Click here to visit the Website
"โพล" (การเมือง) : เครื่องมืออันตราย ?
"โพล" (การเมือง) : เครื่องมืออันตราย ?
( ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณ
คลิกที่นี่ )
กุลธิดา สามะพุทธิ : รายงาน
บุญกิจ สุทธิญาณานนท์ : ภาพ

    "...แล้วสิ่งใดจะเป็นเครื่องมือที่เชื่อถือได้ดังเช่นเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ อย่างเทอร์โมมิเตอร์, กล้องถ่ายรูป, เครื่อง X-ray ที่ใช้ตรวจจับวัตถุทางสังคม คำตอบก็คือ การวิจัยสำรวจด้วยระเบียบวิธีทางสถิตินั่นเอง โพล คือ การสำรวจความคิดเห็น/ทัศนคติที่นักสังคมศาสตร์สมัยใหม่ใช้กันมาก ในการหาคำตอบว่า "ประชาชนคิดอย่างไร" เนื่องเพราะการสำรวจที่อาศัยเทคนิควิธีการทางสถิติ เป็นที่ยอมรับกันในชุมชนวิชาการระดับหนึ่งว่า มีความเป็นวิทยาศาสตร์ เป็นเครื่องมือที่เที่ยงตรง แม่นยำ เชื่อถือได้" ธัญลักษณ์ เหลืองวิสุทธิ์ เขียนไว้ในวิทยานิพนธ์หัวข้อ โพล : การเมืองของการวิจัยเชิงสำรวจ (คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ๒๕๔๐) และชี้ให้เห็นสถานภาพของโพลในสังคมไทยไว้ว่า ในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา สำนักโพลเบ่งบานขึ้นมาก สถาบันการศึกษาและสื่อมวลชนมุ่งแข่งขันผลิตโพล ราวกับเป็นสินค้าทางการเมืองแห่งสังคมหลังยุคอุตสาหกรรม เมื่อใดที่มีการคิดถึงประชาชน อยากรู้ว่าประชาชนคิดอย่างไร สิ่งที่คิดจะทำเป็นอย่างแรก และอาจเป็นอย่างสุดท้ายก็คือการทำโพล ดูเหมือนว่าการทำโพล จะเป็นประเพณีนิยมที่ควบคู่มากับเทคนิคการเลือกตั้ง ในระบบเสรีประชาธิปไตยไปเสียแล้ว 
    "นิด้าโพล" --โพลของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ที่ทำขึ้นเพื่อทำนายผลการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ ๒๖ มกราคม ๒๕๑๘ อาจจะยังใหม่เกินไปสำหรับการย้อนรอยดูความเป็นมาของการทำโพล ยังไม่ต้องพูดถึง "ธีรยุทธโพล" ของสถาบันวิจัยสังคมจุฬาฯ, เอแบคโพล, สวนดุสิตโพล และโพลที่ทำโดยสื่อมวลชนอย่าง หนังสือพิมพ์ มติชน, ช่อง ๓, สำนักข่าวไอเอ็นเอ็น ที่เกิดขึ้นในยุคหลัง ๆ โดยเฉพาะช่วงการเลือกตั้งปี ๒๕๓๙ (ผลการเลือกตั้งในครั้งนั้น : พรรคความหวังใหม่ได้เสียงข้างมาก และ พล.อ. ชวลิต ยงใจยุทธ ได้เป็นนายกรัฐมนตรี) ซึ่งนิตยสาร อาทิตย์ (พฤศจิกายน ๒๕๓๙) เรียกขานว่าเป็นยุค "โพลฟีเวอร์" 
    ความเป็นมาของโพลย้อนกลับไปได้ไกลถึงวันที่หนังสือพิมพ์ฮาริสเบิร์ก เพนซิลเวเนีย ส่งผู้สื่อข่าวออกไปถามความนิยมของประชาชนต่อผู้สมัครรับเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาเมื่อปี ๑๘๒๔ และตีพิมพ์ผลสำรวจนั้น ต่อมาหนังสือพิมพ์ฉบับอื่น ๆ ก็ทำแบบเดียวกันบ้าง ปรากฏว่าได้รับความสนใจจากสาธารณชนมาก พวกหนังสือพิมพ์อเมริกันจึงได้เรียนรู้ว่า การสำรวจความคิดเห็นเช่นนี้เป็นแหล่งที่มาของข่าวสารที่น่าสนใจ หลังจากนั้นสังคมอเมริกันก็ไม่เคยว่างเว้นจากการทำโพล และยังแพร่ขยายสู่ประเทศอื่น ๆ ที่มีระบบการเลือกตั้งอีกด้วย 
    ไม่ใช่แค่เพียงตัวของโพลเท่านั้นที่แพร่หลาย ปัญหาและข้อสงสัยที่มีต่อโพลก็ลุกลามตามไปด้วย เช่น โพลเป็นตัวแทนของคนส่วนใหญ่ ? โพลมีส่วนในการชี้นำผลการเลือกตั้ง ? จุดมุ่งหมายที่แท้จริง/เบื้องหลังของการทำโพลคืออะไร ? ฯลฯ
    แม้ไม่มีคำตอบเบ็ดเสร็จ แต่สิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้นก็คือ รัฐบาลของประเทศต่าง ๆ ในยุโรป เช่น ฝรั่งเศส สั่งห้ามตีพิมพ์และเผยแพร่ผลของโพลก่อนวันเลือกตั้ง ๗ วัน, สเปน ๕ วัน, เบลเยียม ๓๐ วัน, โปรตุเกสสั่งห้ามตลอดช่วงการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งและลักเซมเบิร์กถือว่า การตีพิมพ์ผลของโพลไม่ว่าโพลเลือกตั้งหรือโพลความคิดเห็นทางการเมืองเป็นความผิดโดยไม่จำกัดกรอบเวลา อย่างไรก็ตามมีทั้งผู้สนับสนุนและคัดค้านมาตรการนี้ 
    ประเทศไทยไม่มีข้อกำหนดเช่นนั้น แต่สำนักโพลสองแห่งคือ เอแบคโพลและสวนดุสิตโพล ได้ตกลงกันว่าจะไม่มีการเผยแพร่ผลการสำรวจในช่วง ๗ วันก่อนการเลือกตั้ง ทั้งยังเรียกร้องให้สำนักโพลอื่น ๆ ถือเป็นแนวปฏิบัติร่วมกัน
    มีแนวโน้มว่ายุค "โพลฟีเวอร์" จะกลับมาอีกในการเลือกตั้งครั้งหน้า อย่างน้อยเราก็เห็นอาการของมันได้จากการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครครั้งล่าสุด 
    "ความเท่าทันโพล" จึงเป็นสิ่งที่ทั้งผู้ทำโพลเองและผู้ที่วิจารณ์โพลต้องการให้เกิดขึ้นในสังคม

ร่วมแสดงความคิดเห็น สนับสนุน หรือ คัดค้าน !
คลิกที่นี่


อ่านสนับสนุนต่อ คลิกที่นี่ผศ. สุขุม เฉลยทรัพย์ 
ประธานดำเนินงาน "สวนดุสิตโพล"
อ่านคัดค้านต่อ คลิกที่นี่ชัชรินทร์ ไชยวัฒน์
นักหนังสือพิมพ์, คอลัมนิสต์อิสระ
ส นั บ ส นุ น    คั ด ค้ า น  
  • โพลช่วยรวบรวมความคิดเห็นที่แตกต่าง กระจัดกระจาย ให้เป็นกลุ่มเป็นก้อน และมีพลัง
  • โพลทำให้รัฐบาลได้รับรู้ความคิดเห็น และความต้องการของประชาชน
  • โพลช่วยจัดลำดับความสำคัญของปัญหา ตามความเห็นของคนส่วนใหญ่ ทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แก้ไขปัญหาที่เร่งด่วนได้เหมาะสม
  • การทำโพล ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ที่ตรวจสอบและเชื่อถือได้ แบบสอบถามมีความเป็นกลาง เพราะทำตามทฤษฎี ที่กำหนดไว้ทุกประการ 
  • โพลไม่ได้เป็นความคิดเห็น ที่แท้จริงของคนในสังคม เนื่องจากกระบวนการทำ มีส่วนบิดเบือนความคิดเห็น
  • เสียงส่วนใหญ่ของโพล ไม่ใช่ตัวแทนของคนทั้งสังคม เป็นเพียงเสียงของกลุ่มตัวอย่างกลุ่มเล็ก ๆ เท่านั้น
  • สังคมไม่ควรตัดสินความดีความชั่ว จากการฟังเสียงของคนส่วนใหญ่ 
  • โพลไม่จำเป็นต่อระบบประชาธิปไตย และการเลือกตั้ง มีช่องทางอื่นอีกมาก ที่ประชาชนจะแสดงความคิดเห็น และวิจารณ์การทำงานของรัฐบาลได้ 
อ่านฝ่ายสนับสนุน คลิกที่นี่
click here
อ่านฝ่ายคัดค้าน คลิกที่นี่ 
click here
กลับไปหน้า สารบัญ

แล้วคุณล่ะ สนับสนุน หรือ คัดค้าน !
.ต้องการ แสดงความคิดเห็นเพิ่ม คลิกที่นี่


แ ส ด ง ค ว า ม คิ ด เ ห็ น เ พิ่ ม เ ติ ม

ชื่อ-สกุล: *
E-Mail:
แสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม: *
*

 

พบเห็น ข้อความไม่เหมาะสม กรุณาช่วยกันแจ้ง ผู้ดูแลเว็ป (WebMaster) ขอบคุณครับ

โพลนั้น เป็นแค่เพียงบทสำรวจจากคนเพียงกลุ่มเดียวเท่านั้น ยังมีคนอีกมากในสังคมที่อาจไม่คิดเห็นตามนั้น การเอาโพลที่สรุปจากคนไม่กี่คน ว่าเป็นภาพรวมความคิดความเห็นทางสังคม ซึ่งเป็นสิ่งไม่ถูกต้อง ประกอบต้องยอมรับว่า การทำโพลคือการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณซึ่งประชาชนตอบในแบบสอบถาม ซึ่งอาจคาดเคลื่อน ไม่ตรงไปตรงมา แล้วจะแน่ใจได้อย่างไรว่าถูกต้อง ดังนั้นสุดท้ายโพลก็เป็นแค่เครื่องมือ หรือการสร้างกระแสคะแนนนิยมโดยอาศัยสื่อเพื่อให้ประชาชนยอมรับและคล้อยตาม ซึ่งก็เป็นลักษณะของสังคมอุตสาหกรรมที่สื่อมีอำนาจเท่านั้นเอง
ขอคิดด้วยคน
- Tuesday, October 08, 2002 at 07:16:59 (EDT)

ในอดีตคิดว่าการทำโพล เป็นเรื่องที่ดี เพราะทำห้เราได้ร้ถึงความคิดเห็น ความร้สึก ของคนส่วนใหญ่ แต่ในป้จจุบันการเมื่องอันเสื่อมทรามทำให้ไม่สามารถเชื่ออะไรได้อย่างสนิทใจเพราะหลานสิ่งหลายอย่างกลายเป็นเครื่องมือทางการเมื่อง สิ่งที่เรารับรู้สิ่งที่เราคิด มันอาจไม่ใช่ความจริง
นาย เกษม เปรมประยูร
- Thursday, June 21, 2001 at 05:13:54 (EDT)

ความเหมาะสมและน่าเชื่อถือของโพลไม่มีอะไรดีไปกว่าการให้ความรู้แก่กลุ่มบุคคลที่ได้รับประโยชน์จากโพลและกลุ่มผู้เสียประโยชน์จากการทำโพล เพราะว่าถ้าไม่ทำให้คนสองกลุ่มนี้หันหน้าเข้าหากันเพื่อ ดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งความหวังเอาไว้ ( ความถูกต้องตามหลักวิชาการ ) เสียแล้วอาศัยว่าพวกมากลากกันไปแล้ว การทำโพลก็ไม่ต่างไปจากการให้คนกลุ่มเดียวแสดงความคิดเห็น
นายศักดิ์สุนทร ครุธแก้ว <saksoonthorn @thaimail.com>
- Tuesday, June 19, 2001 at 02:58:07 (EDT)

As a novice in social sciences, I have never seen any polls neutral. It is because of the nature of human's mind. In my view, polls can be done and presented as points of views, not facts. If one regards them as facts, he/she should realize that it is not the whole fact and can change over time. What I am concerned is the quality of the audience. Keep in mind that many Thais (and those of other nations) are not trained in doing research. They are not in academia. Polls will do harm than good if misused or abused.
Pur Pur <purthai@yahoo.com>
- Wednesday, May 23, 2001 at 11:13:03 (EDT)

เครื่องมือหนึ่งในหลายๆ อย่างของสังคมในการพัฒนา อย่างน้อย มันคือ ข้อเท็จจริง ที่เรา อาจจะไม่อยากรับรู้ หรือ พยายามที่จะลืมมัน เพื่อหนีความจริง ความจริงแม้จะโหดร้าย แต่ถ้าคุณ หนี หรือ ไม่ยอมรับมัน มันจะมาหาคุณ ตอนที่คุณ รับมันไม่ได้มากที่สุด ปัจจุบันสังคมเริ่มรู้ตัวว่า จะหวังความจริงจากสื่อ...ยาก ทุกสิ่ง มาด้วย ความคิดเห็น ส่วนข้อเท็จจริง ที่จะเอามาประกอบความคิดเห็น เลือกมาเพียง บางข้อความ เพื่อหวังยอดขาย ข่าว โยใช้ หนังสือพิมพ์หัวเขียว เป็นแม่แบบ ( หัวเขียว ควรจะภูมิใจ หรือเรียกร้องลขสิทธิ์ ) แมงวันย่อมไม่ตอมแมงวันด้วยกันเอง ฯลฯ ...โพลล์ เป็นเพียงเครื่องมือเดียว ที่เหลืออยู่ แต่เครื่องมือนี้ ขึ้นอยู่กับ เจตนาของผู้สร้าง และ การตีความของผู้รับ ตัวอย่างง่ายๆ ก็คือ เช่น การเขียน หัวเรื่องที่น่าสนใจ ลงหน้าปก สารคดี เป็น ภาษา อังกฤษ มองจิตเจตนา ที่ดี เยาวชน หรือคนทั่วไป จะได้พัฒนา ภาษาอังกฤษ แต่ถ้า มองในแง่ร้าย คุณ ทับศัพท์ คำว่า โนรา โดยคิดว่า เท่ห์ แต่คนอ่านสับสน และแสดงถึง วัฒนธรรม อดีตเมืองขี้น ( คุณ ไปดูแภวมาเลย์ แล้วจะเห็น วัฒนธรรมแบบนี้เกลื่อน ) และเมื่อมองในแง่ผู้รับ การตีความข้อเท็จจริง ต่างกัน เช่น เงินบาท อ่อนตัว คุณคิดว่า วินมอเตอร์ไซคล์จะสนเหรอ แต่ผู้นำเข้า คิดหนัก ผู้ส่งออกยิ้ม....การรับข้อเท็จจริง ต้องเป็นกลาง หากสังคมไทยผ่านบททดสอบนี้ไปไม่ได้ ไม่ต้องคาดเดาอนาคตกันแล้ว กรุงแตกครั้งที่ สามมาแน่
พลับพลึง กลางพงไพร <ิbaaapraak@yahoo.com>
- Monday, April 09, 2001 at 02:00:21 (EDT)

มีข้อระมัดระวังสำหรับสำนักโพล คือ ห้ามเผยแพร่ผลของโพลก่อนการเลือกตั้ง 7 วัน และผลของโพลไม่ใช่ข้อสรุปความคิดเห็นของคนทั้งหมดในสังคม
การันต์ มงคลชัยอรัญญา <mkaran@thaimail.com>
- Saturday, January 20, 2001 at 01:08:09 (EST)

ไม่น่าสนใจเท่าไหร่ ก็แค่ความคิดเห็นของคนกล่มหนึ่งที่ได้จากการสุ่ม แล้วมาผ่านกระบานการทางสถิติ ปิดกั้นทางความคิดด้วยตัวเลือกไม่กี่ข้อ...
tor
- Wednesday, November 22, 2000 at 01:33:10 (EST)

ไม่ได้ค้านทั้งกระบวนการ แต่ไม่เห็นด้วยที่จะทำโพล ออกมาในลักษณะชี้นำ ให้คุณให้โทษกับพรรคการเมือง หรือนักการเมือง
นนท์ <ืnsnsns@chaiyo.com>
- Saturday, November 04, 2000 at 10:53:13 (EST)

ความถามในโพลมีการชี้นำ เหมือนชี้ทางให้คนเดินตาม ที่ตนคิดว่าเป็นไปได้มากที่สุด และคนที่ตอบคำถามเองถูกสุ่ม แต่ไม่ได้ศึกษาในเรื่องนั้นอย่างแท้จริง ก็จะเกิดลักษณะตอบตามกระแส คนอ่านโพลก็เอนเอียงตามกระแส สังคมไทยก็เลยไปตามกระแส แล้วคนส่วนใหญ่ก็มักจะโทษระบบการศึกษา มันเลยคล้ายไก่กับไข่อะไรเกิดก่อนกันอย่างนั้นเลย
Rungnapa Thaiprayoon <rungnapt@thaicom.net>
- Friday, November 03, 2000 at 05:08:33 (EST)

ไม่เชื่อโพลเท่าไรนัก เพราะไม่แน่ใจในความโปร่งใสของแต่ละสำนัก แต่ก็สนใจดูสถิติ ยังไม่ถึงกับเบื่อ ถ้าหัวข้อโพลน่าสนใจ
กนกวรรณ อุโฆษกิจ
- Saturday, October 14, 2000 at 19:23:04 (EDT)

หลายโพลที่จัดทำออกมา แสดงให้เห็นได้ชัดเจนว่า เป็นโพลจัดทำของผู้ที่ได้รับผลประโยชน์ อีกทั้งกลุ่มตัวอย่างที่สำนักต่างๆไปสุ่มสำรวจ เชื่อว่า เป็นกลุ่มเดิม ที่ไม่กระจายอย่างทั่วถึง ดังนั้น ไม่ว่าจะจัดทำโพลใดออกมา ก็จะมีแนวคิดเดียวกันหมด ความน่าเชื่อถือของโพลจึงลดน้อยลง และน่าเบื่อมาก
สุวินา เอี่ยมสุทธา <suwina69@hotmail.com>
- Thursday, October 12, 2000 at 05:39:13 (EDT)

ไม่สนใจเพราะไม่ต้องการเป็นเครื่องมือของใคร ไตรเป๋นอย่างใร ดูเอวเอง คิดเองเป็นไม่ต้องพึงโพล
น.ส.วรี อำนาจอนันต์ <jina3331@hotmail.com>
- Friday, October 06, 2000 at 00:05:49 (EDT)

โพลชี้นำอย่างเดียวและการตั้งคำถามของโพลทางเลือกในการตอบไม่ดี เมื่อตอบคำถามโพลจึงไม่มีมาตรฐานในการเชื่อนัก ที่สำคัญทุกวันนี้หน่วยงานบางหน่วยงานก็จะใช้โพลในการปิดบังความจริงและเราก็เชื่อว่ามีการจ้างทำโพล อันที่จริงแล้วโพลคือคนส่วนน้อยในเมืองจริงๆ การตอบคำถามจึงไม่มีความหลากหลาย ทำไมคนไทยให้ฝรั่งแหกตาเรื่องโง่อยู่ได้มีความคิดแต่ก็ดูถูกที่จะมีวิถีชีวิตอย่างไทยๆ ไอ้พวกที่เชื่อโพลก็หัวกลวงพอกัน ขอโทษที่กล่าวหารุนแรงแต่มันมาจากใจจริงๆ เพราะเซ็งโพลมากแล้วมีอะไรน่าทำกว่าเที่ยวถามชาวบ้านชาวช่องว่ารู้สึกยังไง
ชบา <moybaa@hotmail.com>
- Thursday, September 14, 2000 at 13:37:55 (EDT)

โดยส่วนตัว ผมคิดว่าการจะแสดงความคิดเห็นในลักษณะต่างๆ เป็นสิทธิเสรีภาพที่เกิดขึ้นได้ โดยสิ่งหล่านี้เป็นสิ่งที่ดีเพราะเป็นการเปิดมุมมองในแง่มุมที่เราอาจไม่รู้ หรือคาดไม่ถึง แต่หากการนำเสนอในลักษณะของบทสรุป ไม่น่าจะเป็นสิ่งทีมีประโยชน์นัก เพราะบทสรุปที่ว่าสามารถชี้นำความคิดคน มากกว่าจะเป็นการเปิดมุมมอง ซึ่งผลที่ตามมาเป็นสิ่งที่กระทบต่อคำว่าประชาธิปไตยพอสมควร
จักข์
- Thursday, September 14, 2000 at 13:00:13 (EDT)

สนับสนุนการทำโพล แต่ควรวางตัวเป็นกลาง ไม่โน้มเอียงกลุ่มใด หรือชี้นำในแนวคำถามของโพล
Thawatchai Wangvorapinyo <thavatchai@shauto.co.th>
- Thursday, September 14, 2000 at 08:28:29 (EDT)

เบื่อโพล ไม่ชอบโพล ได้ฟังตามรายการต่างๆ เยอะ จนเฝือ ก่อให้เกิดความรู้สึกชี้นำ แต่ถ้าหากว่า ทุกโพล ไม่เผยแพร่โพล ก่อน 7 วัน เลือกตั้ง (น่าจะสัก 15 วัน) ฟังดูก็เข้าท่าดีขึ้นครับ
ชายคนหนึ่ง
- Tuesday, September 12, 2000 at 07:24:24 (EDT)

โพล เป็นปากเสียงของประชาชน ซึ่งปัจจุบันรัฐบาลพยายามปิดปากประชาชน ส่วนทางเลือกอื่น เช่น สื่อมวลชน ก็เป็นปากเสียงของรัฐบาลเป็นส่วนใหญ่ และส่วนที่ไม่อยู่ข้างรัฐบาลก็เป็นเสียงของฝ่ายค้าน ซึ่งเป็นเสียงของนักการเมืองที่ไม่เป็นกลางอีก ดังนั้นการเพิ่มทางเลือกในการทำโพลอีกทาง น่าจะเป็นการทำให้ผู้ใหญ่ในบ้านนี้เมืองนี้ได้ยินเสียงของประชาชนบ้าง
pong
- Monday, September 11, 2000 at 07:59:26 (EDT)

 สนับสนุน หรือ คัดค้าน
"โพล" (การเมือง) : เครื่องมืออันตราย ?

ไลเคน ตะไคร่ อันตรายต่อโบราณสถาน (ประเภทหิน) จริงหรือ ?
สารบัญ | จากบรรณาธิการ | รำลึก ๑๐ ปีการจากไปของ สืบ นาคะเสถียร | เคียงข้างนักปั่นขาเดียว | ช้างป่าและชาวไร่กุยบุรี การเผชิญหน้าที่ยังไม่ยุติ | ที่ปรึกษาหัวขโมย | จินตนาการในวัยชรา | จอห์นวูกับเส้นทางสู่ฮอลลีวูด (๒) ความยืดหยุ่นยุคหลังฟอร์ด | ครัวสมัยหิน

สำนักพิมพ์ สารคดี | สำนักพิมพ์ เมืองโบราณ | วารสาร เมืองโบราณ | นิตยสาร สารคดี
[ วิริยะบุคส์ | มีอะไรใหม่ | เช่าสไลด์ | ๑๐๘ ซองคำถาม | สมาชิก/สั่งซื้อหนังสือ | WallPaper ]
ขึ้นข้างบน (Back to Top) นิตยสาร สารคดี (Latest issue) email