำให้รัฐบาลได้รับรู้ความคิดเห็น และความต้องการของประชาชน

  • โพลช่วยจัดลำดับความสำคัญ ของปัญหา ตามความเห็น ของคนส่วนใหญ่ ทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แก้ไขปัญหาที่เร่งด่วนได้เหมาะสม

  • การทำโพล ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ที่ตรวจสอบและเชื่อถือได้ แบบสอบถามมีความเป็นกลาง เพราะทำตามทฤษฎี ที่กำหนดไว้ทุกประการ 

   "โพลเป็นเหมือนทางด่วนที่จะทำให้เราเข้าถึงข้อมูลที่ต้องการได้รวดเร็ว โพลจึงจำเป็นอย่างยิ่งในยุคข้อมูลข่าวสารซึ่งมีขยะข้อมูลอยู่ล้นหลาม และทุกคนต้องการเป็นผู้รู้ข่าวสารก่อนใคร โพลใช้กระบวนการทางสถิติ และวิทยาศาสตร์ประมวลข้อมูลที่กระจัดกระจาย ให้เป็นข้อมูลสำเร็จรูป ทำให้ความคิดเห็นกลายเป็นตัวเลขที่มีค่าชัดเจน แยกแยะออกเป็นหลายแง่มุม สามารถเอาไปใช้ประโยชน์ได้ตรงกับความต้องการและใช้ประกอบการตัดสินใจได้ 
   "โพลมาจากคำว่า "head" ที่แปลว่า "หัว" หมายถึงการให้ความสำคัญกับทุกคน โพลจึงเป็นเสียงสะท้อนของทุกคนจริงๆ ความน่าเชื่อถือ และความแม่นยำของโพลดูได้จากความใกล้เคียงกัน ระหว่างผลของโพลกับผลการเลือกตั้ง เช่น โพลเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ครั้งล่าสุด สวนดุสิตโพลทำนายว่าคุณสมัคร สุนทรเวช จะได้ประมาณ ๔๕ เปอร์เซ็นต์ ผลที่ออกมาก็ได้ ๔๕.๘ เปอร์เซ็นต์ แสดงว่าโพลมีความแม่นยำ แต่ถ้ายังไม่รู้ผลการเลือกตั้ง การตรวจว่าผลโพลอันไหนเชื่อถือได้หรือไม่ ต้องดูว่าใครทำ ได้งบประมาณมาจากไหน รับจ้างใครทำหรือเปล่า ดูทฤษฎี วิธีการที่ใช้ และผลงานที่ผ่านมา ว่าเคยทำนายผิดมากน้อยแค่ไหน เคยเข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือไม่ 
   "แบบสอบถามของโพลมีความเป็นกลาง เพราะทำตามหลักทฤษฎี มีการวัดความเชื่อมั่น นำไปทดลองใช้ วัดค่าความเที่ยงตรง ดูว่าคำถามนำให้เกิดการเบี่ยงเบนประเด็นหรือไม่ บังคับให้ตอบหรือไม่ แบบสอบถามที่ดีต้องมีตัวเลือกครบถ้วน จะให้ความสำคัญแต่กับพรรคประชาธิปัตย์ ความหวังใหม่ ไทยรักไทย โดยลืมพรรคเล็ก ๆ อย่างเสรีธรรมไม่ได้ 
   "โพลไม่น่าจะมีส่วนชี้นำผู้คนในการเลือกตั้ง คือ ทำให้คนหันมาเลือกผู้สมัครที่มีคะแนนนำ เพราะไม่อยากอยู่ข้างฝ่ายที่แพ้ หรือเทคะแนนให้คนที่โพลทำนายว่าจะแพ้ เนื่องจากเห็นใจ และอยากให้ชนะ เห็นได้จากผลของโพลที่ทำเรื่องการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ซึ่งครั้งแรกพบว่าความนิยมของคุณสมัครมี ๔๐ เปอร์เซ็นต์ คุณสุดารัตน์ประมาณ ๒๔ เปอร์เซ็นต์ เราทำโพลออกมาห้าครั้ง ทุก ๆ ครั้งผลออกมาเท่า ๆ กันตลอด ผลการเลือกตั้งก็ใกล้เคียงกับผลของโพลที่ทำขึ้นครั้งแรกมาก ถ้าโพลอันแรกชี้นำจริง คะแนนนิยมของคุณสมัครในการสำรวจแต่ละครั้ง ก็ต้องมากขึ้นเรื่อย ๆ ผลการเลือกตั้งก็จะได้มากกว่านี้อย่างชัดเจน หรือในทางกลับกัน คะแนนของคุณสุดารัตน์ก็จะต้องเพิ่มขึ้น จากการที่คนลงคะแนนช่วยให้ชนะคุณสมัคร 
   "โพลที่ดีจะต้องเป็นตัวแทนที่แท้จริงของประชาชนโดยสุ่มตัวอย่างให้ทั่วถึง ช่วงหลังนี้สวนดุสิตโพลจึงทำการสำรวจทั่วประเทศ โดยมีสถาบันราชภัฏทั้ง ๓๖ แห่งเป็นแม่ข่ายในการรวบรวมข้อมูล ไม่ใช่ถามแต่ในกรุงเทพฯ แล้วไปสรุปว่านี่คือความคิดเห็นของคนไทย หรือถ้าสำรวจเฉพาะคนกรุงเทพฯ ก็ต้องสำรวจโดยกระจายให้ครบทั้ง ๕๐ เขตเลือกตั้ง ไม่ใช่สำรวจเฉพาะฝั่งธนบุรีแล้วทึกทักเอาว่าเป็นความเห็นของคนกรุงเทพฯ โพลจะอ้างประชาชนได้เต็มปากเต็มคำก็ต่อเมื่อมีการสุ่มตัวอย่างที่ครบถ้วนเท่านั้น ไม่ใช่ว่าเราจะนึกคำตอบเอาเองหรือสัมภาษณ์เพียงหนึ่งหรือสองคน 
   "ประโยชน์ของโพล คือ ทำให้ผู้ถูกสำรวจได้ระบายความในใจ, การที่โพลจับความเห็นที่เหมือนกันมารวมกลุ่มกันทำให้ความคิดเห็นนั้น ๆ มีพลังมากขึ้น, ช่วยจัดลำดับความสำคัญของปัญหา ทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรู้ว่า คนส่วนใหญ่อยากให้แก้ปัญหาไหนก่อน เช่น ปัจจุบันคนอาจมองว่ารถติด ไม่ได้เป็นปัญหาเร่งด่วนอีกต่อไปแล้ว แต่ปัญหาใหญ่คือเรื่องเศรษฐกิจตกต่ำ รวมทั้งเป็นช่องทางที่ทำให้รัฐบาลรับรู้ความคิดเห็นของประชาชน เพราะดูเหมือนว่าสื่อมวลชนเป็นช่องทางเดียว ที่ประชาชนจะบอกความเดือดร้อน และแสดงความเห็นได้ในขณะนี้ ซึ่งการที่ประชาชนจะเข้าถึงสื่อได้ก็เป็นเรื่องยาก และสื่อมวลชนก็เสนอความคิดเห็นได้ เพียงครั้งละสี่ถึงห้าคน เนื่องจากมีเนื้อที่ และเวลาจำกัด แต่โพลสามารถสำรวจ และนำเสนอความคิดเห็นของคนได้ครั้งละเป็นหมื่นเป็นพันคน 
   "ถ้าไม่มีโพล ประชาชนจะไม่รู้สถานการณ์การเมืองเลย การวิเคราะห์วิจารณ์การเมืองก็จะทำโดยขาดข้อมูล นอกจากนี้ยังทำให้สังคมมีความคิดที่แตกต่างกันจนสรุปไม่ได้ ยิ่งถ้าคนในสังคมมีอัตตาสูง ก็มักจะคิดว่าความคิดเห็นของตัวเองถูกต้อง โดยไม่มองว่าคนส่วนใหญ่คิดอย่างไร โพลจะช่วยให้ผู้ถูกสำรวจได้ทบทวนตัวเองว่าคิดเหมือนชาวบ้านหรือเปล่า แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าความคิดเห็นของคนส่วนใหญ่จะถูกเสมอไป
   "จุดอ่อนของโพลก็คือ มักดูแต่เพียงว่าความคิดเห็นใดหรือใครชนะใครกี่เปอร์เซ็นต์ ซึ่งก่อให้เกิดความแตกแยกได้ อย่าไปคิดว่าความคิดเห็นของคน ๗๐ เปอร์เซ็นต์จะถูก ส่วน ๓๐ เปอร์เซ็นต์ไม่ถูกเสมอไป เหตุผลของคนส่วนน้อย อาจจะเป็นเหตุผลที่ดีที่คนส่วนใหญ่มองไม่เห็นก็ได้ 
   "ปัจจุบันนี้มีสำนักทำโพลเพิ่มขึ้นมาก บางคนมองว่ายิ่งมีโพลมากก็ยิ่งสร้างความสับสน แต่ผมว่าเป็นเรื่องดี เท่ากับมีกระจกส่องสังคมเพิ่มขึ้น กระจกบานไหนที่หลอกตา ไม่มีคุณภาพ ประชาชนก็เลิกใช้ไปเอง และการที่สถาบันการศึกษาหันมานิยมทำโพลนั้นเป็นสิ่งที่ดี เพราะหน้าที่สำคัญของสถาบันการศึกษาก็คือ บริการทางวิชาการแก่สังคม การใช้คน เครื่องมือ สถานที่ของสถาบันการศึกษามาทำโพล เป็นการคืนกำไรให้สังคม ทั้งยังไม่ต้องลงทุนมากอีกด้วย เพราะมีทุกอย่างพร้อมอยู่แล้ว
   "สำหรับการเผยแพร่ผลการสำรวจของโพลนั้น ปัจจุบันนี้สวนดุสิตโพล และเอแบคโพล เป็นสองสำนักที่เห็นร่วมกันว่า จะไม่มีการเผยแพร่โพลในช่วงเจ็ดวันก่อนการเลือกตั้ง เพราะเป็นการส่งเสริมให้มีการแข่งขันกันในทางที่ผิดสูง เราเคยมีบทเรียนจากการทำโพลครั้งหนึ่ง ซึ่งได้ผลออกมาว่าพรรคใดจะชนะ โดยเราระบุไว้เสร็จเลยว่าอำเภอไหน จังหวัดอะไรบ้างที่ สส. ของพรรคนั้นมีคะแนนนำ ปรากฏว่ามีคนไปซื้อเสียงในพื้นที่ที่มีการแข่งขันกันรุนแรงตามที่โพลระบุ จะเห็นได้ว่าโพลถูกพรรคการเมืองนำไปใช้ประโยชน์เสมอ เช่น ปรับกลยุทธ์การหาเสียง กำหนดตัวผู้สมัครในแต่ละพื้นที่ ซึ่งไม่ได้เป็นไปในทางสร้างสรรค์เสมอไป ใครจะเอาโพลไปกางแล้วแจกเงินกันเราก็ไม่รู้ 
   "ปัญหาหนึ่งของโพลก็คือ สื่อมวลชนชอบนำเสนอผลการสำรวจในลักษณะที่หวือหวา มองแค่ว่าใครชนะใครกี่เปอร์เซ็นต์ ไม่ค่อยถามว่าทำไมผลถึงเป็นอย่างนั้น แต่เดี๋ยวนี้เริ่มถามมากขึ้น เช่น ในการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ครั้งที่ผ่านมา ถ้าเป็นเมื่อก่อนหนังสือพิมพ์ต้องพาดหัวแล้วว่า "สมัครชนะขาด ล้านกว่าคะแนน" ตอนนี้เริ่มให้เราวิเคราะห์แล้วว่าทำไมถึงชนะมากขนาดนั้น สื่อมวลชนจะต้องพินิจพิเคราะห์โพลให้ดี ไม่ใช่สำนักไหนส่งผลการสำรวจอะไรไปให้ก็ตีพิมพ์หมด เปรียบเสมือนการหยิบยื่นขวดยาให้สื่อมวลชน ถ้าสื่อไม่ได้ตรวจสอบว่าเป็นยาพิษหรือยาบำรุงกำลัง ใครยื่นอะไรมาให้ก็ส่งต่อให้ประชาชนหมดก็เป็นอันตรายต่อสังคมได้ 
   "ในส่วนของประชาชนก็ต้องอย่าให้โพลมาจูงใจได้ง่าย ๆ เราจะเลือกใช้หรือไม่ใช้มันก็ได้ ถ้าไม่เชื่อก็โยนทิ้งไป รวมทั้งมีสิทธิอย่างเต็มที่ในการตอบหรือไม่ตอบโพล ไม่ต้องกลัวว่าไม่ได้ตอบโพลแล้วจะเชย แล้วก็ไม่ต้องแปลกใจว่าทำไมถึงไม่เคยโดนถาม อย่าลืมว่าโพลเป็นการสุ่มตัวอย่าง คนกรุงเทพฯ มี ๗-๘ ล้านคน แต่บางครั้งโพลสุ่มแค่ ๓,๐๐๐ คนเท่านั้น แต่เดี๋ยวนี้เราหันมาใช้วิธีการสุ่มที่กระจายมากที่สุดแล้วโดยย้ายชุมชนไปเรื่อย ๆ เพื่อให้ทุกคนได้สัมผัสกับโพล" 
  อ่านคัดค้าน คลิกที่นี้
ชัชรินทร์ ไชยวัฒน์
นักหนังสือพิมมพ์, คอลัมนิสต์อิสระ

click hereอ่าน (ฝ่ายคัดค้าน) คลิกที่นี่

แล้วคุณล่ะ สนับสนุน หรือ คัดค้าน !


แ ส ด ง ค ว า ม คิ ด เ ห็ น เ พิ่ ม เ ติ ม

ชื่อ-สกุล: *
E-Mail:
แสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม *
*

 


 สนับสนุน หรือ คัดค้าน
"โพล" (การเมือง) : เครื่องมืออันตราย ?

ไลเคน ตะไคร่ อันตรายต่อโบราณสถาน (ประเภทหิน) จริงหรือ ?
สารบัญ | จากบรรณาธิการ | รำลึก ๑๐ ปีการจากไปของ สืบ นาคะเสถียร | เคียงข้างนักปั่นขาเดียว | ช้างป่าและชาวไร่กุยบุรี การเผชิญหน้าที่ยังไม่ยุติ | ที่ปรึกษาหัวขโมย | จินตนาการในวัยชรา | จอห์นวูกับเส้นทางสู่ฮอลลีวูด (๒) ความยืดหยุ่นยุคหลังฟอร์ด | ครัวสมัยหิน

สำนักพิมพ์ สารคดี | สำนักพิมพ์ เมืองโบราณ | วารสาร เมืองโบราณ | นิตยสาร สารคดี
[ วิริยะบุคส์ | มีอะไรใหม่ | เช่าสไลด์ | ๑๐๘ ซองคำถาม | สมาชิก/สั่งซื้อหนังสือ | WallPaper ]
ขึ้นข้างบน (Back to Top) นิตยสาร สารคดี (Latest issue) E-mail