ท้าทายความเชื่อเรื่อง "เจดีย์ยุทธหัตถี" | ||||||||||||
(ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณ คลิกที่นี่) กุลธิดา สามะพุทธิ : รายงาน บุญกิจ สุทธิญาณานนท์ : ภาพ |
||||||||||||
มันคงจะง่ายกว่านี้มากถ้าหากว่าเรื่องราวของ "เจดีย์ยุทธหัตถี"
ที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้สร้างขึ้นตรงสถานที่ชนช้างชนะพระมหาอุปราชา
แห่งกรุงหงสาวดีเมื่อ พ.ศ. ๒๑๓๕
มีประเด็นให้สงสัย
และถกเถียงเพียงแค่ว่า เจดีย์องค์ที่แท้จริงนั้นอยู่ที่ไหน (ปัจจุบันนี้เชื่อกันว่าคือเจดีย์ที่อนุสรณ์ดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี) ซึ่งเอาเข้าจริงก็เป็นคำถามเดียวกับที่ว่า สงครามยุทธหัตถีเกิดขึ้นที่ไหนและสมเด็จพระมหาอุปราชาสิ้นพระชนม์ที่ใดนั่นเอง
พ.ศ. ๒๕๑๕ เจดีย์ที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงวินิจฉัยไว้ในสมัยรัชกาลที่ ๖ ว่าเป็นเจดีย์ยุทธหัตถี ที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช รับสั่งให้สร้างสวมพระศพพระมหาอุปราชาไว้นั้น ถูกตั้งข้อสงสัยเป็นครั้งแรกว่า ไม่ใช่เจดีย์ยุทธหัตถีที่แท้จริง โดยมีบุคคลคณะหนึ่งเสนอว่า เจดีย์โบราณที่ หมู่ ๒ ตำบลดอนเจดีย์ อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี ต่างหากที่เป็นเจดีย์ยุทธหัตถีของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ส่วนพระเจดีย์ที่ตำบลหนองสาหร่าย อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี หรือที่รู้จักกันว่าอนุสรณ์ดอนเจดีย์ เป็นเจดีย์สมัยทวารดี จึงไม่ใช่เจดีย์ยุทธหัตถีที่สร้างขึ้นในสมัยอยุธยาอย่างแน่นอน กรมศิลปากรจัดการกับความขัดแย้งในครั้งนั้น ด้วยการตั้งคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิขึ้นมาชุดหนึ่ง เพื่อพิจารณา "ปัญหาเรื่องเจดีย์โบราณที่อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี" และได้ข้อสรุปว่า เจดีย์ดังกล่าวเป็นเพียงบริโภคเจดีย์ ที่ช่างชาวท้องถิ่นสร้างขึ้นสมัยอยุธยาตอนปลาย เจดีย์ยุทธหัตถี คือ อนุสรณ์ดอนเจดีย์ที่จังหวัดสุพรรณบุรี ตามที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงวินิจฉัยมาแต่เดิม พ.ศ. ๒๕๓๗ เทพมนตรี ลิมปพยอม อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยรังสิต เห็นว่าการวินิจฉัยของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ยังไม่สามารถยอมรับได้ เพราะทรงใช้หลักฐานทางประวัติศาสตร์น้อยเกินไป อีกทั้งพงศาวดารที่ใช้ยังเป็นฉบับที่ถูกชำระขึ้นใหม่ และค้นพบในสมัยรัตนโกสินทร์ ซึ่งถือว่าเป็นหลักฐานชั้นสอง ท้ายที่สุด เขานำเสนอ "ข้อยุติทางประวัติศาสตร์" ชุดใหม่ว่า เจดีย์ยุทธหัตถีของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ที่แท้จริงคือเจดีย์ภูเขาทอง ภายในวัดภูเขาทอง ตำบลลุมพลี อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยอ้างหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ที่ระบุว่าสงครามยุทธหัตถี พ.ศ. ๒๑๓๕ นั้นเกิดขึ้นใกล้ ๆ กับพระนครศรีอยุธยา และสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงใช้พระนครเป็นที่ตั้งรับ ไม่ได้ยกทัพไปรบไกลถึงสุพรรณบุรี อย่างที่เข้าใจกันตลอดมา ดังนั้นเจดีย์ที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเป็นที่ระลึกในเหตุการณ์ครั้งนั้น ย่อมตั้งอยู่ใกล้ ๆ กับพระนครศรีอยุธยาด้วยเช่นกัน แต่ท่ามกลางการหาความจริง เรื่องสถานที่ตั้งของเจดีย์ยุทธหัตถี และบริเวณที่เกิดสงครามชนช้าง ก็มีผู้หยิบยกคำถามสำคัญขึ้นมาประการหนึ่ง ซึ่งอาจจะทำให้เรื่องราวง่ายลง หรือซับซ้อนขึ้นก็ได้ "ถ้าหากสามารถศึกษาหาหลักฐาน และเหตุผลตามกระบวนการจนสรุปได้ว่า เจดีย์ยุทธหัตถีมิได้มีจริง ก็จะได้ไม่ต้องไปเสียเวลาหาคำตอบว่าอยู่ที่ไหนอีกต่อไป" พิเศษ เจียจันทร์พงษ์ ผู้เชี่ยวชาญพิเศษประจำกรมศิลปากร กล่าวนำในบทความเรื่อง "เจดีย์ยุทธหัตถี มีจริงหรือ ?" ที่เขียนขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๖ และสิ่งที่เขาเสนอให้เป็นข้อยุติทางประวัติศาสตร์ก็คือ "สมเด็จพระนเรศวรมหาราช มิได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเจดีย์ยุทธหัตถีไว้ ณ ที่ที่ทรงชนช้างชนะพระมหาอุปราชาแต่อย่างใด" ไม่ว่าจะถูกหรือผิด น่าเชื่อถือมากหรือน้อย ข้อเสนอทั้งหมดนี้ล้วนทำให้ต้องกลับมา "คิดใหม่" กับเจดีย์ที่จังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งต่อมาได้มีการสร้างพระบรมรูป ของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงช้าง เตรียมทำศึกขึ้น และเรียกขานสถานที่แห่งนั้นว่า อนุสรณ์ดอนเจดีย์ มีผู้คนกราบไหว้บูชา ประกอบพิธีกรรมตามความเชื่อกันคับคั่ง การตรวจสอบประวัติศาสตร์ในทำนองนี้ เคยเกิดขึ้นมาแล้วครั้งหนึ่ง เมื่อมีผู้ทำการศึกษาเพื่อหาคำตอบว่า วีรกรรมของ "ท้าวสุรนารี" มีจริงหรือ ? (พ.ศ. ๒๕๓๖) เหตุการณ์จบลงที่ชาวโคราชนับหมื่นคน ชุมนุมกันเพื่อประท้วง และไม่ยอมรับงานวิชาการชิ้นดังกล่าว ไม่ใช่เรื่องง่ายเมื่อประวัติศาสตร์ / ความเชื่อที่ยึดถือกันมายาวนาน ถูกตรวจสอบและตั้งคำถาม กระทั่งถูกแทนที่ด้วยประวัติศาสตร์ / ความเชื่อที่มีการนำเสนอขึ้นใหม่ แต่ในขณะเดียวกัน ก็เป็นเรื่องท้าทายว่า สังคมไทยจะจัดการกับเหตุการณ์ประเภทนี้อย่างไร ร่วมแสดงความคิดเห็น
สนับสนุน หรือ คัดค้าน ! |
||||||||||||
|
||||||||||||
แล้วคุณล่ะ สนับสนุน หรือ
คัดค้าน !
.ต้องการ
แสดงความคิดเห็นเพิ่ม คลิกที่นี่
พบเห็น ข้อความไม่เหมาะสม กรุณาช่วยกันแจ้ง ผู้ดูแลเว็ป (WebMaster) ขอบคุณครับ
ทำไมถึงต้องมีการโต้แย้งเพราะ ทุกฝ่ายต้องการเป็นเจ้าของความสำเร็จ ความภาคภูมิใจ ไม่ว่าสถานที่ที่พระองค์รบชนะอยู่ตรงไหนหรือเจดีย์อยู่ที่ได ความสำคัญอยู่ที่พระองค์ปกป้องประเทศ ในสภาวะนั่นพระองค์และคนไทยยุคนั้นคงไม่คิดชนะเพื่อให้ลูกหลานแตกความสามัคคีในวันนี้เพียงเพื่อ แสดงความเป็นเจ้าของสถานที่แห่งความภูมิใจ แสดงว่าถูกหรือผิด ไม่ใช่ค้นหาเพื่อจะไหว้กราบกรานให้ถูกสถานที่ ควรจะช่วยกันอยู่อย่างไรไม่ให้ละลายใจที่พระองค์และบรรพชนรักษาแผ่นดินไว้ให้
คนนามสกุล คชายุทธ <mgmcnt@yahoo.com>
กาญจนบุรี ต.ดอนเจดีย์, - Saturday, June 18, 2005 at 13:20:43 (EDT)
น่าจะมีเนื้อหาสาระมากกว่านี้ และเพิ่มรูปให้เยอะหน่อย
สุนิสา <asd@hotmail.com>
bangkok, - Saturday, August 30, 2003 at 12:40:07 (EDT)
เรื่องของเจดีย์ยุทธหัตถีนั้นใครจะเป็นผู้สร้างมันไม่สำคัญสักเท่าไรหรอก สำคัญที่ว่าเหตุการณ์ชนช้างในประวัติศาสตร์ระหว่างสมเด็จพระนเรศวรมหาราชกับพระมาหาอุปราชานั้นมีจริงหรือไม่ มันสำคัญกว่า เพราะการสร้างเจดีย์นั้นชาวบ้านที่ให้ความเคารพนับถือในองค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ซึ่งมีทั่วทั้งผืนแผ่นดินไทย ต้องการที่จะสร้างไว้เพื่อให้ชนรุ่นหลังได้ทราบได้เป็นอนุสรณ์เตือนใจให้รักชาติ ซึ่งคนในสมัยก่อนเมื่อทราบถึงชัยชนะ ก็อาจจะสร้างขึ้นจากที่ไหนก็ได้ หลายแห่งก็ได้ เพื่อรำลึกถึงบุญคุญของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
นันทยา
ลำปาง, - Tuesday, April 08, 2003 at 01:34:24 (EDT)
หากสนใจในสมาธิและสามารถสัมผัสทาง วิญญานได้ปัญหาจะหมดไป ได้รู้และเห็นมานานแล้วว่า บางประวัติศาสตร์ก็ตรงตามที่เชื่อกัน บางที่ก็ไม่ใช่ ได้ตรวจสอบกับผู้รู้จริงมาแล้ว และบุคคลนี้ต่อไปประเทศไทยจะต้องจารึกชื่อไว้ว่า เหนือมนุษย์ คงไม่เกิน ๕ ปี นับจากนี้ไป สอบทานมาแล้วว่า ดอนเจดีย์เป็นที่ ชนช้างจริง หนทางพิสูจน์ทำได้แต่จะกล้าหรือไม่ ลองขุดลงไปจะพบอะไรมากมาย ในที่เกิดเหตุ และบอกล่วงหน้าไว้ด้วยว่าเรื่องนี้สัมพันธ์ กับวัดใหญ่ชัยมงคล บอกได้แค่นี้ พอนะ
ขุนศึก
กทม., - Thursday, August 22, 2002 at 07:59:56 (EDT)
ผมเองไม่สามารถที่บอกได้ว่าเจดีย์ยุทธหัตถึที่แท้จริงอยู่ที่ไหน การที่จะระบุลงไปว่าที่ไหนคือ เจดีย์ยุทธหัตถีที่พระนเรศวรทรงกระทำยุทธหัตถี คงต้องให้หลักฐานต่างๆมาเป็นน้ำหนักในการพิจารณา ผมเองเป็นคนดอนเจดีย์(กาญจน์)โดยกำหนด ที่บริเวณดอนดินทรายมีเจดีย์องค์หนึ่งตั้งอยู่องค์เดียว ศิลป์การก่อสร้างดูด้วยสายตาไม่ปราณีตเหมือนเจดีย์ที่อื่นๆบริเวณโดยรอบเต็มไปด้วยป่าละเมาะปกคลุมปัจจุบันได้เข้าไปถากถางพบโครงกระดูกมนุษย์ ช้าง ม้า เครื่องประดับช้างม้า อาวุธที่ใช้ในสมัยก่อน เช่นมีดดาบ ทวน พบอยู่โดยรอบบริเวณองค์เจดีย์เป็นจำนวนมาก เหมือนเป็นสนามรบขนาดใหญ่ จากเจดีย์ไปทางทิศตะวันตกไม่ไกลนักมีต้นข่อยขนาดใหญ่ 8-9 คนโอบเห็นจะได้ ปัจจุบันถูกชาวบ้านที่รู้เท่าไม่ถึงการถากกางตัดโค้นทำพื้นที่การเกษตร ชาวบ้านที่นี้ตั้งแต่สมัยปู ย่า ตา ทวด ใช้นามสกุล ดอนเจดีย์ คชายุทธ กันมานานแล้ว เพราะบรรพบุรุษเชื่อจากพื้นที่นี้เป็นสถานที่ที่พระนเรศวรทรงกระทำยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราช ข้อมูลที่ผมได้บอกกล่าวล้วนมีจริง ที่ดอนเจดีย์ จ.กาญจน์ ผมจะไม่ระบุว่าที่ไหนคือที่จริง ขอให้ท่านผู้อ่านศึกษาเองน่ะครับ
ชัย <wsornjai@siam2you.com>
กาญจนบุรี, - Tuesday, October 09, 2001 at 10:53:35 (EDT)
ดิฉันมีความเชื่อว่าอนุสรณ์ดอนเจดีย์อยู่ที่สุพรรณบุรีเนื่องจากหลักฐานที่ประกอบและคำบอกเล่าของบรรพบุรุษรวมถึงสุพรรณฯน่าจะเป็นเส้นทางในการรบคนสุพรรณฯเชื่อและภูมิใจแม้ว่าความจริงจะเป็นเช่นไรยังคงศรัทธาและระลึกถึงอยู่มิจางไป
Aujjima Roonmaneerat
Supanboori, - Monday, June 25, 2001 at 23:37:41 (EDT)
เจดีย์ยุทธหัตถีมีจริงหรือไม่นั้น คงต้องค้นคว้าพิสูจน์ทราบกันไปเท่าที่หลักฐานในปัจจุบันจะบ่งชี้ แต่งานการศึกษาล่าสุดนั้น องค์เจดีย์ที่ดอนเจดีย์สุพรรณบุรีพบหลักฐานว่าสร้างขึ้นตั้งแต่ราวกรุงศรีอยุธยาตอนต้น-ตอนกลาง ไม่ต่ำไปกว่านี้
ทองดี แซ่ดวง <ืnokbangpan@yahoo.com>
ประจวบฯ, - Thursday, June 07, 2001 at 02:13:36 (EDT)
ผมคิดว่าควรหาข้อมูลเพิ่มเติม โดยเฉพาะประเด็นการสร้าง อนุสาวรีย์ในสมัยอยุธายาเขา สร้างกันแบบไหนคติความเชื่อ เป็นอย่างไรโดยรวบรวมหลักฐาน การสร้างสิ่งที่เป็นอนุสรณ์ที่อื่น ในสมัยเดียวกันเทียบเคียงด้วย อาจจะเห็นข้อสรุปที่ชัดเจนขึ้นครับ
อนุรักษ์ วิวัฒน์นนท์กร <yunchun@thaimail.com>
นครปฐม, - Sunday, June 03, 2001 at 08:47:48 (EDT)
หลังจากที่อ่านแล้ว มีความเห็นตรงกับฝ่ายค้านในหลายๆเหตุผล โดยเฉพาะหลักฐานของชาวต่างชาติไม่ได้หมายความว่าจะน่าเชื่อถือเสมอไป การที่เขาเข้ามาทำงานในบ้านเมืองเรา ตามประสาคนมีความรู้ เมื่อเห็นอะไรก็จดบันทึกไว้ แต่ก็เหมือนเรานั่นแหละ จดไปตามประสาที่เข้าใจ ผิดบ้างถูกบ้าง ส่วนคนไทยเองโดยมากจะไม่จดบันทึก มักจะใช้วิธีเล่ากันปากต่อปาก อาจมีการเติมแต่งให้สนุกสานตื่นเต้นซึ่งเป็นเรื่องธรรมดา แต่ภายในเรื่องราวนั้นเมื่อตัดน้ำออกไป เนื้อหาก็ปรากฏ อย่างเช่นกรณีเรื่องคุณท้าวสุรนารี หากจะหาหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษรอาจทำได้ยาก เพราะที่มีก็เป็นเรื่องเล่ากันปากต่อปาก แต่เท่าที่เคยถามไถ่จากชาวบ้าน เขาบอกว่า ใครมันจะไปเขียนไว้ เขียนไม่เป็น เขา เล่ากันมาตั้งแต่ปู่ย่าแล้ว ซึ่งหากใครจะไม่เชื่อก็คงไม่มีใครว่า แต่หากจะเชื่อก็ไม่มีอะไรที่เสียหาย แต่สิ่งหนึ่งที่อยากให้คนไทยได้รับการพัฒนาก็คือ การยอมให้เหตุผลอยู่เหนืออารมณ์และความเชื่อที่ยึดถือกันมานาน เนื่องจากการค้นหาความจริงบางครั้งอาจสร้างความเจ็บปวดให้กับคนบางกลุ่ม แต่เราจะยอมจมอยู่กับการรู้ผิดๆ และหลอกคนรุ่นหลังต่อไปกันทำไม การค้นหาความจริงของประวัติศาตร์อาจถูกมองว่าลบหลู่ ยุ่ง ป่วน หรือเป็นบ่อนทำลายอะไรก็ตามแต่จะคิดสรรหากันขึ้นมาต่อว่า แต่ถ้าหากเรายอมที่จะเปิดใจยอมรับกับความรู้ใหม่ๆของชาติ ยอมรับการเปลี่ยนแปลง แม้จะสะเทือนอารมณ์บ้าง แต่มันก็จะเป็นผลดี เท่าที่สังเกต คนไทยไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลงในเรื่องความเชื่อ ประวัติศาสตร์ แต่กลับยอมให้วัฒนธรรม ความคิด ค่านิยมของต่างชาติเข้ามามีอำนาจครอบงำ อีกหน่อยต่อให้ประวัติศาสตร์ดีแค่ไหน ก็ไม่มีความหมาย เพราะมันไม่ได้มีค่าต่อจิตใจใครอีกแล้ว เพราะทุกคนเห่อของนอกกันหมด ว่าไหม
Sanis
กรุงเทพฯ, - Friday, April 27, 2001 at 13:50:49 (EDT)
ควรหาข้อยุติให้ได้ก่อนดังนี้ ๑. พระมหาอุปราชาสิ้นพระชนม์อย่างใด ๒. สมเด็จพระนเรศวรทรงให้สร้างอนุสาวรีย์๋ขึ้นหรือไม่ ๓. พิสูจน์ให้แน่ชัดว่าอนุสาวรีย์ที่ใดเป็นสถานที่จริง
ร.อ.ศศิธร เจริญสุข
กทม., - Sunday, April 15, 2001 at 23:56:01 (EDT)
ควรจะพิสูจน์
ร.อ.ศศิธร เจริญสุข
กทม., - Sunday, April 15, 2001 at 23:52:31 (EDT)
อันว่าอนุสาวรย์นั้นเป็นภูมิความรู้ของคนในประวัติศาสตร์ที่ต้องการข่มขวัญแก่ศัตรูและบำรุงขวัญคนในชาติครับ...ผมว่าโดยข้อเท็จจริงที่สุดแล้วนุสาวรีย์จะตั้งอยู่ณ.แห่งหนตำบลใดในประเทศอนุสาวรย์นั้นก็ได้ทำหน้าที่อันเป็นภูมิปัญญาของคนสมัยก่อนเรียบร้อยแล้ว...ก็ขอให้นุสาวรีย์ของท่านได้ทำหน้าที่ตามความประสงค์เถิดอย่าได้มาทุ่มเถียงกันในประเด็นที่บรรพบุรุษมิได้คาดหวังไว้เลยครับ....ขอบคุณ
จุมพล <jumponm@hotmail.com>
ชลบุรี, - Saturday, April 07, 2001 at 04:55:21 (EDT)
ยังน่าสงสัยอยู่ว่าเจดีย์ยุทธหัตถีจะเป็นเจดีย์ที่ภูเขาทองหรือไม่ เพราะถ้าจริงแล้วในพงศาวดารว่าช้างทรงของสมเด็จพระนเรศวรวิ่งเตลิดเข้าไปในหมู่ทัพของพม่า แล้วท้าชนช้างกัน ดูมันจะใกล้พระนครเหลือเกิน และอยู่ทิศเหนือของเมืองจึงสร้างเจดีย์ตรงสถานที่เกิดเหตุ งงเหลือเกิน แต่หากมาพิจารณาดูว่าเมื่อสมเด็จพระนเรศวรท่านพิจารณาโทษบรรดาแม่ทัพนายกองที่ตามเสด็จช้างทรงไม่ทัน ทำให้พระองค์ท่านต้องอยู่ในท่ามกลางข้าศึก ไม่ถูกพ่ารุมก็บุญโขแล้ว จึงสมเด็จพระวนรัตน์วัดป่าแก้วขอบิณฑบาตชีวิตบรรดาทหารหาญเหล่านี้ไว้ พวกเขาจึงสร้างเจดีย์วัดใหญ่ชัยมงคลขึ้นที่ทิศตะวันออกเฉียงใต้ของพระนคร (แต่อยู่ใกล้เคียงเรือนจันทร์ พระราชวังเดิม) เพื่อถ่ายโทษและเป็นพุทธบูชาในกาลข้างหน้าก็พออนุโลมว่า เจดีย์ยุทธหัตถี กับเจดีย์ถ่ายชีวิตทหาร (เจดีย์วัดใหญ่) อยู่ในพื้นที่ไม่ไกลกัน ก็น่าเชื้อถือเหมือนกัน แต่เวลามันล่วงเลยมานานแล้วนา ทั้งฝรั่งต่างชาติ ทั้งคนไทยจากคำให้การของคนกรุงเก่า ก็ฟังมาจากปากต่อปาก มันก็ย่อมมีการระบายสี ใส่ไข่ เพิ่มเติมข้อความตามความสนุกปากของคนเล่า ก็อยากเชื่อครึ่งต่อครึ่ง นี่แหละหนา ความที่ไม่ค่อยอยากจด อยากเขียน อยากบันทึกของพี่ไทยเรา จึงแพ้เพื่อนบ้านที่เขาชอบจารึกไว้ในศิลา ใบลาน สมุดข่อย เฮ้อ แล้วนี่ฉันอยู่ข้างสนับสนุนหรือฝ่ายคัดค้านหว่า
lสุรพล จันทราช <odd87@mweb.co.th>
ร้อยเอ็ด, - Tuesday, March 06, 2001 at 12:38:17 (EST)
หลังจากอ่านทั้ง 2 บทความแล้วคิดว่าทางฝ่ายคัดค้านมีเหตุผลที่ดีกว่า แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นในแง่วิชาการก็คงจะต้องนำข้อมูลทั้งหมดของทั้ง 2 ฝ่ายออกมาแบบกัน สนับสนุนให้ทำในแง่งานวิจัยในสถาบันการศึกษามากกว่านำเสนอเป็น public เพราะจะกระทบกระเทือนต่อพื้นฐานความเชื่อต่างๆ สิ่งที่มีอยู่ก็ปล่อยให้มีไป แต่การทำวิจัยใหม่ก็ถือเป็นประโยชน์ทางวิชาการ
ยุทธดนัย
นนทบุรี (เรียนอยู่อเมริกา), - Tuesday, February 13, 2001 at 17:20:18 (EST)
อะไรที่ดีๆที่มันเป็นความภาคภูมิใจของชาติก็รักษากันบ้างก็ดีนะครับ จะจริงหรือไม่จริงก็ไม่รู้ แต่ถ้าทำให้มันเป็นจริงแล้วมันคัดกับความรู้สึกส่วนรวม ก็อย่าทำให้รู้อย่าทำให้เป็นจริงเลย ตลอดมาต่างชาติบ้างประเทศก็พยายามจะบิดเบือนเราในสายตาชาวโลกและในสายตาของเราเองว่าเราเป็นอย่างนั้น มีที่มาเป็นอย่างนั้น จนบางอย่างเราหลงเชื่อกันมานานและไม่มีแนวโน้มที่จะรู้เรื่องกันเลย หรือบ้างอย่างก็กำลังถูกเขียนประวัติศาสตร์ใหม่ให้เชื่อ(เช่น แอนนาเอนเดอะคิง หรือที่เคยเป็น The king and i ในเวอร์ชั่นหนังสือของฝรั่ง) หรือในส่วนของกัมพูชา(ที่นักประวัติศาสตร์ฝรั่งเศสในสมัยก่อนได้ค้นพบอะไรบ้างอย่างแต่ไม่ยอมบอกโลก(เพราะมันจะทำให้เรารู้ด้วย)เพื่อไม่ให้กระทบต่อแผนการเข้ามาครอบงำเขมร และสามารถอ้างสิทธิเหนือเขมรได้ ,เรื่องกรณีคอขอดกระ(ทั้งหลอกกันเอง และช่วยกันฝรั่งหลอกเลย)นี้ก็อีกกรณีหนึ่งประเทศนี้ไม่ค่อยจะเหลืออะไรให้ถูมิใจซักเท่าไหร่แล้ว ในบางที่เราก็อย่าเชื่อฝรั่งมาก ในบางครั้งเขาบอกให้เราทำ แต่เขาก็ไม่ได้ทำจริงหรอก เช่น และพยายามสร้าง(อะไรที่ไม่จริง)(บิดเบือน)ประวัติศาสตร์ขึ้นมาตลอด(เพื่อประโยชน์ในยุทธศาสตร์ความเป็นเจ้าบางอย่าง)และพยายามทำลายความภูมิใจบางอย่างของชาติอื่น(โดยการแกว่งไปกระทบประเทศนู่นทีประเทศนี้ที บางครั้งก็ให้เอกชนออกหน้า(แล้วบอกว่ารัฐบาลไม่รู้)บางครั้งก็ให้CIA ที่อยู่ในปรเทศนั้นจัดการ(หลุดปากไปซะแล้วว่าประเทศอะไร)(ประเทศเราก็มีอยู่เต็มบ้านเต็มเมือง ไม่น่าเชื่อเลย ทั้งๆทีบางคนก็เป็นคนไทย)ไม่เขียนมากไปกว่านี้ดีกว่า เพราะคิดว่าเครือข่ายของที่นั้นก็คงสยายปีกมาถึงนี้ ผมอยู่ของผมอย่างนี้ก็สบายอยู่แล้ว แต่เป็นห่วงบ้านเกิดเท่านั้นเอง
นายเด็กไทย ณ รัซเซีย
ตรัง(แต่ตอนนี้อยู่ปีเตอร์เบริก), - Tuesday, February 06, 2001 at 23:22:36 (EST)
ดิฉันเป็นคนหนึ่งซึ่งรักในการเรียนประวัติศาสตร์ ในเรื่องเจดีย์ยุทธหัตถีขอกล่าวถึงความเชื่อของคนพนมทวนเรื่องเจดีย์นี้ว่า สมัยก่อนที่เริ่มมีการค้นหาเจดีย์ในเขตจังหวัดสุพรรณบุรี กาญจนบุรี ว่ากันว่านายอำเภอพนมทวนสมัยนันไม่กระตือรือล้นในการค้นหา ทางสุพรรณก็พบเจดีย์เก่าจึงรีบรายงานไปส่วนกลาง เจ้านายเดินทางมาดูก็เลยเชื่อว่าอยู่ที่สุพรรณจนเป็นที่ยอมรับกันในปัจจุบัน ต่อมาเมื่อมีการขุดพบโครงกระดูกช้าง คน อาวุธโบราณที่ดอนเจดีย์ พนมทวน ทำให้คนเมื่องกาญจน์เชือว่าเจดีย์องค์จริงต้องอยู่ที่นี่ เกิดเป็นข้อโต้เถียงกันขึ้นกับคนสุพรรณ แต่จะย้ายอนุสรณ์ดอนเจดีย์หรือ?คงเป็นไปไม่ได้ อาจจะเป็นในเรื่องของความสามัคคีของคนใน2จังหวัดที่ใกล้ชิดกันในความคิดของดิฉันก็คงจะรับได้คะไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน ทางพนมทวนก็สร้างอนุสรณ์ดอนเจดีย์เพื่อระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่าน ซึ่งได้สมเด็จพระสังฆราชเป็นองค์ประธานซึ่งจะสร้างเสร็จเร็วๆนี้คงจะเป็นที่ท่องเที่ยวศึกษาประวัติศาสตร์อีกแห่ง ขอแสดงความคิดในเรื่องที่จะvote กันว่าอย่าเพิ่งรีบสรุปกันควรจะมีการศึกษาข้อมูลมากกว่านี้ อย่าให้ก่อเกิดการโต้เถียงกันใหญ่โต ขอให้เป็นการแสดงความรู้ตามวิธีการทางประวัติศาสตร์และย้งไม่ควรชี้ชัดในเรื่องนี้เพราะยังไม่มีหลักฐานที่จะฟันธงได้ ขอให้เป็นการศึกษาอดีตเพื่อสืบทอดเรื่องราวของพระองค์ท่านเพื่อคนในปัจจุบันและลูกหลานในอนาคตได้ระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่าน
เนตรทราย ภัทรสมุทร <nuchsai@hotmail.com>
กรุงเทพฯ, - Monday, February 05, 2001 at 13:16:16 (EST)
เป็นสิ่งที่ดีนะ..ที่จะหาหลักฐานทางประ วัติศาสตร์ที่แท้จริง พวกท่านๆ จะทำอะไร กันก็นึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จ พระนเรศวรไว้บ้าง อีกทั้งความรู้สึกของคนเมืองกาญฯ คนสุพรรณ คนอยุธยา และความรู้สึกของคนไทยทั้งประเทศ น่าจะเข่าคุยกันดีกว่า ได้ข้อมูลที่แท้จริงแล้วบอกกล่าวให้คน ไทยรับรู้ก็ไม่สาย หัดรู้รักสามัคคีกันซะบ้าง....
ชัชวาลย์ แช่มเมือง <chatchawarn@tietexasia.com>
สิงห์บุรี ( สายเลือดบางระจัน ), - Monday, February 05, 2001 at 04:08:20 (EST)
Sorry to write in English because now I'm working in East Timor and did not have any thai font in my computer.
No one knew which is the real stupa of elephant fighting. Why we don't stop disputing and create our union. Every stupa which is remain in Thailand should be accepted in the same level of worship. It is possible that our ancestor at that time were proud of our great King so they try to construct stupa for memory in different locations, but the purpose of construction may point to the same target that is we all Thai very proud and feel pride to overcome our enemy.
Kasetsart Santasosngkraw <yod_ying44@hotmail.com>
Bangkok, - Tuesday, January 23, 2001 at 09:22:17 (EST)
อนุสาวรีย์เป็นสถานที่สร้างกันมานานแล้ว เห็นด้วยกับการค้นหาความจริงทางประวัติศาสตร์ แต่สิ่งที่ดีที่สุดคือ จะทำการค้นหาความจริงอย่างไร เพื่อไม่ให้คนที่เขารู้สึกภาคภูมิใจนั้น เสียความรู้สึก เชื่อว่าคนสุพรรณต้องมีความภาคภูมิใจตรงนี้อยู่ว่า แผ่นดินที่เขาอยู่ทุกวันนี้ เป็นสนามยุทธหัตถีเก่า ยังไงเขาคงไม่ยอมรับการค้นหาความจริง ไม่ว่าจะเป็นที่สุพรรณ หรือที่ไหน ๆ ก็ตาม
tuamtiem <tuamtiem@chaiyo.com>
กรุงเทพ ฯ, - Sunday, January 14, 2001 at 08:54:30 (EST)
ผมไม่มีความรู้ทางโบราณคดีแต่สนใจมาก เท่าทีรู้เจดีย์ที่อยุธยาที่สร้างเพื่อระลึกถึงชัยชนะน่าจะเป็นที่วัดใหญ่ชัยมงคลไม่ใช่หรือ
โชติช่วง <thirapatto@yahoo.com>
กทม, - Saturday, January 13, 2001 at 22:45:16 (EST)
เชื่อว่ามีการสร้างเจดีย์หรืออนุสสรณ์ด้วยเหตุผลดังนี้ 1. เพื่อเป็นอนุสสวรณ์แห่งชัยชนะ 2. เพื่อรเป็นอนุสสรณ์แก่พระมหาอุปราชาเนื่องจากทรงคุ้นเคยกันมาแต่เยาว์วัย แต่คงส่ร้างไม่ใหญ่โตหรือสวยงามมากเนื่องจากอยู่ในสภาวะสงคราม ต้องรีบเร่งบำรุงกำลังทหารเพื่อป้องกันการแก้แค้นจากฝ่ายพม่า
ชโลธร สายะวารานนท์ <tonpkn@thaimail.com>
ประจวบคีรีขันธ์, - Friday, January 12, 2001 at 02:16:25 (EST)
ยังไม่ควรด่วนสรุป คิดว่าควรให้ข้อมูลเหตุผลอ้างอิงให้มากกว่านี้
นุช
- Friday, January 05, 2001 at 05:44:53 (EST)
ได้อ่านข้อคิดเห็นของคนสุพรรณแล้วก็คิดเหมือนกัน คือเห็นด้วยกับ อ.พิเศษ แต่ไม่รู้ว่าคุณจะรู้หรือไม่ว่าตอนนี้ ทางราชการเขาได้ปรับปรุง๓เขาทองเสียใหม่ โอ่อ่ากว่าที่ดอนเจดีย์เสียอีก และก็มีพระบรมราชาสาวร๊ย์ของสมเด็จพระนเรศวรด้วย (ขี่ม้า?) เร็วๆนีก้มีเจ้านายไปสักการะเป็นทางการแล้วด้วย อีกไม่นานก็คงจะมีประกาศเป็นทางการออกมา ผมเคยไปภูเขาทองเมื่อนานมาแล้ว จำได้ว่ามีวัดอยู่ด้วยด้านหลังและ มีเจดีย์เก่าๆ เต็มไปหมด แต่มาคราวหลังที่เขาปรับปรุงแล้ว ดูเหมือนว่าเขาจะไม่ได้รวมเอาวัดนี้เข้าไปในแผนผังด้วย? อยากรู้ว่าทำไมภุเขาทองถึงไม่เหมือนเจดีย์อื่นๆ ในอยุธยาเลย แล้วทำไมถึงได้ทำให้มันใหญ่โตเหลือเกิน เอกสารฝรั่งที่พูดถึงพระนเรศวรไม่ได้มีเล่มเดียว บางเล่มเขียนในสมัยท่านเลยก็มี บันทึกโดยไม่ต้องผ่านคำบอกเล่าของผู้อื่น แต่เข้าใจว่าทางการคงไม่ให้เผยแพร่แน่ ว่างๆ คุณ ทเพฯ น่าจะลองหาอ่านดู ได้ประเด็นร้อนๆ แบบถนัดแน่นอน
ชาวเสนา อยุธยา <dsworld@kimhun.com>
อยุธยา, - Thursday, December 28, 2000 at 23:17:37 (EST)
ถ้าคุณเกิดบังเอิญเกิดในสมัยนั้นพอดี และมีหน้าที่บันทึกเรื่องราวให้คนรุ่นหลังได้อ่าน คุณจะบิดเบือนหรือเปล่ากับเหตุการณ์แบบนี้ และถ้ามีผูที่ทำหน้าที่บันทึกหลายคน เขาจะบันทึกให้ต่างกันอย่างนั้นหรือ ผมคิดว่าข้อคิดเห็นของ อาจารย์พิเศษนั้นน่าฟังกว่า การรตีความจากหลักฐานที่มีอยู่เพียงเท่านี้และคลุมเคลือ มีความแตกต่างกันมาก ทำให้ผมคิดเหมือนกับอาจารย์พเศษ ส่วนเรื่องหลักฐานของฝรั่งนั้นเชื่อได้ยาก ถ้าเชื่อฝรั่งก็เท่ากับยอมรับว่าหลักฐานของที่บันทึกโดยคนไทย เจ้าของแผ่นดินเป็นเท็จ ถามตัวคุณเองด้วยคำถามข้างต้นอีกครั้ง ว่าคุณจะบิดเบือนหรือเปล่าถ้าคุณมีหน้าที่บันทึก ผมเชื่อว่าเจดีย์ภูเขาทองมีความสำคัญและน่าค้นคว้า แต่ไม่น่าจะสรุปว่าใช่ด้วยหลักฐานเพียงแค่นี้ การพยายามชำระประวัติศาสตร์หรือหาข้อสรุปในอดีตนั้น เราก็เห็นกันแล้วไม่ใช่หรือว่ามันอาจจะจริงหรือเท็จก็ได้ เมื่อเวลาเปลี่ยนไปข้อมูลที่มีเพิ่มขึ้นก็ทำให้การตีความเปลี่ยนตามไปเช่นกัน เร็วไปครับที่จะสรุปเรื่องนี้ อีกอย่างหนึ่งนะครับการเป็นคนสุพรรณไม่เดือดเนื้อร้อนใจหรอกครับว่าที่สุพรรณนั้นไม่ใช่ ก่อนที่คนจังหวัดอยุธยาจะเชื่ออะไรในเรื่องนี้ก้อขอให้ดูคนสุพรรณเป็นตัวอย่างครับ
คนแก่เมืองสุพรรณ <1@123.com>
สุพรรณบุรี, - Thursday, December 28, 2000 at 09:25:34 (EST)
ตอนผมเคยเรียนวิทยาศาสตร์ เริ่มต้น จะเป็นสมมุติฐาน พอมีหลักฐานสามารถพิสูจน์ได้ ก็จะกลายเป็นทฤษฎี สุดท้ายหากทุกคนเห็นพ้องต้องกันก็จะเรียกเป็น กฏ เราน่าจะใช้หลักการนี้กับวิชาประวัติศาสตร์บ้างนะครับ เพราะผมมองไม่เห็นทางเลยว่า จะสรุปได้อย่างไรว่า มีเจดีย์จริงหรือไม่ ถ้ามีอยู่ที่ไหน ก็เริ่มต้นจากสมมุติฐานซึ่งก็คงมีหลายสมมุดิฐานแน่ๆ และหากเราสามารถหากหลักฐานและเหตุผลได้มากพอ ก็ออกทฤษฎีออกมา ซึ่งจำนวนก็คงจะน้อยลงกว่าสมมุติฐาน ซึ่งก็คงจบแค่นี้ สุดท้ายคงจะฟันธงออกมาเป็นกฏไม่ได้ละ เพราะเป็นเหตุการณ์ที่เกิดในอดีต ยากที่จะพิสูจน์ยิ่งกว่าวิทยาศาสตร์อีก คงไม่ผิดนะที่มีหลายทฤษฎี ขอเพียงแต่ว่าหลักฐานและเหตุผลของแต่ละทฤษฎีนั้นให้เชื่อถือได้ คนไทยมาจากไหน ยังไม่มีคำตอบสุดท้ายเลยครับ (ถึงมี ผมก็คงไม่เชื่อ)
เหล็งฮู้ชง <suparurk@earthling.net>
ชลบุรี, - Friday, December 22, 2000 at 13:10:52 (EST)
สรุปแล้วต่างก็ไม่มีใครรู้ความจริงเลยซักคน แต่พยายามจะบอกว่าตนรู้ แล้วใช้หลักฐานที่ก็ไม่รู้ว่าใช้ได้หรือเปล่า ยกตัวอย่างเช่น "คำให้การของขุนหลวงหาวัด" ซึ่งเป็นเพียงเรื่องที่ขโมยมาจาก พงศาวดารต้องห้าม แล้วแต่งใหม่ หรือเอกสารจากต่างด้าว ที่ไม่จัดเจนในภาษาไทยนัก ผมคิดว่า เราควรหันมามองในรูปความจริงกันบ้าง ในแง่สมรภูมิ ศิลปกรรม และองคาพยพโดยรวม ไม่ใช่มองกันแต่เพียงแค่กองหนังสือคร่ำคร่า ว่าถูกเสมอไป และใช้ความร่วมมืออันดีในการทำงานร่วมกัน มิใช่การตั้งแง่คัดค้านกันอย่างนี้ เพราะถึงยังไง ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนเจดีย์ก็ยังเป็นของไทยเราอยู่ดี
Dr.Haword Pr. <้haword@dr.com>
จันทบุรี, - Friday, December 15, 2000 at 03:10:59 (EST)
ผมไม่มีความรู้อะไรมากหรอกครับ ผมชอบประวัติศาสตร์พอสมควร แต่ไม่ถึงกับค้นคว้าเจาะโน่นเจาะนี่ ผมรักองค์มหาราชดำพอควร ท่านเป็น Hero ของผมครับ อย่างน้อยประวัติของท่านก็ทำให้ผมรู้สึกรักชาตินะ ทำให้ผมรู้สึกเกลียดคนไทยที่กระแดะตามฝรั่ง นับถือพวกมันเป็นยิ่งกว่าพ่อกว่าแม่ ผมไม่ได้แบ่งชนชั้นนะ แต่ทางออกที่จะอยู่ร่วมกับคนในสังคมด้วยวิธีนี้ ผมว่ามันไม่ Work มันบ่อนทำลายระบบสังคมโดยมวลรวม ค่านิยมพวกนี้เข้าถึงบ้านเข้าถึงจิตใจ ก็มันดูง่ายและเร้าใจกว่าประวัติของคนที่ตายไปแล้วนี่ ผมว่านิทานหลอกเด็กบางตอนก็ใช้ได้ผล อย่างน้อยมันก็จุดประกายความฝัน . . สร้างจินตนาการ อย่าดึงฟ้าสูงให้ลงต่ำ คนที่ฉลาดจริงๆ ผมว่าเขาแยกออกนะ ระหว่างเรื่องที่ควรเฉลยกับเรื่องที่ไม่ควรเฉลย อยากให้คนอื่นยอมรับมากหรือไงนะ ไม่ต้องแตกฉานในทุกเรื่องที่คุณค้นพบก็ได้ครับ เอาสมองไปพัฒนาและสร้างสรรค์ในเรื่องอื่นดีกว่า บางครั้งความคิดเราก็ทำลายคุณค่าของสิ่งดีๆ ในอดีตนะเออ
Chatchai Sunpakaew <B3001@hotmail.com>
เชียงใหม่, - Wednesday, December 13, 2000 at 10:22:30 (EST)
วีรกรรมของบรรพบุรุษในประวัติศาสตร์เป็นสิ่งหนึ่งที่ทำให้เราเกิดความภาคภูมิใจในความเป็นชาติไทย ซึ่งในปัจจุบันความรู้สึกนี้ไม่ทราบว่าเด็กรุ่นหลังยังมีอยู่หรือเปล่า ยิ่งตอนนี้ประวัติศาสตร์หลาย ๆ ช่วงกำลังถูกบิดเบือน ปิดหุปิดตาลูกหลานเราให้หลงไหลกับสิ่งยั่วยวนที่เขานำมาหลอกล่อ แล้วจะเป็นไรไปถ้าเราจะขุดโครตเหง้าบรรพบุรุษของเราขึ้นมาให้ลูกหลานได้เห็นถึงความยิ่งใหญ่ และความน่าภาคภูมิใจของบรรพบุรุษไทย
สมฤทัย สบายใจ <somrutai11@hotmail.com>
เพชรบุรี, - Tuesday, December 05, 2000 at 05:11:27 (EST)
จริง
chaiyo <chaiyo@t-rex.hatyai.co.th>
yala, - Monday, December 04, 2000 at 08:44:07 (EST)
ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์การทำศึกสงครามระหว่างไทยกับพม่ามีน้อยครั้งที่เกืดขึ้นในสุพรรณบุรี พม่ายกทัพผ่านมาทางสุพรรณไม่เคยอ้อมขึ้นไปทางสุพรรณให้เสียเวลา ผมเคยไปดูเจดีย์ยุทธหัตถีที่ อ.พนมทวน จ.กาญจนบุรี มาแล้ว ชื่อตำบล หมู่บ้านเป็นชื่อเดียวกับที่ดอนเจดีย์ที่สุพรรณ ตามความคิดผมเชื่อว่าเจดีย์ยุทธหัตถีอยู่ที่กาญจนบุรี คนกาญจนบุรีก็เชื่อว่าเป็นเช่นนั้นมานานแล้ว
ธนากร เที่ยงน้อย <thanakorn.th@chaiyo.com>
ประจวบฯ, - Tuesday, November 28, 2000 at 11:15:58 (EST)
ต้องยอมรับว่าประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมาหลายร้อยปีนั้น เป็นการปะติดปะต่อข้อมูล การบันทึกทางลายลักษณือักษรหรือเรื่องราวความเชื่อจากการบอกเล่า สุดแท้แต่วัฒนธรรมและความก้าวหน้าของแต่ละสังคม ผมคิดว่าการบันทึกประวัติศาสตร์ของไทยนั้นอาจจะยอมรับไม่ได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ว่าครบถ้วน ถูกต้อง สมบูรณ์ ประเด็นที่สำคัญที่ผมคิดก็คือบางครั้ง ถาวรวัตถุก็ไม่ได้ยั่งยืนถาวรเหมือนกับความเชื่อที่ยึดเหนี่ยวจิตใจคนไทยเอาไว้ จำได้ว่าตอนเด็กเคยเรียนเรื่องชาวบ้านบางระจัน คุณครูสอนเรื่องความสามัคคี ผมไม่เคยคิดหวาดระแวงในความมีอยู่จริง สิ่งที่ผมยังจำได้ดีก็คือความสามัคคีที่เป็นแบบอย่างให้คนไทยอยู่รอดมาทุกวันนี้ ผมไม่เคยแม่แต่จะเห็นของจริง แต่ก็ยัง้ชื่อและใช้สอนลูกหลานในเรื่องของความสามุคคีของคนในชาติได้ ผมว่าอย่ามัวแต่ถกเถียงทะเลาะกันอยู่เลย ความจริงเป็นเช่นไรมันก็เป็นอยู่ของมันเช่นนั้น เราไม่สามารถเปลี่ยนมันได้ บางทีไม่แน่อีกหลายๆความเชื่อที่คุณ นักประวัติศาสตร์คิดว่าถูกต้องแล้วอาจจะไม่จริงเลยก็ได้ ถ้าอยากรู้ความจริงกันนัก ลองชำระประวัติศาสตร์ใกล้ๆตัวอย่างเหตุการณ์ สิบสี่ตุลาดูซิ อยากรู้จะยังกล้าเถียงกันอย่างนี้ไหม ด้วยความเคารพ ไม่ได้ลบหลู่
ธุลีดิน
กรุงเทพฯ, - Saturday, November 25, 2000 at 07:13:54 (EST)
แนวความคิดทั้งสองฝ่ายเป็นการนำเสนอที่ดี ทำให้เห็นมุมมองที่แตกต่างของนักวิชาการทั้งสองฝ่าย...... ตามความคิดเห็นของตัวเองพบว่าโบราณสถานหลายแห่งยังหาข้อสรุปสุดท้ายไม่ได้เช่นเดียวกัน ในกรณีนี้แสดงให้เห็นถึงผลการทำ Research เรื่องเจดีย์ยุทธหัตถีของทั้งสองฝ่ายที่ยังไม่สามารถหาข้อสรุปที่แน่นอนและชัดเจนได้ และสิ่งที่ออกมานำเสนอนั้นก็เป็นไปตามประเด็นที่ตนเองได้ค้นคว้าเจอเท่านั้น เพราะการสรุปผลสุดท้ายของประวัติศาสตร์ไม่สามารถทำได้ตั้งแต่อดีตกาลจนถึงปัจจุบันนี้ และต่อไปจนถึงในอนาคต ถ้าหลักฐานไม่พอก็ทำได้เพียงใช้คำว่า "สันนิษฐาน" (อย่างนักวิาการหลายๆ ท่าน)เท่านั้นเอง ...ทำไมไม่นำเสนอทั้งด้าน "Agree" and "Disagree" อย่างการทำ Research ในต่างประเทศ และหาข้อสรุปไว้ก่อนในเบื้องต้นว่า ยังต้องทำการค้นคว้าอีกต่อไปล่ะคะ??????
โอมเพี้ยง <ruchada@hotmail.com>
เกิดกรุงเทพฯ, - Tuesday, November 21, 2000 at 01:57:16 (EST)
เห็นด้วยกับอาจารย์พิเศษ เพราว่ายังไม่มีหลักฐานเกี่ยวกับการสร้าง เจดีย์ยุทธหัตถีว่ามีการสร้างจริงหรือเเปล่า การศึกษาเกี่ยวกับเรื่องราวของมนุษย์ในอดีตนั้นเมืองไทยมักจะมองว่าเป็ฯสายศิลปศาสตร์หรืออักษรศาสตร์แต่ในความเป็นสากลนั้นเขาถือว่าเป็นวิทยาศาสตร์ ต้องมีหลักฐานที่พิสูจน์แล้วว่าเชื่อถือได้นำเสนอข้อดีและข้อด้อยมาด้วยในการพิจารณามองต้องมองอย่างเป็นกลางเห็นมองทุกด้าน และพึงสังวรไว้ว่า การศึกษาอดีตนั้นไม่มีหรอกครับ 100% มีแต่สันนิษฐานและความน่าจะเป็นเท่านั้น ใครบอกว่าต้องมีต้องเป็นบอกได้เลยว่า โกหก โม้ เพราะว่าแม้แต่เอกสารร่วมสมัยยังต้อวพิจารณาว่าใครเขียนเขียนเข้าข้างลำเอียงหรือไม่ ไม่ใช่หลับหูหลับตาเชื่อ เรื่อแผนที่เอกสารที่คูณเทพมนตรีบอกว่าสำคัญถึงต้องเขียนนะน่าไปทำคนทำแผนที่นะครับลักษณะที่เขาใช้นะใช้เป็นจุดสังเกตุในแผนที่ครับ เพราะมันใหญ่เห็นเด่นแต่ไม่ปรากฏหลักฐานใดว่าเจดีย์ภูเขาทองเกี่ยวจริงหรือไม่กับยุทธหัตถี แล้วเรื่องการบอกเล่าลองนึกถึงเมื่อ 300ปีก่อนคิดหรือครับว่าการแปลภาษาระหว่างชาวไทยกับชาวต่างประเทศจะถูกต้องครบกระบวนความปัจจุบันนี้ยังต้องตวจแล้วตรวจอีกยังมีผิด หลักฐานต่างประเทศนั้นบางคนบอกว่าเป็นกลางแต่จริงๆแล้วไม่ครับเพราะคนต่างชาติไม่เขา้ใจธรรมชาติวัฒนธรรมของเราหรอกครับเหมือนกับเราไม่เข้าใจเขานั้นแหละ ความคลาดเคลื่อนนั้นสูงทีเดียวแม้กระทั่งปัจจุบันโลกไร้พรมแดนยังมีอยู่เลยครับ นักวิชาการที่ดีควรนำเสนอออกมาในลักษณะเป็นกลางให้น้ำหนักทั้งด้านดีและด้านด้อยเท่าๆกันไม่ใช่ลำเอียงเข้าข้างตัวเองซึ่งถ้ามีควรจะน้อยๆหน่อย จะได้งานที่ดีน่าเชื่อถือครับ(หายากมากเดี๋ยวนี้) ขอบคุณครับ
จตุรพร เทียมทินกฤต <ctiamtinkrit@hotmail.com>
แพร่, - Monday, November 20, 2000 at 00:21:16 (EST)
ควรหาความกระจ่างและข้อยุติโดยเร็ว เพื่อไม่ให้เกิดความแตกแยกในหมู่คนไทยด้วยกันเอง ประวัติศาสตร์เกิดอย่างไร ก็ควรให้เป็นไปตามนั้น ไม่อยากให้ยึดติดกับตำรามากเกินไป และอยากให้ทุกคนเปิดใจให้กว้าง พร้อมที่จยอมรับการเปลี่ยนประวัติศาสตร์ หากมีหลักฐานอันพึงเชื่อถือได้มากกว่า
... อลังกรณ์ <hatatakay@hotmail.com>
- Sunday, November 05, 2000 at 04:16:00 (EST)
เราไม่มีความรู้เรื่องประวัติศาสตร์มากนัก แต่ขอสนับสนุนความคิดของคุณ นักเรียนกฎหมายอังกฤษ และอยากให้สืบค้นประวัติศาสตร์เสียใหม่ ไม่ต้องสนใจว่าใครจะคัดค้าน เราอยากรู้ความจริง ไม่ใช่ว่าการสืบค้นจะเป็นความต้องการที่จะเอาชนะใคร ความจริงเป็นสิ่งไม่ตาย เมื่อวัตถุที่มีอยู่เดิมเป็นของเก่า ที่คนรุ่นก่อนอุตสาห์สร้างข้ึนมา ไม่ว่าเพื่อการใดๆ เราก็ควรเคารพ ในส่ิงที่ท่านเหล่านั้นได้สร้างขึ้นมา ไม่ว่าสิ่งนั้นจะจริงหรือไม่
กรรณิกา <kannika@ccs.sut.ac.th>
Khon Kaen, - Thursday, November 02, 2000 at 01:17:20 (EST)
ข้อมูลก็น่าสนใจทั้ง 2 ฝ่าย แต่ก็ไม่หนักแน่นพอกัน คุ้นๆคล้ายว่าเคยเห็น อะไรทำนองนี้ในรัฐสภา ประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ต้องหาข้อมูลกันต่อไป พยายามต่อไป...
สีด่างทับทิม
บางกอก, - Wednesday, November 01, 2000 at 11:19:06 (EST)
ควรให้มีการตรวจสอบข้อเท็จจริง เพื่อเป็นการพัฒนาทางความคิดของคนไทย ในเรื่องในความถูกต้องว่า เมื่อสิ่งไหนมีข้อที่น่าสงสัย ก็ควรมีการตรวจสอบกันอย่างจริงจัง ถึงแม้อาจจะก่อให้เกิดการขัดต่อความคิดของคนกลุ่มหนึ่ง ที่มีความเชื่อตามนั้น แต่การตรวจสอบประวัติศาสตร์ มิได้เป็นการทำลายความเชื่อ หรือการลบหลู่ แต่เป็นการทำเพื่อที่ชาวไทย และเยาวชนไทยได้ทราบข้อเท็จจริงที่ถูกต้อง และเป็นการพัฒนาแนวความคิดในเรื่อง การยอมรับความเป็นจริงของคนไทย ให้เพิ่มมากขึ้น หรือถ้ามีฝ่ายไหนมีความคิดเห็นที่ไม่เห็นด้วย ก็สามารถตรวจสอบได้อีก ซึ่งเหตุการณ์ดังนี้ ก่อให้เกิดกระบวนการคิด และหาเหตุผลที่มีประโยชน์ต่อสังคมต่อไป
สุกัญญา วงษ์วิจารณ์ <onn12@hotmail.com>
กรุงเทพมหานคร, - Tuesday, October 31, 2000 at 23:42:56 (EST)
ไม่อยากใช้ชื่อจริง นามสกุลจริง เพราะว่าสังคมไทยยังไม่ได้พัฒนาระบบความคิดที่ใช้เหตุผล แต่ยังใช้อารมณ์ประกอบการคิด ประวัติศาสตร์เป็นเรื่องการปะติดปะต่อสิ่งที่ฟังเห็นเล่ามาในอดีต และนำมาคิดประมวลในปัจจุบัน ดังนั้นจึงไม่มีข้อยุติแน่นอน ท้าวสุรนารี มีจริงหรือไม่ ไม่สำคัญ ปะเด็นอยู่ที่หลักฐานความน่าเชื่อถือ แต่ปรากฎว่าสุดท้ายใช้อารมณ์ถล่มวิชาการ เจดีย์ในที่นี้มีจริงหรือไม่ก็ขึ้นกับหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ฝ่ายสนับสนุนกลับอ้างหนังสือที่ฝรั่งเขียน ผมอยากถามว่าท่านเชื่อฝรั่งจริงๆหรือ ถ้าว่าฝรั่งผู้ใหญ่เขียนน่าเชื่อถือ แล้วแหม่มแอนนาที่เขียนใส่ไข่ เป็นนิยายที่ฝรั่งหลงเชื่อกันหมด เชื่อไหวหรือครับ ท่านเคยเห็นแผนทีโบราณที่ฝรั่งเขียนไหมหละครับ อยุธยา มีถูเขาใหญ่สูงเสียดฟ้าแบบที่เขาเขียนกัยแล้วเชื่อ จะเชื่อลงหรือครับ ฝรั่งเขาก็มีไข่ใส่เหมือนกัน หลังจากอ่านในฉบับแล้ว คงต้องบอกว่าฝ่ายคัดค้านมีความน่าเชื่อถือกว่ามาก ประเทศไทยมีการตั้งอนุสาวรีย์โดดๆแบบฝรั่งที่ไหนกัน เราใช้พื้นที่รวมกันอย่างลงตัว เช่นวัดและวัง เป็นต้น ฝรั่งไม่ได้ดีหมดหรอกครับ
นักเรียนกฎหมายอังกฤษ
กรุงเทพมหานคร แต่ศึกษาในอังกฤษ, - Saturday, October 21, 2000 at 16:48:15 (EDT)
ไม่รู้เรื่องประวัติศาสตร์เท่าไรนัก แต่มีความคิดเห็นว่า ถ้าในเมื่อไม่มั่นใจว่าอยู่ที่ใดแล้ว เป็นไปได้ไหมที่เจดีย์เกิดการผุพัง กลายเป็นเจดีย์เก่า ๆ ที่ไม่มีใครรู้จัก และไม่มีใครรู้ว่าอยู่ที่ไหน แต่อยู่บริเวณภาคกลางนี่เอง ขอเป็นความคิดตรงกลางแล้วกันค่ะ เพราะยังงัยหนูก็เกิดไม่ทันสมัยนั้น
aeh <aehaey@usa.net>
songkhla, - Wednesday, October 18, 2000 at 04:26:20 (EDT)
เห็นด้วย
ต้อม สตาร์ <tom_star80@hotmail.com>
กรุงเทพฯ, - Wednesday, October 18, 2000 at 01:16:14 (EDT)
เคยไปดอนเจดีย ที่กาญ คนที่นั่นดูมั่นใจมาก ว่าเป็นที่กาญ แน่ แต่มาอ่าน ข้อความเบื้องต้นแล้วไม่มี ใครยกเรื่องนี้มาเลย ลองหาข้อมูลจากสามแห่ง แล้วสรุป ว่ามีหรือไม่มีดีกว่า
krid sripanich <krid_o@hotmail.com>
เกิดที่โคราช, - Tuesday, October 17, 2000 at 10:08:58 (EDT)
เชื่อว่าตามคติความเชื่อของคนโบราณ ว่าเมื่อมีการตายเกิดขึ้นในสมัยก่อน จะต้องจัดพิธีศพอย่างสมเกียรติ โดยเฉพาะถ้าผู้ตายมียศสักดิ์เป็นถึงเชื้อพระวงศ์ ถึงแม้ว่าจะเป็นศัตรูกันก็ตามที แต่การจะสร้างเป็นอนุสาวรีย์คงเป็นไปไม่ได้ เพราะคนไทยไม่มีความเชื่อเรื่องการสร้างวัตถุเพื่อระลึกถึงคนตาย แต่จะเป็นการสร้างวัต หรือศาสนวัตถุเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้ผู้ตายเสียมากกว่า
pong <pong@design.in.th>
bangkok, - Sunday, October 08, 2000 at 22:30:07 (EDT)